29 พ.ค. 2023 เวลา 00:30 • การเมือง

ส่องไทม์ไลน์ ไทยร่วมมือระดับพหุภาคีกับใครบ้าง?

ความร่วมมือระดับพหุภาคี (Multilateral Coporation) คือ ความร่วมมือระหว่างประเทศมีสมาชิกตั้งแต่ 3 ประเทศขึ้นไป ในขณะที่ความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศเรียกระดับทวิภาคี
แล้วไทยมีความร่วมมือระดับพหุภาคีกับองค์กรไหนบ้าง? Bnomics จึงลองเรียบเรียงไทม์ไลน์ไว้ด้านล่างนี้
● เข้าร่วมปี 1967 ASEAN: The Association of Southeast Asian Nations สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
• สมาชิก 11 ประเทศ สมาชิกใหม่ล่าสุด คือ ติมอร์-เลสเต เข้าร่วมเมื่อปี 2565
• แรกเริ่มก่อตั้งเพื่อร่วมมือด้านความมั่นคงทางการเมือง ภายหลังจึงมุ่งเน้นทางเศรษฐกิจมากขึ้น จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
● เข้าร่วมปี 1989 APEC: Asia-Pacific Economic Cooperation ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิก
• สมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ ประกอบด้วยประเทศมหาอำนาจ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น แคนาดา เกาหลีใต้ และรัสเซีย โดยไทยเป็นหนึ่งใน 12 เขตเศรษฐกิจผู้ร่วมก่อตั้ง
• เอเปคมีประชากรคิดเป็น 1 ใน 3 ของโลก และมี GDP รวมกันกว่า 1,700 ล้านล้านบาทเกินครึ่งของ GDP โลก
● เข้าร่วมปี 1992 GMS: the Greater Mekong Subregion โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
• สมาชิก 6 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน (ยูนนาน)
● เข้าร่วมปี 1993 IMT-GT: Indonesia - Malaysia - Thailand Growth Triangle แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย - มาเลเซีย - ไทย
• ความร่วมมือลักษณะไตรภาคีในบริเวณภาคใต้ของไทย ภาคเหนือของมาเลเซีย และเกาะสุมาตราของอินโดนีเซียเพื่อมุ่งเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างสามประเทศ
● เข้าร่วมปี 1997 BIMSTEC: Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ
• สมาชิก 7 ประเทศในอ่าวเบงกอล ประกอบด้วย บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย เมียนมาร์ เนปาล ศรีลังกา และไทย
• โดยไทยเป็นผู้ริเริ่มภายใต้ชื่อ BIST-EC ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น BIMSTEC
● เข้าร่วมปี 2003 ACMECS: Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
• สมาชิก 5 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา สปป. ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม และไทย
ACMECS เรียกอีกชื่อว่า “ความร่วมมือสามแม่น้ำ”
• วัตถุประสงค์การจัดตั้งเพื่อเพิ่มขีดความสมารถทางเศรษฐกิจตามแนวชายแดน ลดช่องว่างเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ เสถียรภาพระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน
รู้หรือไม่: ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2565
ภายใต้หัวข้อ Open. Connect. Balance. หรือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” มุ่งเน้นรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ ทางเศรษฐกิจหลังยุคโควิด-19
ผู้เรียบเรียง : ขัตติยาภรณ์ ด้วงแก้ว Political Analyst, Bnomics
ภาพประกอบ : ชนากานต์ วรสุข Graphic Designer, Bnomics
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
โฆษณา