31 พ.ค. 2023 เวลา 05:29 • ประวัติศาสตร์

“เท้าช้างแห่งเชอร์โนบิล (The Elephant's foot)”

ในวันที่ 26 เมษายน ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) ได้เกิดอุบัติเหตุระเบิดขึ้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl Power Plant) ในยูเครน
อุบัติเหตุนี้รุนแรงมาก ทำให้กัมมันตภาพรังสีกระจายไปทั่ว รุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ปล่อยลงยังฮิโรชิม่าและนางาซากิรวมกันซะอีก
กัมมันตภาพรังสีกระจายไปถึงเบลารุส ยูเครน และหลายดินแดนในยุโรป
และสิ่งหนึ่งที่เป็นผลจากอุบัติเหตุนี้ก็คือ “เท้าช้างแห่งเชอร์โนบิล (The Elephant's foot)”
เท้าช้างแห่งเชอร์โนบิล (The Elephant's foot)
“เท้าช้างแห่งเชอร์โนบิล (The Elephant's foot)” คือกลุ่มก้อนเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่หลอมละลาย เกาะกันเป็นก้อนอยู่ในบริเวณโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล
“เท้าช้างแห่งเชอร์โนบิล (The Elephant's foot)” คือวัตถุที่ประกอบด้วยโคเรียมและสารอื่นๆ ที่อยู่ใต้โรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล และถือกำเนิดขึ้นหลังอุบัติเหตุในเดือนเมษายน ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529)
สำหรับชื่อนั้น ก็มาจากรูปร่างที่มีลักษณะคล้ายกับเท้าช้าง และมันก็มีอันตรายมาก มีกัมมันตภาพรังสีที่สูง สามารถสร้างความเสียหายและเป็นอันตรายอย่างสูง ผู้ที่อยู่ใกล้มันสามารถเสียชีวิตได้ในเวลาไม่กี่นาที
พูดง่ายๆ ก็คือเท้าช้างแห่งเชอร์โนบิลมีระดับกัมมันตภาพรังสีที่สูงมากซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
มีการประเมินว่าระดับกัมมันตภาพรังสีของเท้าช้างแห่งเชอร์โนบิลนั้นรุนแรงราว 500 เท่าของปริมาณที่มนุษย์รับไหว ดังนั้นหากใครเข้าใกล้มันก็สามารถเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่นาทีเท่านั้น
อีกทั้งบริเวณรอบๆ มันก็ยังอันตราย เนื่องจากเท้าช้างแห่งเชอร์โนบิลก็ได้ปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมารอบๆ ใครที่เข้ามาในระยะใกล้ก็จะได้รับอันตราย แม้แต่ทุกวันนี้ บริเวณนี้ก็ยังจัดเป็นพื้นที่อันตราย
เรียกได้ว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ชวนให้ขนลุก และอาจจะเรียกได้ว่าเท้าช้างแห่งเชอร์โนบิลคือ “สิ่งที่อันตรายที่สุดในโลก” และคงไม่ผิดนักหากจะบอกว่าห้องที่บรรจุเท้าช้างแห่งเชอร์โนบิล ก็คือ “ห้องที่อันตรายที่สุดในโลก”
1
โฆษณา