Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Spaceth.co
•
ติดตาม
31 พ.ค. 2023 เวลา 03:43 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ยาน Curiosity ที่ถูกส่งไปสำรวจดาวอังคารในปี 2012 เดินทางครบ 30 กิโลเมตรแล้ว
ตามหลังสถิติของ Opportunity อยู่แค่ 15 กิโลเมตร
วันนี้ นับว่าเป็น Sol (Solar Day on Mars) ที่ 3844 ของยาน Curiosity ที่ประสบความสำเร็จในการลงจอดบนดาวอังคารในวันที่ 5 สิงหาคม 2012 หรือประมาณ 11 ปีก่อน ทาง JPL ได้ประกาศความสำเร็จของ Curiosity ในการเดินทางสำรวจดาวอังคารครบ 30 กิโลเมตร และตัวยานจะยังคงเดินทางต่อไป
เส้นทางการเดินทางของ Curiosity นั้น เป็นการเริ่มต้นจากบริเวณลงจอด ณ บริเวณที่ชื่อว่า Gale Crater หลุมอุกกาบาตโบราณ ก่อนที่จะมุ่งหน้าไปทางใต้ เพื่อแต่ภูเขา Mount Sharp โดยเส้นทางนี้ได้รับการออกแบบเพื่อให้ตัวยาน สามารถสำรวจดินและหินที่อยู่ในบริเวณ เนินตะกอนรูปพัด (alluvial fan) ซึ่งเป็นร่องรอยอันเกิดจากเส้นทางของน้ำในอดีตของดาวอังคาร
Curiosity พบว่าหินใน Gale Crater มีปริมาณของอินทรีย์คาร์บอนสูงกว่าบางภูมิภาคบนโลก -
https://spaceth.co/curiosity-measured-toc/
โดยปัจจุบันแม้เราจะมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ จากยานรุ่นน้องอย่าง Perseverance แต่ภารกิจของ Curiosity ก็จะยังคงดำเนินต่อไปอีกหลายปี และแม้ว่า Rover อายุ 11 ปีตัวนี้จะประสบปัญหามามากมาย เช่น ตกหลุมทราย หรือมีบาดแผลใหญ่บริเวณล้อ แต่มันก็ยังใช้งานได้ดีมาก ๆ
การที่ Curiosity เดินทางมาได้ครบถึง 30 กิโลเมตรนั้นก็นับว่าเป็นสิ่งที่น่ายินดีเป็นอย่างมาก เพราะอีกแค่ 15 กิโลเมตร ก็จะทำลายสถิติเดิมของ Opportunity ที่น้องสิ้นชีพที่ 45 กิโลเมตร ในปี 2019 ที่ผ่านมานี้เอง
และเชื่อว่าเมื่อวันเกิดของน้องมาถึงในเดือนสิงหาคมนี้ (ที่ถูกตั้งโปรแกรมให้ร้องเพลง Happy Birth Day ให้ตัวเอง) JPL ก็จะมีของขวัญอะไรพิเศษ ๆ ให้น้องด้วยเช่นกัน (เช่นงานที่มากขึ้น)
สามารถติดตามเส้นทางการเดินทางของ Curiosity ได้ที่
https://mars.nasa.gov/msl/mission/where-is-the-rover/
ถามว่า 30 กิโลเมตรไกลแค่ไหน ก็ประมาณจากสยามพารากอนไปฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต หรือจากกลางเมืองไปสุวรรณภูมิหรือลาดกระบัง แบบขึ้นทางด่วน
Website -
https://spaceth.co/
Blockdit -
https://blockdit.com/spaceth
YouTube -
https://www.youtube.com/spacethco
Facebook -
https://facebook.com/spaceth
Twitter -
https://twitter.com/spacethnews
IG -
https://instagram.com/spaceth.co
อวกาศ
nasa
บันทึก
7
1
7
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย