31 พ.ค. 2023 เวลา 11:01 • สุขภาพ

ล่าสุด วัคซีนป้องกันโควิดของไทย จะขอยื่นจดทะเบียนได้ในเดือนสิงหาคม 2566

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีการระบาดในประเทศไทย มาตั้งแต่ต้นปี 2563 นั้น
2
ทำให้ไทยมีความต้องการวัคซีน ป้องกันโควิดที่เราสามารถผลิตได้เองเป็นอย่างมาก
เพราะการต้องไปต่อคิว หรือทำการจองวัคซีนของต่างประเทศ เป็นไปด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง
กว่าจะได้วัคซีนมา ก็ใช้เวลานานเป็นแรมปี
จนในที่สุด อย่างน้อยเราก็มี 3 หน่วยงานของประเทศไทย ที่ได้ทำการเร่งวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิดของเราเองได้แก่
2
1) คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาวัคซีนแบบ mRNA
2) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนาวัคซีนชนิดโปรตีนผลิตจากพืช
3) องค์การเภสัชกรรม พัฒนาวัคซีนชนิดเชื้อตาย
1
ในขณะนี้วัคซีนทั้งชนิดเทคโนโลยี mRNA และวัคซีนชนิดผลิตโปรตีนจากพืช กำลังอยู่ในขั้นการทดลองของมนุษย์เฟสหนึ่งขึ้นเฟสสอง ซึ่งยังจะต้องใช้เวลาอีกซักระยะหนึ่ง
1
ส่วนวัคซีนชนิดเชื้อตาย มีความก้าวหน้ามากที่สุด เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีซึ่งเราคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว
และทางองค์การเภสัชกรรมมีโรงงานผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายโดยใช้ไข่ไก่ฟัก ในการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่สระบุรี ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดในการผลิตวัคซีนป้องกันโควิดได้รวดเร็วขึ้น
1
ประกอบกับมีผู้คนส่วนหนึ่ง ที่อาจจะยังกังวลเกี่ยวกับเรื่องผลข้างเคียงของวัคซีนเทคโนโลยีใหม่ เช่น mRNA
จึงทำให้วัคซีนเชื้อตาย อาจจะเป็นความหวัง เป็นตัวเลือกของการที่จะใช้ฉีดวัคซีนกระตุ้นประจำปีได้
ความคืบหน้าของวัคซีนเชื้อตายขององค์การเภสัชกรรม มีการดำเนินการคือ
2
พฤษภาคม 2563 เริ่มโครงการ
มีนาคม 2564 ทดลองในมนุษย์เฟสที่หนึ่ง
สิงหาคม 2565 ทดลองในมนุษย์เฟสที่สอง
ธันวาคม 2565 เริ่มทดลองในมนุษย์เฟสที่สาม และเสร็จสิ้นในเดือนเมษายน 2566
1
กรกฎาคม 2566 จะได้ผลทางห้องปฏิบัติการทั้งหมด
สิงหาคม 2566 จะสามารถยื่นขอจดทะเบียนจากอย.ได้
และคาดว่าสิ้นปีนี้ ธันวาคม 2566 จะสามารถได้รับการขึ้นทะเบียน
1
ทำให้ไทยเราจะสามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด ที่ยืนอยู่บนขาของเราเองได้
2
อย่างไรก็ตาม องค์ความรู้ของการวิจัยพัฒนาวัคซีนของทั้งสามหน่วยงาน สามเทคโนโลยีข้างต้น
จะเป็นความมั่นคงของประเทศทางด้านสาธารณสุขและวัคซีนเป็นอย่างดี
4
เพราะโลกเราจะยังคงมีโรคระบาดเกิดใหม่ในอนาคตอย่างแน่นอน และเราจะสามารถใช้องค์ความรู้ที่มีอยู่ นำมาพัฒนาวัคซีนขึ้นได้สำเร็จในเวลาอันรวดเร็วต่อไป
Reference
องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข
โฆษณา