8 มิ.ย. 2023 เวลา 12:00 • สุขภาพ

"สารให้ความหวาน" ไม่ใช่เซฟโซน น้ำหนักไม่ลด แถมอันตรายเพียบ!

เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่เป็นสายเฮลธ์ตี้ แล้วกำลังอยู่ในช่วงลดน้ำหนัก มักจะมีความคิดที่ว่า การรับประทาน “สารให้ความหวาน” แทนน้ำตาล ทั้งจากอาหารและเครื่องดื่ม จะช่วยควบคุมน้ำหนัก ให้รูปร่างดูผอมเพรียวขึ้น ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่อาจผิด!
โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำให้เลี่ยงการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เพื่อควบคุมน้ำหนัก เพราะนอกจากจะไม่มีประโยชน์ในการช่วยลดไขมันในระยะยาวแล้ว ยังอาจเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดโรคเบาหวานประเภท 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
1
“สารให้ความหวาน” คืออะไร?
สารให้ความหวาน คือ สารชนิดหนึ่งที่ใช้ใส่เพื่อเพิ่มความหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่มโดยไม่ใช่น้ำตาล มีทั้งแบบที่มีคุณค่าทางโภชนาการและไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ
มาทำความรู้จักกับ “สารให้ความหวาน” ทั้ง 2 ประเภท
1. มีคุณค่าทางโภชนาการ
ช่วยให้พลังงานต่อผู้บริโภค เช่น ไซลิทอล มอลทิทอล ซอร์บิทอล และฟรุกโตส
2. ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ
ไม่ให้พลังงาน หรือที่เรียกว่า “น้ำตาลเทียม” เช่น ซูคราโลส แอสพาร์เทม เอซีซัลเฟมเค สตีเวียหรือหญ้าหวาน และแซ็กคารินหรือขัณฑสกร
1
⚠️ อันตรายจากการรับประทาน “สารให้ความหวาน” มากเกินไป
1. เสี่ยงภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
2. เสี่ยงระดับน้ำตาลในเลือดสูง
3. เสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด
รับประทาน “สารให้ความหวาน” อย่างไรให้ปลอดภัย
✔️ อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อทุกครั้ง
✔️ ใช้น้ำตาลเทียมในปริมาณเล็กน้อย
✔️ เลี่ยงขนมหวานและเครื่องดื่มรสหวานจัด
นี่ก็เป็นคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับการรับประทานสารให้ความหวาน แต่ถ้าใครชื่นชอบการรับประทานหวานมาก ๆ แนะนำให้เปลี่ยนไปรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลจากธรรมชาติที่ให้พลังงานแทน รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยลดน้ำหนักได้โดยไม่ทำให้สุขภาพของเราแย่ลงนั่นเองครับ
1
ขอบคุณข้อมูล กรมควบคุมโรค
ติดตาม Community AIA Thailand ได้ที่ https://www.blockdit.com/topics/6322a4b8ae66c7433c8d5007
โฆษณา