5 มิ.ย. 2023 เวลา 09:29 • ความคิดเห็น
ดูจะมีความคิด 2 ชุดอยู่ในหมู่คน 1) ความคิดที่ว่าสิ่งใหม่ดีกว่าสิ่งเก่า(เชื่อเรื่องความก้าวหน้า)คนพวกนี้ ก่อกำเนิด "ยุคสมัยใหม่" 2) ความคิดที่ว่าสิ่งเก่าดีกว่าสิ่งใหม่(เชื่อในความ "คลาสสิค")คนพวกนี้ รักษายุคสมัยที่ตัวเองอยู่ ปฏิรูป ฟื้นฟู และหวนหาความดีงามจากโบราณกาล การที่ใครฝากความหวังไว้กับสิ่งใหม่ และคิดว่ามันจะดีกว่าสิ่งเก่า ก็มีความหมายว่าคน ๆ นั้นมีความคิดแบบแรกก็เท่านั้น
.
แต่เรื่องความผิดหวังนั้น ผมรู้จักประโยคหนึ่งในพระสุตตันตปิฎก แต่จำชื่อพระสูตรไม่ได้แล้ว ทำนองว่า "เกิดเป็นคน(ในนั้นดูจะใช้คำว่า "บุรุษ")พึงหวังอยู่ร่ำไร" (มีข้อความต่อจากนี้ จำไม่ได้อีกนั่นแหละ) ผมว่าประโยคนี้มีอะไรให้คิด และน่าบูชาอยู่
.
มีโศลกบทหนึ่ง จาก "ฐานะสูตร" พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจกนิบาต (ผมจดมา) ความว่า
.
"ประโยชน์แม้เล็กน้อยในโลกนี้
อันใคร ๆ ย่อมไม่ได้เพราะการเศร้าโศก เพราะการคร่ำครวญ
พวกอมิตรทราบว่าเขาเศร้าโศก เป็นทุกข์ ย่อมดีใจ
.
"ก็คราวใดบัญฑิตผู้พิจารณารู้เนื้อความ
ไม่หวั่นไหวในอันตรายทั้งหมด
คราวนั้น พวกอมิตรเห็นหน้าอันไม่ผิดปรกติของบัญฑิตนั้น
ยิ้มแย้มตามเคย ย่อมเป็นทุกข์
.
"บัญฑิตพึงได้ประโยชน์ในที่ใด ๆ ด้วยประการใด ๆ
เพราะการสรรเสริญ เพราะความรู้ เพราะกล่าวคำสุภาษิต
เพราะการบำเพ็ญทาน หรือเพราะประเพณีของตน
ก็พึงบากบั่นในที่นั้น ๆ ด้วยประการนั้น ๆ
ถ้าพึงทราบว่า ความต้องการอย่างนี้ อันเราหรือผู้อื่นไม่พึงได้ไซร้
ก็ไม่ควรเศร้าโศก
ควรตั้งใจทำงานโดยเด็ดขาดว่า บัดนี้เราทำอะไรอยู่"
โฆษณา