15 มิ.ย. 2023 เวลา 13:00 • ธุรกิจ

บริษัทโฮลดิ้ง เสียภาษีอะไร

เบื้องหลังคำถาม “บริษัทโฮลดิ้งเสียภาษีอะไร” มาจากการวางแผนเลือกใช้งาน “บริษัทโฮลดิ้ง” ตามวัตถุประสงค์เพื่อ “จำกัดความเสี่ยงทางกฎหมาย” และ “วางแผนภาษี” อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยที่ “ทรัพย์สิน” และ “รายได้” ของบริษัทโฮลดิ้งเป็น “เครื่องชี้วัด” ถึง “ภาระภาษี” แต่ละประเภท
เจ้าของกิจการและผู้ถือหุ้น สามารถเลือกใช้งานบริษัทโฮลดิ้งได้ตาม “วัตถุประสงค์” (Holding Co on Demand) และ “หน้าที่” (Function) ของบริษัทโฮลดิ้ง หาก “วางแผน” อย่างดีแล้ว เจ้าของกิจการและผู้ถือหุ้นย่อมไม่ใช้บริษัทโฮลดิ้งเดียว
1
(1) ถือครองทรัพย์สินทุกอย่างรวมกัน
(2) ทำหน้าที่หลายอย่างในบริษัทเดียวกัน
(3) กระจุกตัวความเสี่ยงรวมอยู่ในบริษัทเดียวกัน
และที่สำคัญ คือ “ทรัพย์สิน” และ “รายได้” ของบริษัทโฮลดิ้งแต่ละประเภทมี “ภาระภาษี” ต่างกัน กล่าวคือ
🔸 1. Family Holding Co
บริษัทโฮลดิ้งครอบครัว มี “จุดประสงค์” ถือหุ้น “บริษัทในเครือ” เพื่อการลงทุนและอาจให้กู้ยืมเงินแก่บริษัทในเครือ
(ก) ไม่ถือครองทรัพย์สินอื่นที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง เช่น ที่ดิน
1
(ข) ไม่ถือหุ้นบริษัทอื่นนอกกลุ่มที่อาจเสี่ยงต่อการฟ้องร้องระหว่างผู้ถือหุ้น
1
(ค) ไม่ประกอบกิจการอื่นที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง เช่น ให้บริการที่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
รายได้หลัก คือ เงินปันผล ยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และยกเว้นภาษีเงินได้บริษัทจากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทในเครือ หากเข้าเงื่อนไข 3 ประการ คือ
1
(1) ถือหุ้นบริษัทในเครือไม่น้อยกว่า 25% (Shareholding Test)
(2) ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 เดือนก่อนจ่ายเงินปันผลและไม่น้อยกว่า 3 เดือนหลังจ่ายเงินปันผล (Time Test)
1
(3) บริษัทโฮลดิ้งถือหุ้นบริษัทในเครือเท่านั้น ไม่มีการถือหุ้นไขว้ (Conflict Test)
รายได้รอง คือ ดอกเบี้ยเงินกู้จากบริษัทในเครือ เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1% และภาษีเงินได้บริษัท 20% อากรแสตมป์สัญญากู้ 0.05% ไม่เกิน 10,000 บาท ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% หากเข้าเงื่อนไข 2 ประการ คือ
(1) ถือหุ้นบริษัทผู้กู้ยืมเงินไม่น้อยกว่า 25% (Shareholding Test)
(2) ถือหุ้นบริษัทผู้กู้ยืมเงินไม่น้อยกว่า 6 เดือนก่อนการให้กู้ยืมเงิน (Time Test)
🔸 2. Property Holding Co
บริษัทโฮลดิ้งถือครองที่ดิน ใช้งานสำหรับการถือครองที่ดิน เพื่อการลงทุนระยะยาว (Long Term Investment) จุดประสงค์หลักเพื่อการให้เช่า (Lease-out) และอาจ “ขายทำกำไร” ได้ในอนาคต
รายได้หลัก คือ ค่าเช่า (Recurring Income) เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 5% และภาษีเงินได้บริษัท 20% อากรแสตมป์ 0.1% ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT Exemption)
รายได้รอง เมื่อขายที่ดิน คือ เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1% ภาษีเงินได้บริษัท 20% และภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
🔸 3. IP Holding Co (Intellectual Property Holding Company)
บริษัทโฮลดิ้งถือครองทรัพย์สินทางปัญญา ใช้งานสำหรับถือครอง “เครื่องหมายการค้า”​ “สิทธิบัตร” หรือ “ลิขสิทธิ์” รวมถึง “งานวิจัย” และ “ทรัพย์สินทางปัญญา”​ ประเภทต่าง ๆ
รายได้หลัก คือ ค่าสิทธิ (Royalty หรือ License) เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ภาษีเงินได้บริษัท 20% และเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) ไม่มีอากรแสตมป์เพราะไม่ใช่สัญญาจ้างทำของ
รายได้รอง เมื่อขายทรัพย์สินทางปัญญา คือ เสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 3% ภาษีเงินได้บริษัท 20% และเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%)
🔸 4. Investment Holding Co หรือ Onshore Investment Co
บริษัทโฮลดิ้งเพื่อการลงทุนในประเทศ มี “จุดประสงค์” ถือหุ้น (Investment Arm) “บริษัทร่วมทุน” (Joint Venture Co) เพื่อการลงทุน ถือหุ้นบริษัทอื่นนอกกลุ่มที่อาจเสี่ยงต่อการฟ้องร้องระหว่างผู้ถือหุ้น
รายได้หลัก คือ เงินปันผล ยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และยกเว้นภาษีเงินได้บริษัทจากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทในเครือ หากเข้าเงื่อนไขตามกฎหมายภาษี
รายได้รอง คือ กำไรจากการขาย “หุ้นบริษัทร่วมทุน” เสียภาษีเงินได้บริษัท 20% อากรแสตมป์ตราสารการโอนหุ้น 0.1%
🔸 5. Offshore Holding Co
2
บริษัทโฮลดิ้งเพื่อการลงทุนต่างประเทศ มี “จุดประสงค์” ถือหุ้น (Investment Arm) “บริษัทร่วมทุน” (Joint Venture Co) ในต่างประเทศ
รายได้หลัก คือ เงินปันผลจากบริษัทร่วมทุนต่างประเทศ ไม่เสียภาษีเงินปันผล (Dividend Tax) ไม่เสียภาษีจากกำไรขายหุ้น (Capital Gain Tax) หากเลือกใช้ “ดินแดน” ที่ได้ประโยชน์ทางภาษี (Preferable Tax Jurisdiction) เป็นที่จดทะเบียนจัดตั้ง Offshore Holding Co เช่น ประเทศคู่สัญญาที่ไทยทำ “อนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อน” (DTA: Double Tax Agreement) ปัจจุบันถึงปี 2561 มี 61 ประเทศตัวอย่าง Hong Kong และ Singapore
1
🔸 6. IPO Holding Co
บริษัทโฮลดิ้งเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์มี “จุดประสงค์” ถือหุ้น (Investment Model) “บริษัทแกน” (Core Company) ที่เป็นบริษัทหลักในกลุ่มบริษัท และถือหุ้น “บริษัทย่อย” หรือ “บริษัทร่วม” ตามสัดส่วนการลงทุน เช่น ZEN (เซน) CBG (คาราบาวกรุ๊ป) ACOM (A-Commerce) MGC (Millennium Group Corporation) SCGC (SCG Chemical)
1
รายได้หลัก คือ เงินปันผลได้รับจากบริษัทในกลุ่ม ยกเว้นภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% และยกเว้นภาษีเงินได้บริษัทจากเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทในเครือ
1
รายได้รอง คือ กำไรจากการขาย “หุ้นบริษัทในกลุ่ม” เสียภาษีเงินได้บริษัท 20% อากรแสตมป์ตราสารการโอนหุ้น 0.1%
ภาระภาษีบริษัทโฮลดิ้งเป็น “ปัจจัยหลัก” ในการตัดสินใจของเจ้าของและผู้ถือหุ้น ในการ “กระจายความเสี่ยงภาษี” แยกไปตาม “ประเภท” และ “จุดประสงค์” ของการใช้งานบริษัทโฮลดิ้ง หากผู้ถือหุ้น “วางแผน” ให้ “บริษัทโฮลดิ้ง” ต่างประเภทเสียภาษีต่างกัน ความยุ่งยากในการปฏิบัติตามกฎหมายภาษี (Tax Compliance) ย่อมน้อยลงไปตามความเสี่ยงของประเภทภาษี และยังเป็น “ทางเลือก” ในการวางแผนภาษีที่ดี (Good Faith Tax Planning) ด้วย
บทความห้องเรียนผู้ประกอบการ
โดย ชินภัทร วิสุทธิแพทย์
ONE Law Office
โฆษณา