17 มิ.ย. 2023 เวลา 00:09 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

น่าภูมิใจ vs น่าเป็นห่วง เมื่อ Reuters เปิดเผยว่าคนไทยบริโภคข่าวจาก TikTok ...

ไม่รู้ว่ามันเป็นเรื่องที่น่าภูมิใจหรือน่าเป็นห่วงดีนะครับ สำหรับข่าวล่าสุดที่มีการเปิดเผยจากสำนักข่าว reuters ว่า คนไทยเรากำลังบริโภคข่าวทาง TikTok ในสัดส่วนที่มากกว่าประเทศอื่นในโลก
11
พฤติกรรมที่น่าสนใจคือ คนไทยกว่า 40% ชอบบริโภคข่าวด้วยการดูคลิปวีดีโอมากกว่าการอ่าน ซึ่งตรงนี้ เป็นอะไรที่สวนทางกับเหล่าประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ เช่น เดนมาร์ก ที่บริโภคข่าวผ่าน TikTok เพียงแค่ 2% , ญี่ปุ่น 3% และเยอรมนีที่ประมาณ 3%
7
บนแพลตฟอร์มอย่าง TikTok นั้น ผู้คนสนใจคนดัง เหล่าผู้มีอิทธิพล (Influencers) และบุคคลในโซเชียลมีเดียที่สร้างเนื้อหาข่าว มากกว่านักข่าวมืออาชีพที่ผ่านการฝึกฝนมา
5
มันก็ค่อนข้างสอดรับกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคโดยเฉพาะชาวไทย ที่ตอนนี้แห่กันมาใช้งานแพลตฟอร์ม TikTok มากขึ้น และได้ทำการดึงเวลาใช้งานของแพลตฟอร์มอื่นไปค่อนข้างมาก
2
ความน่าสนใจคือ เหล่าผู้ใช้ TikTok ส่วนใหญ่นั้น ชอบข่าวเกี่ยวกับเรื่องราวที่บุคคลทั่วไปสร้างขึ้นมาประมาณ 44% มากกว่าสำนักข่าวกระแสหลักหรือนักข่าวมืออาชีพที่ 33% ซึ่งมันสะท้อนภาพลักษณ์ของแพลตฟอร์มได้ดีที่เหล่าพลเมืองคนทั่วไปมักจะรวบรวมเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบ realtime และนำเสนอต่อสาธารณะ
5
มันได้เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในช่วงสงครามยูเครน-รัสเซีย เนื่องจากทหารโพสต์ภาพวีดีโอและบันทึกเรื่องราวประจำวันจากสนามรบ และอัปโหลดไปยัง TikTok นั่นทำให้คนที่เสพข่าวรู้สึกได้ว่ากำลังประสบกับเหตุการณ์โดยตรงรวมถึงรายละเอียดบางอย่างที่นักข่าวกระแสหลักเลือกที่จะละเว้นไม่เสนอออกมา
3
แต่ก็มีเหล่าผู้เชี่ยวชาญได้เตือนว่า การทำข่าวบนแพลตฟอร์มวีดีโอสั้นอย่าง TikTok นั้น สามารถผสมกับข้อมูลที่บิดเบือนได้ง่าย และทำให้เกิดความสับสนระหว่างข้อเท็จจริงและเรื่องที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมา ตัวอย่างเช่น TikTokers บางคนแสร้งทำเป็นสตรีมสดจากยูเครนและเรี่ยไรเงินบริจาคโดยใช้ฟุตเทจที่ได้รับการตัดต่อหรือพากษ์เสียงให้เหมือนจริง
5
จากการสืบสวนของ NewsGuard พบว่าเกือบ 20% ของวีดีโอที่ครอบคลุมหัวข้อข่าวที่กลายเป็นกระแสร้อนแรงไปทั่วโลกนั้น มีข้อมูลที่ผิดเพี้ยน โดยหัวข้อเหล่านี้นั้นมีตั้งแต่เรื่องวัคซีนป้องกันโควิด ความรุนแรงจากการกราดยิงภายในโรงเรียน ไปจนถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครน และการเลือกตั้งของสหรัฐอเมริกา
4
ด้วยเทคโนโลยีสุดล้ำในยุคปัจจุบันนั้น ทั้ง Photoshop , Deepfakes ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI ยุคใหม่ กำลังนำไปสู่การเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดบนแพลตฟอร์มวีดีโอรูปแบบสั้นได้ง่ายขึ้น
3
ตัวอย่าง Deepfake video ของ Tom Cruise บน TikTok ที่คนทั่วไปแทบแยกไม่ออกว่าเป็นคลิปปลอม (CR: Metro UK) ตัวอย่าง Deepfake video ของ Tom Cruise บน TikTok ที่คนทั่วไปแทบแยกไม่ออกว่าเป็นคลิปปลอม (CR: Metro UK)
การตรวจสอบข้อเท็จจริงในวีดีโอสั้นที่เราได้เห็นใน TikTok นั้น อาจเป็นเรื่องยากและใช้เวลานานมาก เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลเหล่านั้นถูกต้อง
3
ตัวอย่างข่าวผิด ๆ จากการวิจัยจาก NewsGuard ที่น่าสนใจบนแพลตฟอร์ม TikTok
3
ในเดือนกันยายนปี 2022 นักวิเคราะห์ของ NewsGuard สี่คน ในสหรัฐฯ ได้ทำวิจัยเกี่ยวกับข้อมูลต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม TikTok ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2020 , โควิด-19,สงครามรัสเซีย-ยูเครน, การทำแท้ง และการกราดยิงในโรงเรียน
2
ใน TikTok เราสามารถค้นหาข่าวหรือข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายโดยพิมพ์ keyword ในแถบค้นหา ซึ่งผลการทดสอบของ NewsGuard พบว่ามีการให้ข้อมูลเท็จในผลลัพธ์ 20 รายการแรก และมักจะอยู่ใน 5 อันดับแรก ซึ่งเมื่อเทียบกับ Google จะให้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพสูงกว่าและมีการแบ่งขั้วน้อยกว่า (โดยเฉพาะเรื่องการเมือง) โดยมีข้อมูลผิดน้อยกว่ามาก
6
NewsGuard ได้วิเคราะห์ผลลัพธ์ของ TikTok 540 รายการ โดยพิจารณาจากผลลัพธ์ 20 อันดับแรกจากการค้นหาข้อมูลข่าวสาร พบว่าวีดีโอ 105 รายการ หรือประมาณ 19.4% มีการกล่าวอ้างข้อมูลเท็จหรือทำให้เข้าใจผิด
5
ข่าวเหล่านี้ประกอบด้วยวลีที่เป็นกลาง เช่น “การเลือกตั้งปี 2022” และ “วัคซีน mRNA” รวมถึงถึงหัวข้อข่าวที่มีการโต้เถียง เช่น “6 มกราคม FBI” และ “Uvalde tx conspiracy” ในผลการค้นหาของ TikTok เสนอวลีที่ถูกกล่าวหาเหล่านี้จำนวนมากเมื่อทาง NewsGurad พิมพ์วลีที่มีความเป็นกลาง
3
ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ใช้ป้อนคำว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” TikTok จะแนะนำให้ค้นหาคำว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ถูกหักล้าง” และ “ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” สำหรับผู้ใช้ที่ค้นหาข่าวเกี่ยวกับ “วัคซีนโควิด” TikTok แนะนำให้ค้นหา “การบาดเจ็บของวัคซีนโควิด” “ความจริงของวัคซีนโควิด” “การสัมผัสวัคซีนโควิด” “วัคซีนโควิดเอชไอวี” และ “คำเตือนวัคซีนโควิด”
2
คำค้นหาที่แนะนำสำหรับ “วัคซีนโควิด” บน TikTok ซ้าย เทียบกับ Google ขวา (CR:NewsGuard)
ในทางตรงกันข้าม Google แนะนำคำค้นหาที่ตรงไปตรงมามากกว่า ตัวอย่างเช่น การค้นหา “วัคซีนโควิด” ใน Google จะแสดงข้อความว่า “วัคซีนโควิดชนิดใดดีที่สุด” และ “ชนิดของวัคซีนโควิด” ซึ่งแทบไม่มีข้อแนะนำเหล่านี้ในแพลตฟอร์มอย่าง TikTok เลย
5
ในบางกรณีเช่นเรื่องของการเมือง มีความน่าสนใจว่า แม้ TikTok จะให้ข้อมูลที่ผิดเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย แต่ผลลัพธ์มักจะมีการเอนเอียงไปทางขั้วทางการเมืองใดการเมืองหนึ่งมากกว่าของ Google
2
ตัวอย่างเช่น ผลการค้นหา 12 รายการจาก 20 อันแรก สำหรับ “2022 midterm” มีคำพูดที่เอนเอียงไปทางแนวคิดทางการเมืองฝั่งซ้ายมากกว่า
2
รวมถึงยังมีเรื่องของข้อมูลสุขภาพอีกมากมายที่เป็นตัวอย่างความมั่วมาก ๆ ของ TikTok ที่ทาง NewsGuard แสดงผลการวิจัยให้เห็น (สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Link References แนบท้ายบทความ)
บทสรุป
ส่วนตัวมองว่าไม่ใช่แค่แพลตฟอร์ม TikTok เท่านั้นที่มีปัญหาในเรื่องดังกล่าวนี้ แต่มันเป็นปัญหาในเรื่องทางเทคนิคของรูปแบบวีดีโอมากกว่า ซึ่ง ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกันแทบจะทุกแพลตฟอร์มวีดีโอ ไม่ว่าจะเป็น Reels ของ Meta , Youtube & Youtube Shorts ฯลฯ
มันยังเป็นเรื่องท้าทายทางวิศวกรรมอยู่ค่อนข้างมากในการวิเคราะห์วีดีโอในปัจจุบัน ที่ต้องแข่งขันกับความเร็วในการเสพข้อมูลของผู้บริโภค ยิ่งวีดีโอสั้น มันเลยยิ่งกลายเป็นปัญหา การ extract meta data จาก vdo นั้นเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา และคงไม่สามารถเทียบได้กับข้อมูลพวก Text หรือ ภาพ จากการวิเคราะห์ของ Google Search ที่แน่นอนว่ามีความแม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูลสูงกว่ามาก
2
แต่การวิเคราะห์ในเรื่องวีดีโอว่า อันไหนเท็จ อันไหนจริงนั้น เป็นเรื่องท้าทายสำหรับทุกแพลตฟอร์ม สอดรับกับเทคโนโลยี การปลอมแปลงต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ AI ในยุคใหม่ ที่สามารถปลอมวีดีโอได้แนบเนียนจนแทบแยกไม่ออกว่า อะไรคือข้อมูลจริง หรือข้อมูลเท็จ เพราะฉะนั้นการเสพข้อมูลโดยเฉพาะรูปแบบวีดีโอต้องมีสติให้มาก และคอยเช็คข้อมูลกับแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถืออยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นเหยื่อของสงครามข้อมูลที่กำลังถาโถมเข้ามาในยุคปัจจุบันนั่นเองครับผม
3
หนังสือ The YouTube Formula: How Anyone Can Unlock the Algorithm to Drive Views, Build an Audience, and Grow Revenue โดย Derral Eves
◤━━━━━━━━━━━━━━━◥
หากคุณชอบคอนเทนต์นี้อย่าลืม 'กดไลก์'
หากคอนเทนต์นี้โดนใจอย่าลืม 'กดแชร์'
คิดเห็นอย่างไรคอมเม้นต์กันได้เลยครับผม
◣━━━━━━━━━━━━━━━◢
1
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA ด.ดล Blog
คลิกเลย --> https://lin.ee/aMEkyNA
รวม Blog Post ที่มีผู้อ่านมากที่สุด
——————————————–
ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
=========================
โฆษณา