20 มิ.ย. 2023 เวลา 10:55 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ความลับของ Luxury Brand ที่เติบโตแบบไม่มีวันตาย

หากคุณกำลังลงทุนในแบรนด์หรูอยู่ คุณเคยสงสัยไหมว่า…ทำไมแบรนด์หรูถึงไม่มีวันตาย ?
ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร 20, 30 หรือ 100 ปี แบรนด์หรูหลาย ๆ แบรนด์ก็ยังคงอยู่ได้ และเป็นที่นิยมอยู่เสมอ แถมตอนเจอวิกฤติทางเศรษฐกิจ แบรนด์หรูก็ยังคงมีรายได้ และกำไรที่เพิ่มสูงขึ้นอีกด้วย
ยกตัวอย่าง Louis Vuitton แบรนด์ธุรกิจแฟชั่น ที่ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1854 ที่ดำเนินธุรกิจมาได้อย่างต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบันบริษัทแห่งนี้มีอายุราว ๆ 169 ปี โดยในปี ค.ศ. 2022 สามารถทำรายได้สูงทะลุ 2 หมื่นล้านยูโร หรือประมาณ 7 แสนล้านบาทเลยทีเดียว ตามการอ้างอิงของเว็บไซต์ The Fashion Law เมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ. 2023
1
อะไรทำให้สินค้าแบรนด์หรู (Luxury Brand) เติบโตขึ้นแบบไม่มีวันตายมาเป็นเวลาหลายร้อยปี KTAM จะสรุปประเด็นนี้ให้สาวกแบรนด์หรูได้เข้าใจกัน
 
1) ตอบสนองความต้องการหลากหลายมิติ
ไม่ว่ายุคสมัยจะเปลี่ยนไปเยอะแค่ไหน แต่ความต้องการของผู้คนกับการใช้สินค้าแบรนด์หรูก็ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสวยงาม การแสดงฐานะทางสังคม หรือแม้กระทั่งเพื่อการลงทุนผ่านการเก็งกำไร เป็นต้น
2) เป็นการสร้างความเชื่อมั่นทางธุรกิจ
ในแง่ธุรกิจ สินค้าแบรนด์หรูยังคงเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ ที่หลายคนเลือกใช้ในการแสดงฐานะทางสังคม เพื่อทำให้คู่ค้าเกิดความเชื่อถือ และความเชื่อใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเจรจาทางธุรกิจต่อคู่ค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม เรียกได้ว่า การลงทุนในแบรนด์หรู นอกเหนือจากความสวยงามแล้ว ยังเป็นเครื่องมือและกลยุทธ์ในการทำธุรกิจได้อีกด้วย
3) มูลค่าที่เพิ่มขึ้น
สินค้าแบรนด์หรูนอกจากจะมีดีไซน์ที่สวยงามและแสดงฐานะทางสังคมได้แล้ว อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้แบรนด์หรูอยู่มาได้เป็นร้อยปี ก็เป็นเพราะว่าสินค้าเหล่านี้ มักมีมูลค่าในตัวเองอยู่เสมอ ซึ่งมูลค่ามักมาจาก เรื่องราว กระบวนการผลิตที่มีความพิถีพิถัน วัสดุที่หายาก และจำนวนที่มีจำกัดนั่นเอง ยิ่งเมื่อเวลาผ่านไปสินค้าเหล่านี้แทนที่จะตกเทรนด์ กลับกลายเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น
4) กลยุทธ์ทางการตลาด
หนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่สินค้าแบรนด์หรูมักเลือกใช้คือ การทำสินค้าในรูปแบบ Limited Edition ซึ่งส่วนใหญ่แบรนด์หรูมักทำออกมาในจำนวนจำกัด หรือจำนวนที่น้อยมาก ๆ ตรงกันข้ามกับความต้องการของคนที่ไม่จำกัด ดังนั้น
ใครที่สามารถครอบครองสินค้าชิ้นนั้นได้ ก็จะทำให้คนนั้นรู้สึกพิเศษมากขึ้น อีกทั้งการทำการตลาดรูปแบบนี้ก็ยิ่งเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้สูงขึ้นได้อีกด้วย
และทั้งหมดนี้ คงตอบคำถามได้แล้วว่า เพราะอะไรสินค้าแบรนด์หรู หรือ Luxury Brand จึงสามารถเติบโตมาได้เป็นร้อยปี
หากนักลงทุนสนใจสินค้าแบรนด์หรู อยากลงทุน และเก็งกำไรกับสินค้าในกลุ่มนี้ กองทุน KT-LUXURY ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการลงทุน
2
และสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี ก็ยังมีกองทุน KT-LUXURY-SSF (ชนิดเพื่อการออม) ให้เลือกลงทุนอีกด้วย
โดยทั้ง 2 กองทุนนี้ จะมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6
สำหรับนโยบายของกองทุนนี้ จะเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน PICTET - PREMIUM BRANDS (กองทุนหลัก) เพียงกองเดียว ในชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) “I” ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม
ซึ่งกองทุนหลัก มีนโยบายเน้นการเติบโตของมูลค่าเงินลงทุน ผ่านการลงทุนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของทรัพย์สินสุทธิของกองทุนในตราสารทุนที่ออกโดยบริษัทที่ทำธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมสินค้า และบริการระดับบน (Premium Brands Sector)
ซึ่งเป็นสินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูง โดยบริษัทเหล่านี้เป็นที่ถูกจดจำหรือรับรู้โดยผู้บริโภคในตลาด (Strong Market Recognition) เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีความสามารถที่จะสร้าง หรือมีอิทธิพลในการกำหนดกระแสความนิยมของผู้บริโภคได้ (Consumers Trends) อีกทั้งบริษัทเหล่านี้ยังมีความสามารถในการกำหนดราคาสินค้าหรือบริการอีกด้วย
ตัวอย่างบริษัทที่กองทุนหลัก PICTET - PREMIUM BRANDS เข้าไปลงทุน (ข้อมูลล่าสุด จากเว็บไซต์ The Financial Times ณ วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2023)
- Marriott International Inc
สัดส่วนการลงทุน 5.23%
- LVMH Moet Hennessy Louis Vuitton SE
สัดส่วนการลงทุน 4.19%
1
- Hermes International SCA
สัดส่วนการลงทุน 4.18%
- Ferrari NV
สัดส่วนการลงทุน 4.08%
- Apple Inc
สัดส่วนการลงทุน 3.87%
 
สำหรับท่านใดที่สนใจ หรือต้องการ Fund Fact Sheet สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- KT-LUXURY : http://bitly.ws/Iw7Y
- KT-LUXURY-SSF : http://bitly.ws/IEXi
หรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่
ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ
บลจ.กรุงไทย โทร. 02 686 6100 กด 9
ลงทุนออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน KTAM Smart Trade ง่าย สะดวก ปลอดภัย
ดาวน์โหลด :
คำเตือน :
ปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ : ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk) / ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของผู้ออกตราสาร (Business Risk) / ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน (Currency Risk) / ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk) เป็นต้น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ในกรณีที่กองทุนไม่ได้มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวน ผู้ลงทุนอาจจะขาดทุน หรืออาจจะได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ หากลงทุนไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กรมสรรพากรกำหนด อาจต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีและเสียเงินเพิ่ม
References :
โฆษณา