28 มิ.ย. 2023 เวลา 05:43 • ประวัติศาสตร์

จักรวรรดิโรมันและจีนโบราณรู้จักเรื่องราวของกันและกันหรือไม่?

“จีน (China)” คือหนึ่งในชนชาติที่มีอารยธรรมเก่าแก่ยาวนานเป็นอันดับต้นๆ ในประวัติศาสตร์โลก สามารถย้อนประวัติศาสตร์ไปได้กว่า 5,000 ปี
ตลอดระยะเวลาตั้งแต่อดีต จีนคือมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ ทำให้จีนเป็นดินแดนที่เนื้อหอม เหมาะสำหรับทำการค้าหรือยกทัพรุกรานจากดินแดนอื่น
ถึงแม้จะเป็นไปได้ที่ “จักรวรรดิโรมัน (Roman Empire)” อาจจะจ้องจีนตาเป็นมัน แต่ด้วยระยะทางที่ห่างไกล ทำให้ “การค้า” ดูจะเหมาะกว่าสำหรับสองดินแดนนี้
1
แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่าสองดินแดนที่ดูจะไม่เกี่ยวข้องกันเลยนี้ ต่างรู้จักกันเป็นอย่างดี
ภายหลังจากการถือกำเนิด “เส้นทางสายไหม (Silk Road)” เมื่อราวยุค 200 ปีก่อนคริสตกาล จีนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮั่น ก็มองจักรวรรดิโรมันเป็นอารยธรรมที่รุ่งเรืองตีคู่มากับชาติตน
ในเวลานั้น จักรวรรดิโรมันปกครองพื้นที่ส่วนหนึ่งบนเส้นทางการค้า ส่วนจีนก็แผ่อำนาจอยู่ในพื้นที่อีกด้าน
จีนนั้นนำเข้าสินค้ามากมายจากกรุงโรม สินค้าที่จีนนำเข้ามาจากโรมก็เช่น เครื่องแก้ว พรม อำพัน และผ้าราคาแพง โดยสินค้าเหล่านี้เข้ามาในจีนผ่านท่าเรือในแถบที่ปัจจุบันคือนครโฮจิมินห์ในเวียดนาม
1
ทางด้านจักรวรรดิโรมันก็ชื่นชอบผ้าไหมจีนเป็นอันมาก โดยผ้าไหมจีนเป็นสิ่งที่นิยมในหมู่ชนชั้นสูงโรมัน โดยภาษาละตินที่ใช้เรียกจีนก็คือ “เซริคา (Serica)” ซึ่งอาจจะแปลได้ว่า “ดินแดนผ้าไหม”
ในปีค.ศ.166 (พ.ศ.609) ราชทูตของ “จักรพรรดิมาร์คัส ออเรเลียส (Marcus Aurelius)” จักรพรรดิแห่งโรมัน ได้เดินทางมาถึงเวียดนามตะวันตก โดยจักรวรรดิโรมันต้องการจะสร้างเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างจักรวรรดิโรมันกับจีนโดยตรง
จักรวรรดิโรมันต้องการจะเดินทางเข้าสู่จีนโดยตรง หากแต่ก็ไม่สามารถทำได้เนื่องจากเส้นทางมักจะถูกปิดกั้นโดย “จักรวรรดิพาร์เธีย (Parthian Empire)”
คณะทูตจากจักรวรรดิโรมันคณะต่อมาได้เดินทางมาจีนในปีค.ศ.226 (พ.ศ.769) และได้แวะไปหนานจิง ก่อนที่คณะทูตคณะต่อมาจะเดินทางมาจีนในปีค.ศ.284 (พ.ศ.827)
จักรพรรดิมาร์คัส ออเรเลียส (Marcus Aurelius)
ในช่วงศตวรรษที่ 1 และศตวรรษที่ 2 จักรวรรดิโรมันได้ทำการค้ากับตะวันออกไปไกลถึงกัมพูชาและเวียดนาม อีกทั้งจักรวรรดิพาร์เธียและอาณาจักรพม่าก็ได้มีการว่าจ้างนักกายกรรมและนักดนตรีชาวกรีกไว้ในราชอาณาจักร และมีการส่งนักดนตรีและนักกายกรรมเหล่านี้ไปกำนัลแก่จีน
แต่เมื่อถึงศตวรรษที่ 3 ก็ได้เกิดความเสื่อมถอยในจักรวรรดิโรมัน ทำให้การติดต่อระหว่างสองอาณาจักรเริ่มลดน้อยลง
1
แต่เมื่อถึงปีค.ศ.643 (พ.ศ.1186) จักรพรรดิแห่ง “จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)” ก็ได้ส่งราชทูตไปยังจีน โดยมีการส่งทูตไปจีนหลายครั้ง
ย้อนกลับไปเมื่อยุค 200 ปีก่อนคริสตกาล คณะทูตจากจีนเองก็ได้เดินทางไปยังโรม โดยจีนได้ขยายดินแดนไปยังพื้นที่ใกล้กับทะเลสาบบาลคาชซึ่งตั้งอยู่ในคาซัคสถาน ส่วนจักรวรรดิโรมันก็ได้ขยายอำนาจไปทางตะวันออกถึงแม่น้ำยูเฟรตีส
จักรวรรดิโรมันและจีนนั้นมีขอบเขตอำนาจที่เข้าใกล้กันเรื่อยๆ มีเพียงพื้นที่ไม่กี่แห่งที่แบ่งแยกสองอาณาจักรออกจากกัน
ในปีค.ศ.97 (พ.ศ.640) “กานยิง (Gan Ying)” ทูตชาวจีน ได้รับมอบหมายให้เดินทางไปยังกรุงโรม
กานยิงนั้นเดินทางไปถึงอ่าวเปอร์เซีย ก่อนจะหลงเชื่อคำพูดของจักรวรรดิพาร์เธียและเดินทางกลับ
1
คนจากจักรวรรดิพาร์เธียได้โน้มน้าวไม่ให้กานยิงเดินทางต่อ โดยอ้างว่าเส้นทางทางทะเลไปยังกรุงโรมนั้นอันตราย อีกทั้งต้องใช้เวลากว่าสองปีจึงจะถึงจุดหมาย
กานยิง (Gan Ying)
แต่สาเหตุที่จักรวรรดิพาร์เธียไม่อยากให้กานยิงเดินทางไปถึงโรม ก็เนื่องจากจักรวรรดิพาร์เธียนั้นมีผลประโยชน์ ควบคุมเส้นทางสายไหมกับกรุงโรม และไม่ต้องการให้คนของราชสำนักจีนไปติดต่อพูดคุยกับโรมันได้โดยตรง ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผลประโยชน์ของตน
แต่ถึงจะเดินทางไปไม่ถึงโรม แต่กานยิงก็ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับจักรวรรดิโรมันมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบอบการปกครอง เมืองแต่ละแห่งที่มีกำแพงล้อมรอบ ระบบไปรษณีย์ และความมั่งคั่งของกรุงโรม
และการเดินทางของกานยิงก็เป็นการเดินทางของทูตจีนที่ถือว่าไปได้ไกลที่สุดแล้วในยุคนั้น
1
จากจดหมายเหตุจีนโบราณ ได้มีการระบุถึงข้อมูลของจักรวรรดิโรมัน รวมทั้งการที่จีนโบราณยอมรับว่าจักรวรรดิโรมันเป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง
จีนโบราณเรียกจักรวรรดิโรมันว่า “Daqin” ซึ่งแปลว่า “จีนผู้ยิ่งใหญ่” ชี้ให้เห็นว่าจีนมองจักรวรรดิโรมันเป็นดินแดนที่ทรงอำนาจและรุ่งเรือง ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจักรวรรดิพาร์เธีย
นอกจากนั้น จีนยังรับรู้ถึงระบอบการปกครองและการเมืองของจักรวรรดิโรมัน โดยทราบว่าผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันคือกษัตริย์ซึ่งอาจจะถูกถอดถอนได้
อีกทั้งยังทราบถึงระบบสาธารณูปโภคของจักรวรรดิโรมัน รวมทั้งระบอบไปรษณีย์ และอาณาเขต แคว้นต่างๆ ซึ่งจีนเรียกว่าเป็น “อาณาจักรอิสระ”
1
ดังนั้นอาจจะสรุปได้ว่า ด้วยการค้าและการทูตทำให้จักรวรรดิโรมันและจีนมีความสัมพันธ์และรับรู้เรื่องราวของอีกฝ่าย
1
นี่ก็เป็นเกร็ดประวัติศาสตร์อย่างหนึ่งของช่วงเวลาโบราณ
1
โฆษณา