28 มิ.ย. 2023 เวลา 09:42 • ท่องเที่ยว
โขดหินอุลูรู

ไม่ใช่ภูเขา แต่เป็นโขดหินยักษ์ !

ชวนรู้จัก "Uluru" หรือ "Ayers Rock" แห่งออสเตรเลีย 🇦🇺
📍สถานที่ Uluru-Kata Tjuta National Park
ภูมิภาค - Northern Territory
ประเทศ - Australia 🇦🇺
มองผ่าน ๆ แล้วอาจจะเหมือนภูเขาสูงสักลูกนึง
แต่ว่า…ภาพที่เพื่อน ๆ เห็นกันอยู่ มันไม่ใช่ภูเขานะคร้าบบบ... แต่เป็น "โขดหินยักษ์" ที่มีชื่อว่า "Uluru" หรือ "Ayers Rock"
Cr.https://www.abc.net.au/news/science/2017-06-27/how-did-uluru-and-kata-tjuta-form/8572068
เจ้าโขดหินยักษ์นี้ ประกอบไปด้วยโขดหินทรายสีแดง(หินอาร์โคส) ซึ่งอุดมไปด้วยแร่ฟันม้าหรือแร่เฟลด์สปาร์ (Feldspar)
ซึ่งเจ้าโขดหินยักษ์แห่งนี้ เค้าไม่ได้จู่ ๆ ก็มีหินงอกขึ้นมา หรือว่ามนุษย์ไปสร้างขึ้นแต่อย่างใดนะคร้าบ
แท้จริงแล้ว เจ้าโขดหินนี้ มันเป็นส่วนหนึ่งของยอดเขาซึ่งจมอยู่ใต้ดินลึกลงไปถึง 6 กิโลเมตรเลยแน่ะ !
แต่ถ้าย้อนเวลากลับไปประมาณ 550 ล้านปีที่แล้ว โขดหินยักษ์แห่งนี้และภูเขาที่อยู่ข้างล่างเนี่ย มันเคยเป็นพื้นใต้มหาสมุทรมาก่อนด้วยนะ
ลำพังเจ้าโขดหินใหญ่โตที่เราเห็นจนคล้ายภูเขา มีเส้นรอบวงที่ฐานยาว 9 กิโลเมตร มีขนาดความสูง 348 เมตร (สูงกว่าตึก"MahaNakhon" และ ตึกใบหยก 2 อีกนะ)
ปัจจุบันโขดหินยักษ์ "Uluru" ได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติในปี ค.ศ. 2019
แค่จินตนาการว่าใหญ่กว่าตึกที่สูงที่สุดในกรุงเทพ ก็โอโห...
[ มารู้จักเรื่องราวและตำนานความเชื่อของเจ้าโขดหินยักษ์แห่งนี้กันเบา ๆ ]
เพื่อน ๆ ที่อ่านชื่อของโขดหินยักษ์แห่งนี้แล้ว อาจจะรู้สึกงง กันเล็กน้อย
เพราะว่า "Uluru" หรือ อุลูรู เป็นชื่อเรียกในภาษาพื้นเมืองอะบอริจิน (ภาษา Pitjantjatjara) แปลว่า “สถานที่พบปะ”
โดยหินยักษ์แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชนเผ่าอานางู (Anangu)
เรื่องเล่าเคล้าตำนานของชาวอะบอริจินีเกี่ยวกับโขดหินแห่งนี้ ก็มีอยู่ว่า…
บรรพบุรุษของชนเผ่าอานางู (Anangu) ได้สร้างโขดหินแห่งนี้ขึ้นตั้งแต่สมัยจูคูร์ปา (เค้าเรียกกันว่ายุคแห่งช่วงฝัน) ซึ่งเป็นพื้นพิภพกำลังก่อตัว
ในยุคนั้นบริเวณแถบโขดหินอุลูรูแห่งนี้ เป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้และมนุษย์งูคาร์เป็ต 🦘🐍 (อ่านแล้วอาจจะต้องจินตนาการตามกันไปนิดนึงนะเพื่อน ๆ😅)
(🤓💡 Fact - ตามความเชื่อของชาวโลกภายนอกเนี่ย ก็มองว่ามันเป็นการกำเนิดของภูเขาใต้ทะเล ที่มันเกิดโดยธรรมชาติ ไม่ใช่มนุษย์ไปสร้างขึ้น)
Cr.https://www.snowys.com.au/blog/uluru-travel-guide/
จนกระทั่ง… ครั้งหนึ่งมนุษย์งูคาร์เป็ตถูกมนุษย์งูพิษจากแดนใต้รุกราน
แต่แล้ว พวกมนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้ก็ได้เข้ามาช่วยเหลือ 🐍⚔
คือเค้าก็สู้กันยับเยินเลย สุดท้ายฝ่ายมนุษย์ครึ่งจิงโจ้และมนุษย์งูคาร์เป็ต เป็นฝ่ายชนะ ปกป้องพื้นที่ของตัวเองได้
โดยความเชื่อที่ชาวอะบอริจินีเล่าต่อ ๆ กันมา คือเค้าเชื่อว่าร่างของมนุษย์ครึ่งงูพิษถูกสาปให้กลายเป็นโขดหินอุลูรู โขดหินยักษ์แห่งนี้นี่เองคร้าบบ
ส่วนรอยน้ำไหลที่ด้านหนึ่งของหินเป็นรอยเลือด ของมนุษย์งูพิษ
ในขณะที่รอยเท้าของมนุษย์ครึ่งจิงโจ้นั้นที่ทิ้งเอาไว้ ได้กลายเป็นถ้ำที่ฐานโขดหิน
และถ้ำแห่งนี้นี่ละ ที่เป็นที่อยู่ของคนตายในเผ่าอะบอริจิน
เขาเลยเชื่อกันว่า หากใครนำเอาก้อนหินนี้ไป จะพบแต่ความโชคร้าย อาจเกิดหายนะถึงแก่ชีวิต 😣🥺
เหมือนเลือดไหลไหมเอ่ย ? Cr. https://edition.cnn.com/travel/article/water-cascade-uluru-scli-intl/index.html
ชาวพื้นเมืองอะบอริจิน
ตำนานก็ยังคงเป็นตำนาน…
แต่เมื่อมีมนุษย์จากโลกภายนอกเข้ามาบุกรุกเมื่อไร…
เรื่องราวก็อาจจะถูกเปลี่ยนไปสักเล็กน้อย 🤔
ตำนานความเชื่อโบราณ กำลังถูกแทนที่ด้วยวิทยาศาสตร์และธรณีวิทยา
ทำให้ตำนาน กลายเป็นเพียงแค่เรื่องเล่าไปแต่เท่านั้น…👩‍🔬🧬
ในช่วงปี 1870 ที่ชาวยุโรปได้ค้นพบทวีปออสเตรเลียแห่งนี้ พวกเค้าก็ค้นพบเจ้าโขดหินยักษ์ “Uluru” และได้ตั้งชื่อให้เป็นภาษาอังกฤษ “Ayers Rock" (อ่านว่า แอร์ส์) ก็มาจากการตั้งชื่อเรียกตาม “เซอร์เฮนรี แอร์ส (Sir Henry Ayers) อดีตนายกรัฐมนตรีของเซาธ์ออสเตรเลีย” 🙋‍♂️🇦🇺
แต่ว่าเซอร์เฮนรี เค้าไม่ได้ไปค้นพบด้วยตัวเองหรอกนะ แต่ว่าเป็นนักสำรวจชาวยุโรปนามว่า William Gosse ที่ไปค้นพบและตั้งชื่อให้กับโขดหินยักษ์ในที 1873
Sir Henry Ayers
เราเข้าใจว่าแต่เดิมทีนักท่องเที่ยวก็ชอบมาปีนเจ้าโขดหินยักษ์กัน จนรัฐบาลออสเตรเลียต้องออกมาประกาศ ไม่ได้เพราะว่ามันจะพังแต่อย่างใด หากแต่ว่ามันเป็นการไม่เคารพต่อธรรมเนียมของชนเผ่าพื้นเมืองในท้องถิ่น นั่นเอง
เพราะว่าชนเผ่าอานางู (Anangu) มองว่านี่คือสถานที่ศักสิทธิ์ (ประมาณวัดของบ้านเราเลยก็ว่าได้) และยังไม่มีชนเผ่าคนไหนที่เคยขึ้นไปปีนเลย (จะมีก็แต่นักท่องเที่ยวชาวโลกจากภายนอกนี่ละ)
ไม่มั่นใจว่าตอนนี้เค้ายังมีทัวร์ให้ขึ้นไปปีนอยู่รึเปล่านะคร้าบ เพราะพวกเราเองก็ไม่เคยไปเหมือนกัน 🥲
ถ้าขี่ Segway บนภาคพื้นก็น่าสนใจ
แหล่งอ้างอิงเพิ่มเติม
- หนังสือ Lonely Planet Lonely Planet's Wonders of the World
โฆษณา