5 ก.ค. 2023 เวลา 04:19 • หุ้น & เศรษฐกิจ

ทุกเรื่องต้องรู้ก่อนลงทุนหุ้นจีน สรุปชัดๆ จัดให้เต็มๆ

หุ้นจีนทุกประเภทและช่องทางการลงทุน
บทความนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง Trader KP และ หลักทรัพย์ CGS-CIMB ที่จะให้ความรู้นักลงทุนเกี่ยวหุ้นจีนทุกประเภท และช่องทางการลงทุนหุ้นจีนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ ทั้งในรูปแบบการลงทุนหุ้นรายตัว และดัชนีหุ้นจีนผ่าน ETF และกองทุนรวม เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของการลงทุนในหุ้นจีนแบบครบจบในที่เดียว
บทความเต็ม
[โดย ธีรดา กอศรีลบุตร CFP® นักวางแผนการเงินอิสระ]
📌 ประเภทของหุ้นจีนและตลาดซื้อขาย
หุ้นของบริษัทจีนถูกแบ่งออกเป็น “Share Class” ประเภทต่างๆ โดยในภาพกว้างนั้นสามารถแบ่งกลุ่มประเภทหุ้นได้ตามตลาดหุ้นที่บริษัทนั้นจดทะเบียนเข้าซื้อ-ขาย นั่นคือ ในประเทศ (Onshore) และต่างประเทศ (Offshore) ส่วนในรายละเอียดของแต่ละประเภทหุ้นนั้นยังขึ้นอยู่กับสกุลเงินที่ใช้ซื้อ-ขาย, ประเทศที่จดทะเบียนจัดตั้ง, การควบคุมของภาครัฐ, รวมถึงแหล่งที่มาหลักของรายได้อีกด้วย
📌 หุ้นจีนที่ซื้อ-ขายในตลาดในประเทศ (Onshore)
1
1. A-shares:หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งในจีนแผ่นดินใหญ่ และซื้อขายเป็นสกุล RMB ใน SSE และ SZSE เปิดให้ซื้อขายเฉพาะพลเมืองจีน ส่วนนักลงทุนต่างชาติจะซื้อขายได้ผ่านช่องทาง QFII, RQFII, และ Stock Connect เท่านั้น
2. B-shares: หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งในจีนแผ่นดินใหญ่ และซื้อขายเป็นสกุล USD ใน SSE หรือสกุล HKD ใน SZSE โดยหุ้นประเภท B-shares เริ่มซื้อขายที่ SZSE ครั้งแรกในปี 1992
📌 หุ้นจีนที่ซื้อ-ขายในตลาดต่างประเทศ (Offshore)
1. H-shares: หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งในจีนแผ่นดินใหญ่ จดทะเบียนซื้อขายใน Hong Kong Stock Exchange (HKEx) เป็นสกุล HKD โดยหุ้นประเภท H-shares ตัวแรกที่เริ่มซื้อขายใน HKEx คือ Tsingtao Brewery ในปี 1993
2. Red-chips: หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งนอกจีนแผ่นดินใหญ่ จดทะเบียนซื้อขายใน HKEX และรัฐบาลจีนถือหุ้นด้วย (จึงชื่อว่า Red-chips) เช่น China Mobile จัดตั้งใน Hong Kong แต่ประกอบธุรกิจและมีรายได้หลักจากจีนแผ่นดินใหญ่ ถือหุ้นโดยรัฐบาลจีนกว่า 70%
3. P-chips: หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งนอกจีนแผ่นดินใหญ่ จดทะเบียนซื้อขายใน HKEX และถือครองโดยเอกชน (Private) ทั้งหมด (จึงชื่อว่า P-chips) เช่น Tencent จัดตั้งใน Cayman Islands แต่ประกอบธุรกิจและมีรายได้หลักจากจีนแผ่นดินใหญ่
4. S-chips: หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งนอกจีนแผ่นดินใหญ่ จดทะเบียนซื้อขายใน Singapore Stock Exchange (SGX) เป็นสกุล SGD โดยหุ้นประเภท S-chips ตัวแรกที่เริ่มซื้อขายใน SGX คือ People’s Food Holding ในปี 2001
5. N-shares: หุ้นที่ออกโดยบริษัทที่จัดตั้งนอกจีนแผ่นดินใหญ่ จดทะเบียนซื้อขายใน NYSE, NASDAQ, หรือ NYSE Market เป็นสกุล USD โดยหุ้นประเภท N-shares ตัวแรกที่เริ่มซื้อขายใน NYSE คือ Brilliance China Auto ในปี 1992
6. GDRs ในประเทศอื่นๆ: Global Depositary Receipts หรือ GDRs เป็นตราสารแสดงสิทธิในหุ้นของบริษัทต่างชาติที่ออกโดยธนาคารที่ได้รับอนุญาตซึ่งสามารถซื้อขายได้ผ่านตลาดหุ้นของประเทศนั้นๆ เช่น Baidu Inc และ Alibaba Group จัดตั้งใน Cayman Islands และ DRs ของ Baidu Inc จดทะเบียนเข้าซื้อขายในตลาด NASDAQ และ NYSE ของอเมริกา ภายในชื่อย่อ BIDU และ BABA ตามลำดับ จึงเรียกว่าเป็น ADRs (American Depositary Receipts)
1
บางบริษัทอาจจดทะเบียนหุ้นเป็นหลายประเภทและเข้าซื้อ-ขายในหลายตลาดเพื่อให้เข้าถึงนักลงทุนได้หลากหลายมากขึ้นโดยเฉพาะนักลงทุนต่างชาติ อย่างไรก็ดีกว่า 70% ของบริษัทจดทะเบียนของจีน (ทั้งในด้านจำนวนบริษัทและมูลค่าตลาด) นั้นเป็นหุ้นประเภท A-shares ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาด Onshore ดังนั้นการเข้าถึงการลงทุนในหุ้น A-shares จึงนับเป็นการเปิดกว้างสู่การลงทุนหุ้นจีนอย่างแท้จริง
📌 มูลค่าหุ้นจีนและส่วนแบ่งตามอุตสาหกรรม
จากข้อมูลของ FTSE China Share Class Indexes ที่มีทั้งดัชนีหุ้นจีนครบทุกประเภท (เฉพาะหุ้นที่มีมูลค่าตลาดและสภาพคล่องตามเกณฑ์ของ FTSE Russell ดังนั้นจะไม่ตรงกับข้อมูลของหุ้นจีนทั้งหมดเสียทีเดียว) เมื่อนำมาแบ่งตามกลุ่มธุรกิจหลักที่สำคัญและมูลค่าตลาดในรูปของ Mosaic chart จะช่วยให้นักลงทุนมองเห็นภาพของหุ้นจีนแต่ละประเภทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น [ภาพในหน้า 3]
โดยหุ้นจีนทั้งหมดมีมูลค่าตามราคาตลาดรวม 83 ล้านล้านหยวนโดยประมาณ และมีสัดส่วน A-shares คิดเป็น 77% ของหุ้นจีนทั้งหมด ณ 21 มิถุนายน 2566
1
📌 กระดานซื้อขายหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่และดัชนีสำคัญ
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นในจีนแผ่นดินใหญ่เริ่มก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1891 และต่อมาได้มีการควบรวมเป็น Shanghai Stock Exchange ในปี 1928 แต่ต้องหยุดดำเนินการไปตั้งแต่ปี 1950 หลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน จนกระทั่งกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งชาติจีน (PBOC) ได้เห็นชอบให้มีการจัดตั้ง Shanghai Stock Exchange (SSE) กลับมาดำเนินการใหม่ตอนปลายปี 1990 พร้อมกับจัดตั้ง Shenzhen Stock Exchange (SZSE) ในปีถัดมา
จากข้อมูล ณ สิ้นปี 2022 มูลค่าหุ้นในตลาด Shanghai และ Shenzhen รวมกันนั้นสูงถึง $11.4 ล้านล้าน นับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา (NYSE และ NASDAQ มีมูลค่ารวม $40.3 ล้านล้าน) ส่วนตลาดหุ้น Hong Kong หรือ Hong Kong Stock Exchange (HKEX) ซึ่งมีบริษัทจีนจดทะเบียนซื้อขายอยู่ด้วยนั้นก็ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก (มีมูลค่า $4.6 ล้านล้าน) เลยทีเดียว
1
📍 Shanghai Stock Exchange (SSE)
☑️ มีมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด 49.25 ล้านล้านหยวน ณ 21 มิถุนายน 2566
☑️ แบ่งเป็น 2 กระดานซื้อขาย คือ กระดานหลัก (Main Board) และกระดานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเทคโนโลยี (Science and Technology Innovation Board) หรือที่เรียกว่า STAR Market ที่เพิ่งเริ่มซื้อขายในปี 2019 ซึ่งรัฐบาลจีนพยายามพัฒนาขึ้นให้คล้ายกับตลาด NASDAQ ของสหรัฐฯ
1) Main Board ประกอบด้วยหุ้นประเภท A-shares 1,685 บริษัท และ B-shares 44 บริษัท
2) STAR Market ประกอบด้วยหุ้นของบริษัทจดทะเบียน 637 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นบริษัทขนาดเล็ก-กลาง ซึ่งบางบริษัทยังไม่มีกำไร
☑️ ดัชนีหุ้นที่สำคัญในตลาด SSE ที่นักลงทุนควรรู้จัก ได้แก่ SSE Composite Index หรือ SHCOMP, SSE180, SSE50, SSE Mega-Cap, STAR50 และ CSI300 (SSE และ SZSE)
📍 Shenzhen Stock Exchange (SZSE)
☑️ มีมูลค่าหุ้นตามราคาตลาด 33.78 ล้านล้านหยวน ณ 21 มิถุนายน 2566
☑️ แบ่งเป็น 2 กระดานซื้อขาย คือ กระดานหลัก (Main Board) และกระดานตลาดองค์กรเติบโต (GEM: Growth Enterprise Market Board) หรือที่เรียกว่า ChiNext
1) Main Board ประกอบด้วยหุ้นประเภท A-shares 1,517 บริษัท และ B-shares 42 บริษัท
2) ChiNext ประกอบด้วยหุ้นของบริษัทจดทะเบียน 1,276 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทสตาร์ท-อัพ ขนาดเล็ก ซึ่งบางบริษัทที่เข้าจดทะเบียนในปี 2020 เป็นต้นมาเป็นบริษัทที่ยังไม่มีกำไร
☑️ ดัชนีสำคัญของหุ้นในตลาด SZSE ที่นักลงทุนควรรู้จัก ได้แก่ SZSE Composite Index หรือ SZCOMP, SZSE Component, SZSE300, SZSE1000, ChiNext Composite และ CSI300 (SZSE และ SSE)
ปลายปี 2021 ตลาดหุ้นแห่งที่ 3 คือ Beijing Stock Exchange (BSE) ได้เริ่มซื้อ-ขายเป็นครั้งแรก โดย BSE เน้นไปที่บริษัทขนาดเล็ก-กลาง (SMEs) ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับนวัตกรรมของจีน ในปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนซื้อ-ขายอยู่เพียง 198 บริษัท และยังมีข้อจำกัดสำหรับทั้งพลเมืองจีนเองและนักลงทุนต่างชาติว่าต้องผ่านเกณฑ์ที่ตลาดกำหนดเท่านั้นจึงจะสามารถลงทุนใน BSE ได้ เราจึงโฟกัสไปที่ 2 ตลาดแรกเท่านั้น
1
📌 ช่องทางการลงทุนหุ้นจีนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ
เดิมทีนักลงทุนต่างชาติไม่สามารถลงทุนในหุ้นจีน A-shares ได้เลย จนกระทั่งรัฐบาลจีนเริ่มเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในหุ้นจีนที่จดทะเบียนซื้อขายอยู่ในตลาดในประเทศได้เป็นครั้งแรกในปี 2002 โดยเริ่มจากนักลงทุนประเภทสถาบันก่อน แล้วค่อยขยายมาถึงนักลงทุนประเภทบุคคล ซึ่งมีทั้งหมด 3 ช่องทาง
1
1) QFII (Qualified Foreign Institutional Investor) เริ่มในปี 2022 สำหรับนักลงทุนประเภทสถาบันที่ได้รับอนุญาต
2) RQFII (Renminbi Qualified Foreign Institutional Investor) เริ่มในปี 2011 ให้นักลงทุนต่างชาติประเภทสถาบันที่ได้รับอนุญาตสามารถลงทุนเป็นสกุล RMB ได้ด้วย
ตัวอย่างหุ้นที่อยู่ใน QFII/ RQFII ที่นักลงทุนสถาบันสามารถซื้อได้เท่านั้น เช่น CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
3) Stock Connect เป็นจุดเริ่มต้นให้นักลงทุนต่างชาติประเภทบุคคลเข้าถึงการลงทุนในหุ้นจีน A-Shares ที่เป็นไปตามเกณฑ์ที่ได้รับอนุญาต (Eligible Stocks) ได้เป็นครั้งแรก เช่นเดียวกับนักลงทุนประเภทสถาบันด้วย ในขณะเดียวกันก็เปิดให้นักลงทุนจีนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์สามารถลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศได้ด้วย ตัวอย่างหุ้นใน Stock Connect เช่น Ping An Bank ประกันยักษ์ใหญ่เบอร์หนึ่งของจีน
 Shanghai-Hong Kong Stock Connect (เริ่มปี 2014)
 Shenzhen-Hong Kong Stock Connect (เริ่มปี 2016)
 Shanghai-London Stock Connect (เริ่มปี 2019)
 Shenzhen-London Stock Connect (คาดว่าจะเริ่มในปีนี้)
จีนมีการปรับกฏเกณฑ์สำหรับนักลงทุนที่ได้รับอนุญาตทั้งประเภทสถาบันและบุคคลของจีนเองและต่างชาติให้เป็นไปในทางผ่อนคลายมากขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงขยายจำนวนของหลักทรัพย์ที่อยู่ใน Eligible Stocks เพิ่มขึ้นด้วย เช่น หุ้นที่ซื้อขายอยู่ใน STAR Market (ของ SSE) และ ChiNext (ของ SZSE) บางตัวเริ่มเข้ามาอยู่ใน Eligible Stocks สำหรับนักลงทุนต่างชาติประเภทบุคคล จากเดิมที่เปิดให้เฉพาะนักลงทุนประเภทสถาบันเท่านั้น และในปี 2022 ก็ได้เพิ่มให้ซื้อขาย ETFs (Exchange Traded Funds) ได้ด้วย
📌 การลงทุนหุ้นจีนสำหรับนักลงทุนไทยประเภทบุคคล
ในปัจจุบันนักลงทุนไทยประเภทบุคคลที่สนใจลงทุนในหุ้นจีนประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหุ้นรายตัว (Single Stock) หรือดัชนีหุ้น (Equity Indexes) ที่เกี่ยวกับหุ้นจีน (แบ่งตามตลาด, หมวดอุตสาหกรรม, ประเภทหุ้น, ฯลฯ) หรือกองทุนรวมหุ้นจีนก็สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
1) เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ในไทย
☑️ เลือก บล. ที่มีบริการลงทุนหุ้นจีนทาง Stock Connect ผ่านตลาดหุ้นฮ่องกง (HKEX) ได้ อย่างเช่น หลักทรัพย์ CGS-CIMB
☑️ ถ้า บล. นั้นสามารถลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ (NYSE, NASDAQ) ก็จะลงทุนใน N-shares และ ETFs ที่ลงทุนในหุ้นจีนได้ด้วย เช่น BABA, BIDU, MCHI (iShares MSCI China ETF) เป็นต้น
☑️ สามารถลงทุนได้ทั้งหุ้นรายตัว และ ETFs ประเภทต่างๆ ทั้ง Index ETF เช่น CAM CSI300 ETF, Sector ETF (กลุ่มอุตสาหกรรม) เช่น CSOP HS TECH ETF เป็นต้น
☑️ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากจับจังหวะซื้อขายอย่างรวดเร็ว และมูลค่าซื้อขายต่อครั้งค่อนข้างสูง (จึงจะคุ้มค่าธรรมเนียมการโอน/แลก เงิน, ซื้อ-ขาย, ฯลฯ) และรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้
1
2) เปิดบัญชีซื้อขายกองทุนรวมกับบริษัทหลักทรัพย์ (บล.), บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.), บริษัทหลักทรัพย์นายหน้า (บลน.) ในไทย
☑️ เลือก บล./บลจ./บลน. ที่สามารถลงทุนในกองทุนรวม (Mutual Fund) ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นจีน หรือ ETFs หุ้นจีนได้
☑️ การลงทุนหุ้นจีนผ่านกองทุนรวม (และ ETFs) เป็นตัวช่วยให้สามารถลงทุนในหุ้นจีน A-shares ที่น่าสนใจหลายตัวที่ไม่อยู่ในรายชื่อ Eligible Stocks สำหรับนักลงทุนประเภทบุคคลแต่นักลงทุนสถาบันสามารถลงทุนได้ เช่น Contemporary Amperex Technology (CATL) บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่อันดับ1 ของโลก เป็นต้น
☑️ เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ไม่เน้นจับจังหวะซื้อขายแบบรวดเร็ว (เพราะต้องรอ NAV กองทุนวันถัดไป) และมูลค่าซื้อขายต่อครั้งไม่สูง (จะประหยัดค่าธรรมเนียมกว่าการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศ) หรือไม่อยากรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน (เลือกกองทุนที่มีนโยบาย Hedge FX ได้)
หลังจากทำความรู้จักหุ้นจีนทุกประเภทและช่องทางการลงทุนไปแล้ว ในตอนต่อไปเราจะสรุปประเด็นที่นักลงทุนควรเข้าใจเกี่ยวกับประเทศจีน รวมถึงปัจจัย/ข้อมูลและแนวโน้มที่สำคัญที่ควรต้องติดตามสำหรับการลงทุนในหุ้นจีน ซึ่งหนึ่งในตัวช่วยสำหรับนักลงทุนก็คือ การเลือกใช้บริการลงทุนผ่าน บล. ที่เชี่ยวชาญตลาดหุ้นจีน เพื่อช่วยให้เราเข้าถึงข้อมูลและบทวิเคราะห์เจาะลึกสำหรับหุ้นจีนด้วย
📌 หนึ่งในทางเลือก #ลงทุนหุ้นจีน คือบริษัทหลักทรัพย์ CGS-CIMB ที่ให้คุณลงทุนในหุ้นยักษ์ใหญ่ระดับโลก ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นแดนมังกร (A-Share) ผ่านระบบออนไลน์
 
📌ทำไมต้องเลือกลงทุนหุ้นจีนกับ CGS-CIMB
 
1. ความแข็งแกร่งของบริษัทแม่ China Galaxy International ซึ่งเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประเทศจีน
2. บทวิเคราะห์ส่งตรงจากประเทศจีน และข้อมูลข่าวสารในรูปแบบภาษาไทย
3. สามารถซื้อขายหุ้นจีนออนไลน์แบบ real-time
4. เลือกแลกเปลี่ยนเป็นเงินหยวนได้โดยไม่มีขั้นต่ำ
📌 เริ่มต้นลงทุนในหุ้นแดนมังกรได้แล้ววันนี้ เพียงเปิดบัญชีซื้อขายผ่านออนไลน์ ได้ที่
 
📌 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-841-9000 กด 1 และ 4
หรืออีเมล์ bk.cbt@cgs-cimb.com
#TraderKP #หุ้นจีน #เปิดพอร์ตหุ้นจีน #ตลาดหุ้นจีน #เทรดหุ้นจีน #หุ้นAshare
โฆษณา