10 ก.ค. 2023 เวลา 12:30 • ปรัชญา

กรณีการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ

โดย ภก.ดร.จันทรชัย ถวิลพิพัฒน์กุล Ph.D., LLL สถาบันอินทรานส์
ปัญหา
จากเหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 ที่สร้างความเสียหายให้กับระบบทำความเย็นของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ส่งผลให้แกนปฏิกรณ์นิวเคลียร์เกิดความร้อนสูง ทางโรงไฟฟ้าจำเป็นจะต้องสูบน้ำเข้าไปเลี้ยงเพื่อให้เครื่องเย็นลง ส่งผลให้มีน้ำปนเปื้อนปริมาณมหาศาลอยู่รอบๆ ทางโรงไฟฟ้า Tokyo Electric Power Company (TEPCO) จึงตัดสินใจสร้างแทงค์น้ำเพื่อกักเก็บน้ำดังกล่าว และเตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสี 1.33 ล้านตัน ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกภายในเดือนสิงหาคมนี้
การรับมือกับปัญหา มุมมองเชิงระบบ
ประเด็นน้ำปนเปื้อนจากโรงไฟฟ้าคือระบบซ้อนระบบ ดังนั้น ในการรับมือกับปัญหาจึงต้องพิจารณาให้ครอบคลุมในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
รัฐบาลญี่ปุ่น
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศแผนที่จะทยอยปล่อยน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในเดือนสิงหาคมปีนี้
โรงไฟฟ้า TEPCO
โรงไฟฟ้าแห่งนี้ต้องปิด จึงจำเป็นต้องเคลียร์น้ำปนเปื้อนนี้ ปัจจุบันมีน้ำเสียกว่า 1,000 แทงก์ และยังคงผลิตน้ำเสียออกมาถึงวันละ 100 ลูกบาศก์เมตร ซึ่งคาดว่าจะถึงขีดจำกัดที่ 1.3 ล้านลูกบาศก์เมตรในช่วงต้นปี 2024
บทบาท IAEA
สำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) เห็นชอบกับแนวทางนี้ แต่ต้องค่อยเป็นค่อยไปและมีการควบคุม เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
 
กระบวนการบำบัด
น้ำเสียที่ปนเปื้อนจะถูกนำไปกำจัดสารกัมมันตรังสีออก โดยจะมีการตรวจสอบซ้ำหลายครั้งก่อนที่จะปล่อยลงสู่ทะเล แต่ก็ยังมีทริเทียม (Tritium) ซึ่งเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีที่แยกออกจากน้ำได้ยาก หลงเหลืออยู่
ผลกระทบ
จีนและเกาหลีแสดงความไม่พอใจ และว่าแผนดังกล่าวขาดความชอบธรรม ไม่ถูกหลักทางวิทยาศาสตร์และความน่าเชื่อถือ และมิได้หารือกับประเทศเพื่อนบ้าน
ประชาคมในหมู่เกาะแปซิฟิกคัดค้านแผนการระบายน้ำเสียดังกล่าว โดยเกรงว่าว่าจะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อแหล่งอาศัยสัตว์น้ำทะเล
สหภาพแรงงานประมงในฟูกูชิมะมีความกังวลต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียง โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยและผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
การปล่อยน้ำปนเปื้อนดังกล่าวจะสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม มลภาวะ ความปลอดภัย สุขภาพ และผลกระทบของประชาชนในระยะยาว
สรุป
จะเห็นว่าปัญหาการขจัดน้ำปนเปื้อนกัมมันตรังสีเป็นระบบเชิงซ้อน เพราะมีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องมากมายและสัมพันธ์กันอย่างสลับซับซ้อน
ปัญหาในองค์กรก็เช่นกัน ล้วนเป็นระบบเชิงซ้อน การแก้ปัญหาจึงต้องมองให้ออกว่ามีปัจจัยใดบ้างเข้ามาเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างไร การมองภาพเชิงองค์รวมนี้เองเป็นที่มาของทางออกของปัญหาอย่างสร้างสรรค์
ทฤษฎีกาแฟร้อน Coffee Theory ศาสตร์เชิงระบบแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืน
โฆษณา