16 ก.ค. 2023 เวลา 02:30 • อสังหาริมทรัพย์

สรุป โฉนดที่ดิน ครบจบ ในโพสต์เดียว

โฉนดที่ดินเป็นเอกสารสิทธิประเภทหนึ่ง ที่มีความสำคัญมาก
เพราะบ่งบอกว่าเรามีกรรมสิทธิ์ หรือความเป็นเจ้าของในที่ดินแปลงนั้น ๆ หรือไม่
ในโพสต์นี้เรามาดูกันว่า โฉนดฉบับหนึ่งจะมีรายละเอียดอะไรกันบ้าง
โฉนดที่ดินเป็นเอกสารสิทธิที่บอกว่า เรามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้น ๆ ตัวโฉนดทำมาจากกระดาษหนังช้างสีเหลือง โดยบริเวณด้านหน้ามีรายละเอียดแบ่งเป็นหลายส่วน ดังนี้
1. ประเภทเอกสารสิทธิ
2. ตราครุฑ
3. ข้อมูลตำแหน่งที่ดิน
4. ข้อมูลโฉนดที่ดิน
5. ข้อมูลผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินคนแรกและขนาดที่ดิน
6. รูปแผนที่และรายละเอียดอื่น ๆ
7. วันที่ออกโฉนดและลายมือชื่อเจ้าพนักงานที่ดินที่ออกโฉนด
ส่วนด้านหลังของโฉนดจะเรียกบริเวณนี้ว่า "สารบัญจดทะเบียน" หรือพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ส่วนที่บอกประวัติทั้งหมดของโฉนดแปลงนี้ ว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง
3
มาเริ่มกันที่รายละเอียดส่วนแรก
ถ้าเราสังเกตบริเวณมุมขวาบนของโฉนดที่ดิน เราจะพบว่า จะมีข้อความที่อยู่ในวงเล็บ ตรงนี้จะเป็นส่วนที่บอกว่า เอกสารที่เราถืออยู่นั้นเป็นเอกสารอะไร เช่น ถ้าเป็น (น.ส. 4 จ) แสดงว่าเอกสารนั้นเป็นโฉนดที่ดิน แต่ถ้าเป็น (น.ส. 3 / น.ส. 3 ก / น.ส. 3 ข) แสดงว่า เป็นเพียงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดิน ไม่ใช่โฉนดที่ดิน ถ้าเป็น (ส.ป.ก. 4-01) แสดงว่าเป็นหนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน ถ้าเราไม่มั่นใจว่าเอกสารของเราเป็นเอกสารอะไร ให้มาดูตรงนี้จะชัวร์ที่สุด
2
ส่วนตราครุฑที่ปรากฏด้านบนตรงกลางโฉนด ก็สามารถบอกได้เช่นเดียวกันว่าเอกสารนั้นเป็นโฉนดที่ดินหรือไม่ โดยโฉนดที่ดินจะเป็นตราครุฑสีแดง ส่วนสีอื่น ๆ เช่น สีเขียว สีดำ สีฟ้า ไม่ใช่โฉนดที่ดิน อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เอกสารสิทธิของเราจะเป็นตราครุฑสีแดงก็ไม่ได้หมายความว่าเอกสารนั้นจะเป็นโฉนดที่ดินเสมอไป เพราะ ปัจจุบัน หนังสืออนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินหรือ (ส.ป.ก.4-01) ก็ใช้ตราครุฑแดงเช่นเดียวกัน
4
มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะสงสัยกันว่า สิทธิในที่ดินมีหลายประเภท แล้วมันต่างกันอย่างไรบ้าง ถ้าจะสรุปสั้น ๆ ก็คือ "กรรมสิทธิ์" เป็นสิทธิที่เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของอย่างเด็ดขาด ใครก็ตามที่มีสิทธินี้จะทำอะไรกับที่ดินนั้นก็ได้ ส่วน "สิทธิครอบครอง" จะคล้ายกับกรรมสิทธิ์ คือ สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินได้ แต่ก็ยังไม่ถือว่าคนนั้นเป็นเจ้าของในที่ดินแปลงนั้นจริง ๆ
ข้อมูลส่วนนี้จะบอกถึงการสำรวจ รังวัดโฉนดที่ดิน เพื่อระบุตำแหน่งที่ดิน ซึ่งมีข้อมูลที่น่าสนใจ ดังนี้
"ระวางที่ดิน" คือ ชุดตัวเลขที่บอกถึงแผนที่ระวางที่ดิน ซึ่งแผนที่ระวางที่ดินเป็นแผนที่ขนาดใหญ่ที่อยู่ในสำนักงานที่ดิน ทำขึ้นจากภาพถ่ายทางอากาศ ครอบคลุมพื้นที่ทั้งตำบล หรือหลายตำบลในละแวกเดียวกัน
 
"เลขที่ดิน" คือ ชุดตัวเลขที่ใช้ประกอบกับเลขระวาง เพื่อบอกว่าที่ดินอยู่ตำแหน่งไหนในระวางนั้น ซึ่งในระวางหนึ่งจะมีเลขที่ดินไม่ซ้ำกันเลย
 
"หน้าสำรวจ" คือ ชุดตัวเลขที่แสดงลำดับการสำรวจที่ดินในแต่ละตำบล
 
"ตำบล" คือ ระบุว่าที่ดินนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลอะไร
ข้อมูลส่วนนี้จะบอกถึงข้อมูลของโฉนดที่ดิน มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้
"เลขโฉนดที่ดิน" คือ ชุดตัวเลขที่เปรียบเสมือนเลขประจำตัวของที่ดินแปลงนั้น ๆ
 
"เล่ม" คือ ชุดตัวเลขที่ระบุเล่มแฟ้มที่จัดเก็บโฉนดที่ดินแปลงนั้น ๆ ซึ่งเป็นโฉนดคู่ฉบับที่เก็บอยู่ในสำนักงานที่ดิน
 
"หน้า" คือ ชุดตัวเลขที่ระบุหน้าในเล่มโฉนด ใช้ประกอบกับเลข "เล่ม"
 
"อำเภอ" คือ ระบุว่าที่ดินนั้นตั้งอยู่ที่อำเภออะไร
 
"จังหวัด" คือ ระบุว่าที่ดินนั้นตั้งอยู่ที่จังหวัดอะไร
เทียบมาตราส่วนพื้นที่ไทยกับระบบเมตริก
1 ไร่ เท่ากับ 4 งาน
1 งาน เท่ากับ 100 ตารางวา
1 ตารางวา เท่ากับ 4 ตารางเมตร
1 ไร่ เท่ากับ 400 ตารางวา
1 ไร่ เท่ากับ 1,600 ตารางเมตร
1 งาน เท่ากับ 400 ตารางเมตร
ยกตัวอย่างการคำนวณ เช่น ที่ดินมีพื้นที่ 3 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา จะมีพื้นที่เท่ากับ 1,310 ตารางวา หรือ 5,240 ตารางเมตร นั่นเอง
การเทียบระยะทางที่วัดได้บนโฉนดกับระยะทางจริง ทำได้โดยใช้เครื่องมือวัด เช่น ไม้บรรทัด วัดแนวเขตที่ดินบนโฉนด ได้ระยะทางเท่าไร ให้นำมาคูณกับตัวเลขมาตราส่วน
ตัวอย่างการคำนวณ เช่น วัดความกว้างของที่ดินบนโฉนดได้ 2 เซนติเมตร จะได้ว่า ความกว้างจริงของที่ดินเท่ากับ 2 * 2,000 = 4,000 เซนติเมตร หรือ 40 เมตร นั่นเอง
1
วันที่ที่ออกโฉนด
การจดทะเบียนนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่เราคุ้นเคยกัน เช่น ซื้อขาย ขายฝาก ให้ จำนอง นอกจากนี้ยังมีนิติกรรมอื่น ๆ อีก เช่น แลกเปลี่ยน โอนชำระค่าหุ้น โอนตามคำสั่งศาล เวนคืน สอบเขต แบ่งแยก รวมโฉนด เป็นต้น รายละเอียดเหล่านี้จะบันทึกไว้ในช่องประเภทการจดทะเบียน
โฆษณา