23 ก.ค. 2023 เวลา 09:14 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
มหาสารคาม

Cyber Insurance หรือประกันภัยไซเบอร์

ท่ามกลางกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคดิจิทัล จากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น ส่งผลให้ชีวิตประจำวันของผู้คนในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นแต่ก่อน เป็นวิถีแห่งยุคดิจิทัล
การเข้าถึงข้อมูล สื่อสังคมออนไลน์ การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อสินค้าต่าง ๆ ผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากเพียงแค่มีโทรศัพท์ที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้
ในช่วง 2-4 ปี (2563-2566) ที่ผ่านมาหลังจากเกิดสถานการณ์โรค Covid-19 แพร่ระบาด ทำให้ประชาชนทั่วโลกรวมถึงคนไทยได้เปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นแบบ New Normal ทันที ทำให้การออกมาทำกิจกรรมนอกสถานที่ลดลง แต่เมื่อดูเรื่องการจับจ่ายใช้สอยกลับมีมูลค่าสูงขึ้น
อย่างที่ทราบกันดีว่าโลกนี้เชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ต และอัตราการใช้อินเตอร์เน็ตก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทั้งภาคธุรกิจ องค์กรและบุคคลก็เข้ามามีบทบาทมากยิ่งขึ้นในการทำธุรกรรมบนอินเตอร์เน็ต จำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้ดี เพราะมิจฉาชีพมีอยู่มาก ทั้งในด้านออนไลน์และออฟไลน์
ปัญหาที่สำคัญที่ผู้คนในทุกวงการเป็นกังวลมากที่สุด คือ เรื่องอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องและสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายอย่างร้ายแรงอย่างคาดไม่ถึงในระดับภาคธุรกิจและบุคคลทั่วไป ในด้านขององค์กรอาจจะได้รับผลกระทบจากการถูกลักลอบขโมยฐานข้อมูลของลูกค้าและพนักงาน
รวมถึงในด้านของบุคคลเอง มักจะแทรกซึมอยู่กับชีวิตประจำวัน ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนเป็นเรื่องใกล้ตัว เช่น การหลอกให้ทำธุรกรรมการเงิน การช้อปปิงออนไลน์แล้วได้สินค้าไม่ตรงปกหรือไม่ได้รับสินค้าเลย การหลอกชวนให้ลงทุนในตลาดการเงิน เช่น Forex /คริปโต การชวนลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง การลักขโมยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์การค้าขายในตลาดมืดออนไลน์ การชวนเล่นการพนันออนไลน์ อื่น ๆ เป็นต้น ล้วนเป็นภัยอันตรายของโลกไซเบอร์ทั้งนั้น
เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอใช่ไหม ?
นอกจากประโยชน์อันมากมายที่ผู้ใช้ได้รับจากเทคโนโลยีอันทันสมัย ก็ยังมีสิ่งที่แฝงมาด้วยภัยต่างๆมากมายในโลกออนไลน์ที่อาจคุกคามชีวิตและทำให้สูญเสียทรัพย์สินเงินทองได้ง่ายจากเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน และยิ่งเทคโนโลยีมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ความเสี่ยงต่อภัยคุกคามในโลกไซเบอร์ก็ยิ่งมากขึ้น
หลายหน่วยงานทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทยได้ตระหนักถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นนี้ จึงได้ทำการสำรวจและรวบรวมสถิติด้านอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ พบว่า เป้าหมายที่่ถูกโจมตีเป็นอันดับ 1 คือ ภาคอุตสาหกรรม ตามด้วยภาครัฐบาล บุคคลธรรมดา ภาคการศึกษา และที่เหลือเป็นองค์กรต่าง ๆ กลุ่มที่เผยแพร่ข่าวสาร กลุ่มการแพทย์และรักษาสุขภาพ และการเงิน เป็นต้น
สำหรับภาคอุตสาหกรรมที่ถูกโจมตีมากที่สุด นำโดยกลุ่ม Software ,การเงินการธนาคาร,การขายตั๋วออนไลน์,การบริการทางธุรกิจ,ร้านอาหารและค้าปลีก เป็นต้น
ในประเทศไทย : จากข้อมูลของสำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) และศูนย์บริการประชาชนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) โดยแนวโน้มจำนวนผู้มาร้องทุกข์กับศูนย์บริการประชาชนกองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ปี พ.ศ. 2561-2566 มีสาเหตุจาก 3 เรื่องด้วยกัน
อันดับ 1 การให้ร้ายกันในสื่อสังคมออนไลน์
อันดับที่ 2 ความเสียหายจากการถูกแฮก เพื่อปรับเปลี่ยน ขโมย ทำลายข้อมูลคอมพิวเตอร์
อันดับ 3 การหลอกซื้อขายสินค้าและบริการ
** จากสถิติดังกล่าวจะสังเกตได้ว่า รูปแบบของอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน หากไม่นับความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว พบว่าจะมีอยู่ 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ
- การแฮกข้อมูลและการฉ้อโกงออนไลน์ เป็นหลัก ซึ่งพบว่าอาชญากรรมใน 2 รูปแบบนี้มีมูลค่าความเสียหายสูง
คนร้ายมักอาศัยโอกาสจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเอื้อประโยชน์ในการกระทำความผิด หรือปกปิดตัวตนไม่ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถสืบสวนหาตัวคนร้ายได้โดยง่ายจากการใช้ช่องทางต่าง ๆ เช่น การปกปิดตัวตน จากการนำภาพหรือชื่อบุคคลอื่นมาสร้างบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ปลอม หรือใช้บัญชีอวตา (Avatar), การปกปิดที่อยู่ไอพี (IP address), การใช้ช่องทางสกุลเงินดิจิทัล ในการรับทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด หรือการซื้อบัญชีธนาคารจากผู้ที่รับจ้างเปิดบัญชีธนาคาร เป็นต้น
ซึ่งเป็นการสร้างความยุ่งยากให้กับเจ้าหน้าที่ ในการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย
แนวโน้มอาชญากรรมทางเทคโนโลยีในทุกๆ ปี ยังไม่น่าจะแตกต่างไปจากเดิม แต่คนร้ายอาจนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีที่มีอยู่มาใช้มากขึ้น เพียงแค่ปรับเทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ จากช่องโหว่ที่เกิดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการให้ร้ายหรือระรานทางไซเบอร์ (Cyber Bullying)
การหลอกลวงผ่านอีเมล (email scam)
การแฮกเพื่อเอาข้อมูลหรือเงิน ผ่านการลวงให้กด ล่อให้กรอก (Phishing) มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware)
การหลอกลวงขายสินค้า การหลอกรักให้รักทางออนไลน์ (Romance Scam)
การหลอกลวงลงทุน (Hybrid Scam)
การหลอกลวงด้วยการโทรศัพท์โดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์
การหลอกให้ลงทุนในลักษณะแชร์ออนไลน์และแชร์ลูกโซ่
การขูดรีดดอกเบี้ยเงินกู้และการทวงหนี้ในลักษณะผิดกฎหมายจากแก๊งแอปพลิเคชันเงินกู้
การปล่อยข่าวปลอมในโลกออนไลน์เพื่อหวังผลด้านต่าง ๆ (Fake News) เป็นต้น
ภัยไซเบอร์ คืออะไร
“ภัยไซเบอร์” คือ ภัยจากการโจมตีคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งให้เกิดการความเสียหายต่อระบบ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
ปี 2565 นับเป็นปีของภัยไซเบอร์ ภัยคุกคามที่สร้างความเสียหายต่อโลกธุรกิจเป็นมูลค่ามหาศาล แต่ปี 2566 ความเข้มข้นของภัยไซเบอร​์จะยิ่งเพิ่มดีกรีความรุนแรง และซับซ้อนมากขึ้น จับตากระบวนการฟอกเงิน ที่อาศัยพลังของ “แมชชีนเลิร์นนิง”!
แนวโน้มภัยไซเบอร์ปี 66 ???
 
ฟอร์ติการ์ดแล็ปส์ วิเคราะห์ภาพรวมของภัยคุกคามบนไซเบอร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้า และต่อไปในอนาคตที่จะเกิดขึ้นทั่วโลกว่า จากการโจมตีแบบ Cybercrime-as-a-Service (CaaS) หรือ อาชญากรรมไซเบอร์ตามสั่ง ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ไปจนถึงการใช้ประโยชน์รูปแบบใหม่จากเป้าหมายใหม่ๆ เช่น ระบบการประมวลผล (Edge) ที่ปลายทางหรือโลกออนไลน์ต่างๆ
จะเห็นได้ว่าปริมาณ ลักษณะที่หลากหลาย ไปจนถึงขนาดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ยังจะทำให้ทีมด้านซีเคียวริตี้ต้องคอยระมัดระวังและเตรียมความพร้อมเป็นอย่างสูงในการรับมือตลอดทั้งปี 66 และต่อไปในอนาคต
แนวโน้มภัยคุกคามใหม่ปี 2566 และทิศทางในอนาคต จะอยู่ใน 5 กลุ่มหลัก
1. การเติบโตแบบถล่มทลายของการให้บริการ อาชญากรรมบนไซเบอร์ตามสั่ง (Cybercrime-as-a-Service: CaaS)
2. บริการสอดแนมตามสั่ง (Reconnaissance-as-a-Service: Raas) ยิ่งทำให้การโจมตีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. กระบวนการฟอกเงิน (Money Laundering-as-a-Service: LaaS) ที่อาศัยพลังของแมชชีนเลิร์นนิง
4. เมืองเสมือน (Metaverse) และโลกออนไลน์คือพื้นที่ใหม่ที่กระตุ้นให้เกิดอาชญากรรมทางไซเบอร์
5. มัลแวร์ไวเปอร์ (Wiper Malware) ที่ทำลายล้างข้อมูล จะออกอาละวาดให้เกิดการโจมตีแบบทำลายล้างที่หนักกว่าเดิม
ดังนั้นจากความเสียหายที่เกิดขึ้น การทำธุรกรรมออนไลน์จึงไม่ปลอดภัย…
และนี่คือสาเหตุที่ทุกท่านควรเตรียมพร้อมรับมือด้วยประกันภัยไซเบอร์
Cyber insurance คืออะไร ???
คือ นโยบายการประกันภัยที่ช่วยปกป้ององค์กรจากภัยการโจมตีทางไซเบอร์ สามารถช่วยลดผลกระทบระหว่างเกิดเหตุการณ์และหลังเกิดเหตุการณ์ได้ รวมทั้งอาจคุ้มครองไปถึงต้นทุนทางการเงินขององค์กรด้วยธุรกิจที่ใช้ระบบออนไลน์หรือธุรกิจที่มีการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจประกอบไปด้วย ข้อมูลส่วนตัว ราย​ละเอียดการติดต่อของลูกค้าและพนักงาน หรือข้อมูลทางการเงินที่ละเอียดอ่อนและมีโอกาสที่จะถูกโจมตี ​โดย Ransomware เป็นต้น
ประกันภัยไซเบอร์ (Cyber insurance) คือ แผนประกันความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นจากการถูกคุกคาม หรือละเมิดด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ผ่านช่องทางคอมพิวเตอร์ มือถือ ระบบปฏิบัติการซอฟแวร์และฮาร์ดแวร์ เป็นต้น ที่จะช่วยปกป้อง ลดความเสี่ยงและความสูญเสียจากภัยคุกคามของแฮ็กเกอร์ที่จ้องโจรกรรมข้อมูล
ประกันภัยไซเบอร์จะช่วยบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ถูกโจมตี และส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่องค์กรในแบบที่คาดไม่ถึง
โดยจะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถูกโจรกรรมข้อมูลหรือระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย รวมถึงความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายให้กับข้อมูล
ครอบคลุมทั้งจากการจ้างผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบ การกู้ข้อมูล การจ่ายค่าไถ่
การสูญเสียรายได้จากการหยุดชะงักของธุรกิจ และความรับผิดต่อบุคคลภายนอก จากการที่ข้อมูลของลูกค้าสูญหาย รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี การพิสูจน์หลักฐานในกระบวนการสืบสวนและไกล่เกลี่ย อย่างไรก็ดี ความเสียหายบางเรื่องอาจไม่ได้รับความคุ้มครอง เช่น ความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อทรัพย์สินทางปัญญา และการสูญเสียลูกค้าเนื่องจากการเสียชื่อเสียงจากการถูกโจมตี เป็นต้น
ทำไมถึงควรมีประกันไซเบอร์ ???
คปภ.สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ได้กำหนดมาตรฐานหนุนประกันภัยทางไซเบอร์เพื่อช่วยเหลือและคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ความเสียหายจากภัยไซเบอร์เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเป็นภัยใกล้ตัว เมื่อเกิดความเสียหายแล้ว ครั้นจะให้ไปตามเรื่องเองคงทำได้ยาก เพราะระบบหรือเครือข่ายค่อนข้างมีความซับซ้อน ดังนั้น การทำประกันไซเบอร์จะช่วยบรรเทาค่าเสียหายและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ และภัยไซเบอร์ที่คนไทยถูกหลอกมากที่สุดมีดังนี้
1. มิจฉาชีพบน Social Media
2. อีเมลหลอกลวง (Phishing)
3. การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Data Theft)
จากที่กล่าวมาเพื่อชี้ให้เห็นถึงภัยคุกคามท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีในปัจจุบัน จึงเชื่อได้ว่าการประกันภัยไซเบอร์ทั่วโลกจะมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะเมื่อดูแนวโน้มในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกซึ่งประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง และความเสี่ยงจากการใช้จ่ายเงินทางออนไลน์ ที่ภัยคุกคามด้านไซเบอร์ที่ได้ทวีความรุนแรง และมีความสลับซ้อนจนยากที่จะป้องกันได้ทันที ทำให้ประชาชนเริ่มให้ความสนใจและหันมาซื้อประกันภัยไซเบอร์เพื่อปกป้องตนเองมากขึ้น
ประกันไซเบอร์ คุ้มครองอะไรบ้าง
ในด้านความคุ้มครองของประกันไซเบอร์ จะมีการชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงจากการโจมตีหรือการโจรกรรมข้อมูล โดยกรมกรรม์แบ่งความคุ้มครองได้เป็น 2 รูปแบบด้วยกัน คือ
1. การประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัย (First-party insurance)
2. การประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Third-party or liability insurance)
ซึ่งถ้าหากมีการทำประกันภัยทางไซเบอร์ (Cyber insurance) ที่ครอบคลุมอาจช่วยให้องค์กรที่ตกเป็นเหยื่อการโจมตีดังกล่าวบรรเทาค่าเสียหายและรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกรณีถูกโจมตีทางไซเบอร์
รูปแบ​บขอ​งกรมธรรม์
เงื่อนไขการรับประกันภัยเบื้องต้น :
  • 1.
    ธุรกิจของผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ถูกจัดอยู่ในธุรกิจประเภทดังต่อไปนี้
- ธุรกิจให้บริการด้านเครือข่ายสังคม
- ธุรกิจให้บริการด้านเครือข่ายกับวัยผู้ใหญ่ หรือความบันเทิงที่เกี่ยวกับวัยผู้ใหญ่
- ธุรกิจให้บริการแพลตฟอร์มด้านเทรดออนไลน์
- ธุรกิจที่รายได้มาจากการขายออนไลน์ 100%
- ผู้รวบรวมข้อมูล
- ผู้จัดการพนันออนไลน์
- ธุรกิจซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
- ธุรกิจที่ให้บริการด้านการทำธุรกรรมการเงิน
- ธุรกิจที่ให้บริการด้านการทำธุรกรรมชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิต
- ธนาคารหรือบริษัทผู้ให้สินเชื่อ
- เอเย่นต์หรือผู้จัดการส่วนตัวของนักแสดง, นักกีฬา ตลก และบุคคลสาธารณะอื่นๆ
- ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินอิเล็คทรอนิกส์ รวมถึงเหมือง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การระดมทุนผ่านเหรียญดิจิทัล
- ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเตาปฎิกรณ์นิวเคลียร์
- ธุรกิจคอลเซ็นเตอร์, บริการรับสายโทรศัพท์ หรือ การขายสินค้าและบริการทางโทรศัพท์
รูปแบบความคุ้มครอง
2.ผู้เอาประกันภัยรวมถึงบริษัทลูกต้องมีการดำเนินการดังต่อไปนี้
- มีการวางแผนต่อเนื่องทางธุรกิจ และการวางแผนเพื่อกอบกู้ระบบ IT ให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้หลังเกิดภัยพิบัติซึ่งครอบคลุมถึงความเสียหายของระบบ หรือฐานข้อมูลอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
- มีการเข้ารหัสสำหรับชุดข้อมูลที่ได้รับการดูแลเป็นพิเศษ (sensitive data) ที่จัดเก็บในสื่อสำรอง
- มีการรักษาโครงสร้างไฟร์วอลล์เพื่อจำกัดการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตบนระบบภายใน
- มีการติดตั้งและดูแลรักษาระบบ รวมไปถึงการอัพเดทโปรแกรมป้องกัน malware ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
- มีกระบวนการจัดทำการอัพเดท, อัพเกรดและติดตั้งซอฟต์แวร์อย่างสม่ำเสมอเพื่อทดสอบความแข็งแรงของระบบป้องกัน
- มีการสำรองข้อมูลในระบบงานที่สำคัญอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์
- มีการสำรองข้อมูลซ้ำซ้อนในระบบงานที่สำคัญอย่างสม่ำเสมอ
สมาคมประกันวินาศภัยไทย
ตัวอย่างภัยคุกคามทางไซเบอร์ ที่ได้รับความคุ้มครอง
cyfence.com/cyberinsurance
ประโยชน์ของ Cyber Insurance
ลดความเสียหายและควบคุมค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดภัยไซเบอร์ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
- ทางตรง : เกิดความเสียหายทางธุรกิจ และค่าใช้จ่ายที่คาดไม่ถึง
- ทางอ้อม : การสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ ความเชื่อมั่นจากลูกค้า หุ้นส่วน และคู่ค้าทางธุรกิจ
จากแนวโน้มเหตุการณ์ภัยทางไซเบอร์ที่มีจำนวนมากขึ้นและก่อให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง บริษัทรับประกันชั้นนำแห่งนึงได้วิเคราะห์แนวโน้มของค่าเบี้ยประกันภัยในอนาคตไว้ ดังนี้ ผู้ถือกรมธรรม์อาจต้องชำระค่าเบี้ยประกันภัยด้านไซเบอร์เพิ่มขึ้น 20% ถึง 50% ในปี 2564 เนื่องจากแนวโน้มจากการโจมตีประเภท ransomware ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและรุนแรงมากขึ้น
แนวโน้มที่น่าจับตามอง ได้แก่ ข้อผิดพลาดและการเปิดเผยข้อมูลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทาง digital (digital transformation) อย่างรวดเร็วของหลาย ๆ องค์กร ช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ Remote Desktop Protocol Software การถูกเรียกค่าไถ่โดย ransomware และ ความเสี่ยงของ vendor เนื่องจากหลายองค์กรมีการพึ่งพาเทคโนโลยีของ third-party และ back-end application มากขึ้น
ต้องการทำประกันภัยไซเบอร์ : คำแนะนำ
ซึ่งจากข้อมูลแวดล้อมจากต่างประเทศตามที่กล่าวมา ประกันภัยไซเบอร์จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะมีส่วนช่วยจัดการความเสี่ยงภัยให้กับประชาชนในโลกออนไลน์ได้มีความมั่นใจในการซื้อ ขาย และจ่ายเงิน รวมถึงปกป้องความปลอดภัยของตนเองจากการคุกคามของบุคคลภายนอกได้มากขึ้นและจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา ควรพิจารณาเลือกรูปแบบการประกันภัยที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงด้านไซเบอร์ของตน โดยพิจารณาให้ครอบคลุมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นหากถูกโจมตี เช่น
- ความเสียหายจากการถูกละเมิดข้อมูลสำคัญขององค์กร (Data breach and privacy management) เช่น ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการกู้ข้อมูลที่ถูกลักขโมยไป รวมไปถึงค่าใช้จ่ายจากการสืบสวนสอบสวน และค่าใช้จ่ายทางกฎหมายที่จำเป็นอื่น ๆ เป็นต้น
- ความเสียหายจากการถูกละเมิดระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิดโดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ (Multimedia liability coverage) เช่น ความเสียหายอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลหรือตัวเลขบน Website หรือสื่อต่าง ๆ ตลอดไปจนถึงการละเมิดสิทธิทางปัญญา (Intellectual property rights) เป็นต้น
- ความเสียหายจากการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์หรือระบบโครงข่ายหยุดการให้บริการเพื่อเรียกร้องค่าไถ่
- ความเสียหายจากการถูกเจาะระบบโครงข่าย (Network security liability) เช่น ค่าเสียหายอันมีผลมาจากระบบโครงข่ายหยุดการทำงาน รวมไปถึงการโจรกรรมข้อมูลของผู้ไม่ประสงค์ดี เป็นต้น
สำหรับผู้ที่สนใจทำประกันภัยความเสี่ยงภัยไซเบอร์
ประกันไซเบอร์ จากบริษัท 724market
ภัยไซเบอร์ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีความเสียหายเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังยากต่อการที่จะจัดการตามทรัพย์สินคืนด้วยตนเอง การมีประกันไซเบอร์ถือว่าเป็นหลักประกันที่จะช่วยปกป้องจากอาชญากรรมบนโลกออนไลน์ ซึ่งแผนประกันที่น่าสนใจ นั่นก็คือ ประกันไซเบอร์ จากบริษัท 724market ที่จะช่วยคุ้มครองความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้บนโลกออนไลน์ ทั้งต่อตัวบุคคล ทรัพย์สิน และอุปกรณ์ต่างๆ
โดยความคุ้มครองที่ได้รับจะเป็นในด้านของการโจรกรรมเงินออนไลน์ ซื้อสินค้าออนไลน์ และขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์และเป็นภัยใกล้ตัวที่สามารถพบเจอได้ง่าย โดยราคาเริ่มต้นก็เบาๆ เพียง 200 บาท/ปี
* สำหรับท่านใดที่สนใจสามารถเข้าเว็บไซต์บริษัท 724market เพื่อเปรียบเทียบแผนประกันภัยที่ต้องการและสั่งซื้อได้ทันที สะดวก รวดเร็ว และคุ้มครองทันทีที่ทำประกัน
*ทั้งนี้ เงื่อนไขอาจเป็นไปตามที่บริษัทประกันภัยแต่ละบริษัทกำหนดขึ้น ผู้สนใจจะต้องทำการศึกษาข้อมูลและเงื่อนไขของแต่ละบริษัทอีกครั้งหนึ่งก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง
โลกออนไลน์ที่ถูกเชื่อมต่อด้วยอินเตอร์ถือว่ามีความรวดเร็ว สะดวกสบาย จะทำธุรกรรมอะไรก็ง่ายไปหมด แต่ในทุกวันนี้มิจฉาชีพมีมากขึ้น จำเป็นต้องมีการระแวดระวังเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ แม้ว่าจะระวังแค่ไหน มิจฉาชีพก็สรรหากลโกงมาหลอกลวงได้เสมอ การทำประกันไซเบอร์ถือว่าเป็นตัวช่วยรองรับความเสี่ยงที่จะถูกหลอก หากเกิดความเสียหายแล้ว ก็ยังมีประกันช่วยชดเชยค่าเสียหายและดำเนินการแก้ไขปัญหา ช่วยให้ทำธุรกรรมต่างๆ ได้อย่างไร้กังวล
สนใจศึกษาแผนประกัน คลิกลิ้งได้เลย...
#ประกันภัย
#ประกันวินาศภัย
#พรบ.ไซเบอร์ #กฏหมายคอมพิวเตอร์
#กฏหมายไทย #ประกันไซเบอร์
#deeoneshop02 #คปภ.
#สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
#ตัวแทนประกันวินาศภัย
#นายหน้าประกันวินาศภัย
#ประกันภัยรถยนต์ #บริษัทศรีกรุงโบรคเกอร์จำกัด
#724insure
โฆษณา