Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ณัฐมาคุย
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
24 ก.ค. 2023 เวลา 07:50 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
Demon Core: แก่นปีศาจที่เกือบทำลายล้างสหรัฐอเมริกา
หลายๆ คนคงได้ไปดูหนัง Oppenheimer ของ Christopher Nolan กันบ้างแล้ว วันนี้เลยอยากมาเล่าเรื่องอุบัติเหตุของ Manhattan Project บ้าง และก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของ Demon Core
ในช่วงการวิจัยของ Manhattan Project นั้น มนุษย์เรามีความเข้าใจเกี่ยวกับปฏิกิริยานิวเคลียร์น้อยกว่าทุกวันนี้มาก และด้วยความรีบเร่งที่จะทำระเบิดนิวเคลียร์ให้ได้สำเร็จ เพื่อใช้ในสงครามโลก เพื่อสู้กับฝ่ายอักษะ ซึ่งนำโดยเยอรมนี และญี่ปุ่นในเวลานั้น นักวิทยาศาสตร์จึงต้องรีบทำการศึกษา และค้นคว้าให้เร็วที่สุด
ในเดือนธันวาคม ปี 1942 มนุษย์ได้ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่เป็นครั้งแรก โดย Enrico Fermi นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลที่นำโครงการนี้อยู่ที่ Chicago University ได้ทำการสร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูขึ้นเป็นครั้งแรก
โดยใช้ชื่อว่า Chicago Pile-1 ซึ่งใช้ graphite เป็น moderator ทำให้ neutron ที่ปล่อยออกมาจาก uranium นั้นช้าพอที่จะวิ่งชนอะตอมของ uranium ข้างเคียง แตกตัว (fission) เป็นธาตุอื่นสองตัว และปล่อย neutron ออกมามากพอ จนเกิดสภาวะวิกฤติ (criticality) ที่ปฏิกิริยา fission นี้สามารถที่จะเกิดต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ (chain reaction) ไปเองได้
ความสำเร็จครั้งนั้น ทำให้สหรัฐอเมริการู้ถึงความน่ากลัวของระเบิดปรมาณู และปัญหาที่จะตามมา หากเยอรมนีสามารถทำระเบิดนิวเคลียร์ได้สำเร็จก่อน (เตานี้อยู่ในฉากหนึ่ง ของหนัง ตอนที่ Oppenheimer ไปเยี่ยม Enrico Fermi และ Leo Szilard)
1
แต่ปฏิกิริยาลูกโซ่ดังกล่าว ยังไม่มีใครทราบว่า เกิดขึ้นได้ง่ายยากเพียงใด รู้แต่ว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความบริสุทธิ์ของธาตุกัมมันตรังสี ชนิดของธาตุ อุณหภูมิ ความดัน เป็นต้น แต่ความเร่งรีบก็ได้ทำให้โครงการสามารถสร้างระเบิดนิวเคลียร์ขึ้นมาได้ หลังจากการทดลอง Trinity Test และประธานาธิบดี Henry S Truman ก็ได้สั่งทำแก่นของระเบิดนิวเคลียร์เตรียมเอาไว้ โดยทำจาก uranium 1 ลูก และ plutonium 2 ลูก
หลังจากการทิ้งระเบิดที่ Hiroshima และ Nagasaki จนทำให้ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามในวันที่ 15 สิงหาคม ปี 1945 จึงทำให้แก่นของระเบิดนิวเคลียร์ที่ทำจาก plutonium ไม่ได้ถูกใช้ แก่นนี้ถูกทำขึ้นจาก plutonium บริสุทธิ์น้ำหนัก 6.2 กิโลกรัม
1
ห้องแลบของ Los Alamos ซึ่งมีการจัดตั้งแผนกวิจัยเกี่ยวกับการทำให้เกิดสภาวะวิกฤติ จึงได้นำแก่นนี้มาทดลองเพื่อให้เข้าใจกับสภาวะวิกฤติได้ดีขึ้น
ในวันที่ 21 สิงหาคม ปี 1945 Harry K. Daghlian นักฟิสิกส์วัน 24 ปีได้ทำการทดลองแก่นนี้ กับแท่ง tungsten carbide ซึ่งมีคุณสมบัติในการสะท้อน neutron ที่ดี เพื่อที่จะหาวิธีที่จะใช้ plutonium ในการจำนวนที่น้อยลง แต่ยังสามารถทำให้เกิดสภาวะวิกฤติได้
2
วันนั้น ระหว่างที่เขากำลังวางแท่งโลหะซ้อนกันจนระบบเข้าใกล้สภาวะวิกฤติจนสัญญาณเตือนขึ้น เขาจึงดึงมือที่คีบแท่งโลหะดังกล่าวออก แต่ความซวยก็บังเกิดขึ้นเมื่อแท่งโลหะดังกล่าวกลับหลุดร่วงไปโดนแก่นดังกล่าว ทำให้เกิดสภาวะวิกฤติขึ้นทันที โชคดีที่เขารีบตัดสินใจที่จะทลายแท่งโลหะดังกล่าวลง เพื่อที่จะหยุดปฏิกิริยาลูกโซ่ไว้ได้อย่างหวุดหวิด แต่เขาก็ได้เสียชีวิตลงในอีก 25 วันถัดมา
3
อุบัติเหตุในครั้งนี้ทำให้มีการทบทวนความปลอดภัยของการทดลองขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนในการทดลองให้มีการตรวจสอบ และต้องมีผู้ทดลองอย่างน้อยสองคน
1
เพื่อนร่วมงานของเขาอีกคนหนึ่ง Louis Slotin ที่บ้าบิ่นอย่างมากในการทดลองต่าง ๆ อย่างมาก จน Richard Feynman บอกว่า การทดลองเหล่านี้ไม่ต่างกับการสะกิดหางมังกรที่หลับอยู่ แต่ในที่สุด Slotin ก็เป็นกำลังสำคัญหลักในการประกอบแก่นระเบิดนิวเคลียร์ในการทดลอง Trinity Test ในภายหลังก็ได้รับช่วงต่อการทดลองดังกล่าว และนำมาสู่อุบัติเหตุอีกครั้งกับแก่นระเบิดอันเดียวกันนี้
2
ในวันที่ 21 พฤษภาคม ปี 1946 เขาได้ทำการทดลอง โดยมีนักวิทยาศาสตร์อีก 7 คนชมการทดลองดังกล่าว ซึ่งทดลองเปลือกครอบครึ่งทรงกลม 2 ชิ้นที่ทำจากธาตุ beryllium ซึ่งมีความสามารถในการสะท้อน neutron เหมือนกัน
แทนที่จะใช้แผ่นลิ่มในการรักษาระยะห่างระหว่างโดมครึ่งทรงกลมทั้งสอง เพื่อระวังไม่ได้เกิดสภาวะวิกฤติ เขากลับบ้าบิ่น และใช้ไขควงหัวแบนในการรักษาระยะห่างแทน
1
แน่นอนที่สุด ความซวยบังเกิดเป็นครั้งที่สอง เมื่อเขาทำโดมบนหลุดจากไขควง ทำให้โดมบน และโดมล่างปิดเข้าหากัน ทำให้เกิดสภาวะวิกฤติ จนมีแสงสีฟ้า และคลื่นรังสีความร้อนแผ่ออกมาจนคนในห้องรู้สึกได้ ส่วน Slotin รู้สึกถึงรสเปรี้ยวในปาก และแสบร้อนที่มือซ้ายของเขา เขาจึงได้ขยับมือซ้ายของเขา และทำให้โดมบนหลุดออก และตกลงบนพื้น จนปฏิกิริยาลูกโซ่หยุดลง
แต่ด้วยปริมาณรังสีที่เขาได้รับ ก็ทำให้เขาเสียชีวิตในอีก 9 วันถัดมา ส่วนเพื่อนร่วมงานของเขาที่อยู่ใกล้แก่นที่สุด โชคยังดีที่อยู่หลัง Slotin จึงได้รับรังสีที่น้อยกว่าพอสมควร ส่วนคนอื่นก็อยู่ห่างออกไปพอสมควร จึงมีชีวิตรอดมาได้อีกหลายปี
และด้วยอุบัติเหตุทั้งสองนี้ ทำให้แก่นดังกล่าวถูกเรียกกันว่า demon core และแทนที่แก่นดังกล่าวจะถูกทำไปใช้ในการทดลองระเบิดครั้งที่สามที่ Bikini Atoll Island การทดลองจึงต้องถูกยกเลิก เมื่อพบว่า แก่นดังกล่าวมีอุณหภูมิที่สูงเกินไป และต้องเลื่อนการทดลองออกไปก่อน
1
และในที่สุด แก่นดังกล่าวจึงไม่มีใครทำอะไรกับมัน และถูกหลอมไปทำแก่นอันใหม่แทน เป็นการสิ้นสุดตำนานของแก่นปีศาจอันนี้
2
ป.ล. การทดลองที่ Bikini Atoll Island นี้ ทำให้ผู้คิดค้นชุดว่ายน้ำสองชิ้นคนหนึ่ง Louis Réard เอาชื่อ Bikini มาตั้งเป็นชื่อชุดว่ายน้ำของเขา จนดังเป็นพลุแตกในระยะเวลาอันสั้นเป็นเหมือนปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกาะแห่งนั้นนั่นเอง
6 บันทึก
15
2
6
15
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย