3 ส.ค. 2023 เวลา 03:34 • หุ้น & เศรษฐกิจ

การค้า-การลงทุน และ การท่องเที่ยว ไทย - จีน ๒๕๖๖

'การค้า-การลงทุน' และ 'การท่องเที่ยว' ๒ มิติน่าสนใจของความสัมพันธ์ไทย – จีนยุคปัจจุบัน
เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า “จีน” เป็นประเทศมหาอำนาจใหม่ทางเศรษฐกิจ ที่มีอิทธิพลกับทั้งประเทศในอาณาบริเวณโดยรอบและประเทศอื่น ๆ ในอีกซีกหนึ่งของโลกในหลากหลายมิติ นอกเหนือจากภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่น “Lost in Thailand” ที่เคยมาถ่ายทำในไทย หรือแม้กระทั่งภาพยนตร์เรื่อง “สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รัก”
1
ภาพยนตร์ไทยที่ถือเป็น Soft Power ที่สร้างชื่อเสียงในจีนมาแล้ว จีนยังมีความน่าสนใจในอีกหลายด้าน ซึ่งผู้เขียนขอถ่ายทอดให้ท่านผู้อ่านได้มาเจาะลึกไปพร้อม ๆ กันค่ะ (ชมการสัมมนาย้อนหลังได้ที่ Facebook Chinese-Thai Institute of Rangsit University https://www.facebook.com/ctirsu/videos/179244341756453/)
มิติการค้าการลงทุนที่น่าจับตามองในความสัมพันธ์ไทย – จีน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นวรัตน์ ภักดีคำ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวถึง พื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนว่า ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศมีความแข็งแกร่งมาก โดยเฉพาะระดับประชาชนต่อประชาชน โดยมิติความสัมพันธ์ที่ไทยให้ความสำคัญแบ่งออกเป็น ๓ ด้านหลัก ได้แก่ (๑) การค้า-การลงทุน (๒) โครงสร้างพื้นฐาน (กายภาพ/ดิจิทัล) และ (๓) การท่องเที่ยว
(ซ้าย) ดร.อาร์ม ตั้งนิรันดร อาจารย์ด้านกฎหมายกับการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (กลาง) ผศ. นวรัตน์ ภักดีคำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ขวา) นางสาวพินทุ์สุดา ชัยนาม เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง และเจ้าหน้าที่อาวุโสกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง กระทรวงการต่างประเทศ (จอภาพ) รศ.ดร. ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
โดยมิติการค้าการลงทุนเป็นหนึ่งในมิติที่น่าจับตามอง ซึ่งหากวิเคราะห์ลึกลงไป จะเห็นได้ว่า ในอดีต จีนมองยุโรปเป็นตลาดสำคัญด้านการค้าขาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป จีนหันมาให้ความสำคัญกับประเทศกำลังพัฒนาต่าง ๆ มากขึ้น เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ หรือทวีปแอฟริกา รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในกลุ่มดังกล่าว
ซึ่งรองศาสตราจารย์ ดร. ปิติ ศรีแสงนาม ผู้อำนวยการบริหาร มูลนิธิอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย และรองศาสตราจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน จีนค้าขายกับ ๑๓๕ ประเทศทั่วโลก โดยจีนเป็นคู่ค้าอันดับที่ ๑ หรือ ๒ ของประเทศส่วนใหญ่ ทำให้มีการใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐน้อยลง
สำหรับประเทศไทย มูลค่าการนำเข้าผลไม้จากไทยของจีนคิดเป็นมูลค่ากว่า ๖,๔๔๕ ล้านบาท ในช่วงปี ๒๕๖๔ ถือว่ามีมูลค่าสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศผู้นำเข้าอื่น ๆ รวมถึงชิลี เวียดนาม อเมริกา และฟิลิปปินส์ ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ นวรัตน์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในช่วงปี ๒๕๖๓-๒๕๖๔ จีนนำเข้าผลไม้จากไทยถึง ๒๒ ชนิด เช่น ทุเรียน ลำไย มะม่วง ชมพู่ และยังนำเข้าผลไม้จากประเทศอื่นด้วยเช่นกัน เช่น ลาว มาเลเซีย เวียดนาม และเมียนมา อย่างไรก็ตาม เห็นได้ชัดว่าผลไม้ไทยยังคงได้รับความนิยมสูงสุดในจีน
ที่มา: https://www.istockphoto.com/tatisol
รถไฟ จีน-ลาว: จุดเปลี่ยนสำคัญทางการค้า
หากไทยมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มดุลทางการค้าให้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ดร. อาร์ม ตั้งนิรันดร อาจารย์ด้านกฎหมายกับการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ข้อเสนอแนะที่อาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในด้านการค้าของไทย ได้แก่ “รถไฟ จีน-ลาว” ที่จะมีส่วนช่วยทำให้เกิดความเชื่อมโยงของการค้าในแถบชายแดนมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม ไทยอาจต้องคำนึงถึงคำถามสำคัญเกี่ยวกับผลกระทบของการค้าไร้พรมแดน เช่น สินค้าจีนจะเข้ามาในไทยมากเพียงใด ผู้ประกอบการไทยจะเสียดุลการค้าหรือไม่ และผู้ประกอบการไทยจะใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) และเทคโนโลยีในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างไร
นักท่องเที่ยวจีนกับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหลังโควิด–๑๙
ไม่เพียงแค่ด้านการค้าเท่านั้นที่มีความสำคัญต่อประเทศ แต่รายได้หลักของไทยเกือบร้อยละยี่สิบของ GDP มาจากภาคการท่องเที่ยว ทั้งนี้ เพราะไทยมีสถานที่ต่าง ๆ มากมายที่น่าสนใจและดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกเดินทางมาท่องเที่ยว แต่ช่วงสถานการณ์การระบาดโควิด–๑๙ ที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และทำให้นักท่องเที่ยวจีนที่เดินทางมาท่องเที่ยวไทยอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก
หลังการระบาดของโรคโควิด–๑๙ การท่องเที่ยวของไทยกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว พร้อมกับความหวังว่านักท่องเที่ยวจีนจะเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยมาก และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวค่ะ
“จีน” ถือเป็นหนึ่งประเทศที่ทั่วโลกต่างจับตามองและให้ความสำคัญ นอกจากนั้น “จีน” ยัง เป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อหลายทุกภูมิภาคในประเด็นที่เป็นความท้าทายร่วมกันของโลก ดังนั้น การที่ไทยดำเนินความสัมพันธ์อันดีและใกล้ชิดกับจีนจะทำให้ประเทศไทยแสวงหาโอกาสหลากหลายที่อยู่ในมิติต่าง ๆ
ของความสัมพันธ์ไทย-จีนได้ไม่ยากเลยค่ะ
ที่มา: https://www.istockphoto.com/Audy_indy
ที่มา: https://www.istockphoto.com/Arisara_Tongdonnoi
โฆษณา