28 ก.ค. 2023 เวลา 01:33 • การศึกษา
Charifkub old Blog

เรียนยังไงไม่ให้โดนรีไทร์

โดย
  • ​รีไทร์ (Retire) คืออะไร?
คำว่ารีไทร์ตรงนี้มาจาก Retire ที่แปลว่าเกษียณ
แต่ถ้าพูดในมหาลัย
จะหมายถึงการเชิญออกในกรณีที่บุคคลนั้นมีผลการเรียนเฉลี่ยรวมไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กำหนด การรีไทร์จะแบ่งออกเป็น 3 กรณีหลักๆ
(ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของแต่ละมหาลัยด้วย)
1. นิสิต/นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หากมีผลการเรียนเฉลี่ยรวมใน 2 เทอมแรกน้อยกว่า 1.80 จะถูกรีไทร์ (ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของแต่ละมหา’ลัยว่ากำหนดไว้เท่าไหร่) เช่น ปี 1 เทอม 1 ได้เกรดเฉลี่ย = 2.00 ปี 1 เทอม 2 ได้เกรดเฉลี่ย = 1.50 เกรดเฉลี่ยรวม = 1.75 ในกรณีนี้สามารถถูกรีไทร์ได้นั่นเอง
2. นิสิต/นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป ผ่านการเรียนในช่วงปี 1 ไปแล้ว แต่ก็ยังต้องรักษาเกรดเฉลี่ยของตนเองไว้ เพราะหากในเทอมถัดๆ มา มีผลการเรียนที่ดึงเกรดเฉลี่ยรวมลงไปต่ำกว่า 2.00 จะถูกรีไทร์ได้ เช่น
ปี 1 เทอม 1 ได้เกรดเฉลี่ย
= 3.00 ปี 1 เทอม 2 ได้เกรดเฉลี่ย = 3.00 ปี 2 เทอม 1 ได้เกรดเฉลี่ย = 2.50 ปี 1 เทอม 2 ได้เกรดเฉลี่ย = 1.80 เกรดเฉลี่ยรวม 1.82 ในกรณีนี้อาจจะถูกรีไทร์ได้
(ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของแต่ละมหาลัยว่ากำหนดไว้เท่าไหร่ หรือ จะให้ติดโปรไว้ก่อนเพื่อพิจารณาในเทอมถัดไปอีกครั้ง)
** ติดโปร คือ การโดนวิทยาทัณฑ์ หากไม่สามารถรักษาเกรดได้ตามช่วงเวลาที่กำหนด จะถูกรีไทร์ทันที **
3. นิสิต/นักศึกษาที่เรียนเกินกำหนดของทางคณะ เช่น คณะ/สาขามีหลักสูตรต้องเรียนจบภายใน 4 ปี ถ้าหากยังไม่จบภายใน 4 ปีนั้น ต้องเรียนให้จบภายในระยะเวลา 2 เท่าของหลักสูตร ก็คือ ไม่เกิน 8 ปี หากเกินมากกว่านั้นจะถูกรีไทร์ทันที
  • เรียนยังไง ไม่ให้โดนรีไทร์
  • เข้าเรียนทุกคาบ ตามงานให้ครบ
เป็นสิ่งแรกๆ ที่ไม่ว่าจะเป็นรุ่นพี่ หรือ อาจารย์ แนะนำน้องๆ สำหรับการเรียนมหา’ลัย เพราะถ้าหากเราเข้าเรียนทุกคาบ และตามงานครบ เราก็มีโอกาสที่จะไม่เสี่ยงติด F ในรายวิชานั้นถึง 50% แล้ว
(ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของผู้สอนในรายวิชานั้นๆ ด้วย) หรือถ้าหากน้องๆ มีเหตุจำเป็นที่ต้องขาดเรียน เมื่อกลับมาเรียนแล้ว
ควรที่จะตามงาน และทวนเรื่องที่เรียนกับเพื่อนๆ ในวันที่เราขาดเรียนไปจะได้ตามทัน
พอถึงวันที่จะสอบจะได้ไม่หนักเกินไปสำหรับเรานั่นเอง
  • วิชาไหนเสี่ยง เลี่ยงไว้ก่อน
หากมีวิชาไหนที่น้องๆ รู้สึกว่าเรียนไปแล้วเทอมนี้เราน่าจะไม่ไหวแน่ๆ น้องๆ สามารถลด/ถอนรายวิชานั้นได้ เพื่อไปลงในเทอมถัดไป ตามแพลนที่น้องๆ ได้วางไว้ และลด/ถอนตามช่วงเวลาที่กำหนดของทางมหาลัย ในกรณีนี้จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
  • รูปแบบที่ 1
ลดรายวิชา น้องๆ สามารถทำได้หลังจากเรียนไปแล้วไม่เกิน 2 สัปดาห์
(ขึ้นอยู่กับทางมหาลัยกำหนด) เมื่อลดแล้ว จะไม่ถือว่าเป็นการถอน ผลการเรียนในรายวิชานี้จะไม่ขึ้น W ในใบทรานสคริปต์ เพราะยังอยู่ในช่วงที่ทาง
มหาลัยกำหนดให้ลดรายวิชาเรียนได้ ในกรณีที่น้องๆ รู้ตัวเองไว
  • รูปแบบที่ 2
ถอนรายวิชา น้องๆ สามารถทำได้หลังจากพ้นช่วงการลดรายวิชา ในกรณีนี้จะปรากฎ W ในใบทรานสคริปต์ แต่ไม่มีผลต่อเกรดเฉลี่ยรวม ที่สำคัญคือ น้องๆ ต้องดูว่าเราสามารถถอนรายวิชาได้ถึงช่วงไหน
บางมหาลัยกำหนดไว้ว่า สามารถถอนได้ช้าสุดคือก่อนสอบกลางภาคหรือปลายภาค หากหลังจากนั้นน้องๆ จะไม่สามารถถอนได้แล้วนั่นเอง
  • Tips :
น้องๆ ไม่สามารถลด/ถอนในบางรายวิชาได้ เช่น วิชาบังคับในแต่ละเทอม น้องๆ ควรศึกษาเกณฑ์ของทางมหาลัยเพิ่มเติมเพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์ของตนเอง
  • ข้อควรระวัง!
บางมหาลัยมีข้อกำหนดว่า “หากปรากฎ W (ถอน)
ในผลการเรียน อาจจะไม่ได้รับเกียรตินิยม” ในกรณีที่น้องๆ มีผลการเรียนดีอยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับเกียรตินิยม
  • ทบทวนก่อนสอบ
การทวนหลังเรียน ติวก่อนสอบ ไม่ว่าจะอ่านหนังสือทวนเอง หรือ จะติวกับเพื่อน ก็เป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะทำให้น้องๆ สามารถทำคะแนนสอบได้ออกมาเป็นที่น่าพอใจ หาเวลาว่างซักนิดเพื่อทวนในแต่ละรายวิชา เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อรู้ว่ามีสอบ ดีกว่าไปอัดทั้งหมดก่อนสอบ ไม่งั้นจะหนักไปจนเราไม่สามารถจำได้ทั้งหมด
  • Tips :
ถ้าไม่รู้ว่าควรอ่านอะไรก่อน เราอาจจะเริ่มทวนจากวิชาที่เราไม่มั่นใจมากที่สุดแล้วไล่ลงมาเป็นวิชาที่เราค่อนข้างมั่นใจ แล้วพอถึงช่วงใกล้วันที่จะสอบก็อ่านทวนวิชาที่จะต้องสอบก่อน
Credit :
👇
โฆษณา