1 ส.ค. 2023 เวลา 00:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ

พิษดอกเบี้ยขาขึ้นฉุด ‘นาฬิกาหรู’ ถดถอยครั้งใหญ่ ราคาดิ่งกว่า 32%

ตั้งแต่ปลายปี 2565 บทวิเคราะห์จากวอลล์สตรีท (Wall Street) ต่างเต็มไปด้วยการคาดการณ์ถึงการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่จะสร้างความเสียหายให้กับเศรษฐกิจและตลาดหุ้นสหรัฐ อย่างไรก็ตามสภาวะทางเศรษฐกิจดังกล่าวยังกระทบ "ตลาดนาฬิกาหรูมือสอง" อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ด้วย
1
โดยดัชนีวอตช์ชาร์ตส โอเวอร์ออล มาร์เก็ต (The WatchCharts Overall Market Index) ซึ่งติดตามราคาของนาฬิกา 60 เรือนจากแบรนด์ชั้นนํา เช่น Rolex, Patek Philippe และ Audemars Piguet ปรับตัวลดลง 32% จากจุดสูงสุดในเดือนมี.ค. 2565 ขณะที่ดัชนีเฉพาะสําหรับ Rolex เพียงรุ่นเดียวลดลง 27% ในช่วงเวลาเดียวกัน
ทั้งนี้ นโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดของเฟด ในช่วง 5 ไตรมาสที่ผ่านมา ถูกมองว่าเป็นสาเหตุสําคัญที่ทําให้ราคานาฬิกาตกต่ำ โดยอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นกระตุ้นให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับ สภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) จนนักลงทุน และประชาชนลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย และออมเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ การชะลอตัวของตลาดคริปโทเคอร์เรนซี จากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยก็ส่งผลกระทบต่อความต้องการนาฬิกาเช่นกัน
1
โดยตามข้อมูลของ วอตช์ชาร์ตส พบว่า นาฬิกาที่มีราคาแพงที่สุด ได้รับความเดือดร้อนจากการย่อตัวลงของดัชนีครั้งนี้ โดยนาฬิกาหรูที่อยู่ในช่วงราคา 50,001-100,000 ดอลลาร์ ลดลงมากกว่า 15% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่กลุ่มราคา 10,001-20,000 ดอลลาร์ ลดลง 10.4% ขณะที่กลุ่มราคา 5,001-10,000 ดอลลาร์ ลดลง 6.8%
น่าสนใจว่า นาฬิกาหรูมีผลการดําเนินงานต่ำกว่าตลาดหุ้นตั้งแต่เดือนมี.ค. 2565 เมื่อเฟดเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ย เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีเอสแอนด์พี 500 (S&P 500 ) ของหุ้นขนาดใหญ่ของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นประมาณ 8% ตั้งแต่นั้นมา
ทั้งนี้ นาฬิกาแบบโครโนมิเตอร์บางยี่ห้อได้รับแรงกดดันมากกว่ายี่ห้ออื่น โดยดัชนีตลาด Rolex ซึ่งติดตามรุ่นที่มีมูลค่ามากที่สุด 30 อันดับแรกลดลง 12.5% จากปีที่แล้ว ในขณะที่ดัชนี Patek Philippe ลดลงถึง 18% อย่างไรก็ตาม Audemars Piguet ย่อตัวลงลึกที่สุดถึง 20% เมื่อเทียบเป็นรายปี
อย่างไรก็ตาม ตามรายงานของบอสตัน คอนเซ้าติ้ง กรุ๊ป (Boston Consulting Group) พบว่า หากย้อนกลับไปในช่วงต้นปี 2565 ราคาของ Rolexes, Patek Philippes และ Piguets แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยยอดขายนาฬิกามือสองสูงถึง 2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2564 หรือราว 1 ใน 3 ของตลาดนาฬิกาหรูมูลค่า 7.5 หมื่นล้านดอลลาร์
1
แม้จะมีการลดลงในช่วงที่ผ่านมา แต่ราคาปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบในระยะยาวซึ่งเพอร์ฟอร์มดีกว่าตลาดหุ้น โดยดัชนี Rolex เพิ่มขึ้นมากกว่า 55% จาก 5 ปีที่แล้ว
"นาฬิกาหรูทําผลงานได้ดี โดยเฉพาะในระยะยาว เมื่อเปรียบเทียบกับประเภทการลงทุนแบบเดิม โดยตั้งแต่เดือนส.ค. 2561 ถึงม.ค. 2566 ราคาเฉลี่ยในตลาดมือสองสําหรับรุ่นท็อปจากแบรนด์หรูที่ใหญ่ที่สุดสามแบรนด์ ได้แก่ Rolex, Patek Philippe และ Audemars Piguet เพิ่มขึ้นในอัตราปีละ 20% แม้ว่าตลาดจะตกต่ำในวงกว้างในช่วงการระบาดใหญ่ ขณะที่ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 8% ต่อปี" บีซีจี ระบุในรายงานที่เผยแพร่เมื่อต้นปีนี้
โฆษณา