2 ส.ค. 2023 เวลา 12:19 • สิ่งแวดล้อม

“ผึ้งกันไฟ”

วงสนทนาเล็ก ๆ ริมเขื่อนห้วยศาลา คนหนุ่มสาววัยทำงาน จากหลายพื้นที่หลายองค์กร นั่งเสวนากันอย่างออกรสชาติ ถึงแนวทางที่จะสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มคนเปราะบาง รายได้น้อย ในแถบพื้นที่ชายแดน อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
ปีนี้ ผมกับทีมงานฯ ร่วทกันคิดริเริ่มสร้างสรรค์งานพัฒนาในเชิงพื้นที่ เหตุเกิดจากการลงพื้นที่ทำงาน แถบๆ ชายแดนตำบลไพรพัฒนา หน่วยงานของเรา ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก กรมการพัฒนาชุมชน ต้นสังกัด ให้ขับเคลื่อนงาน หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ D -Hope ซึ่งในกระบวนงานนั้น ต้องเกิดการคัดเลือก Champ ผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน 10 ราย
นั่นคือ จุดเริ่มต้นที่ทำให้เรา รู้จัก ทีมงานพรานผึ้งบ้านนอก 2 หนุ่มคูหู น้องขุ่ย และน้องภาพ แห่งบ้านวนาสวรรค์ พวกเขาเป็นเด็กหนุ่มไฟแรงที่ เป็นผู้บุกเบิกงานเลี้ยงผึ้งโพรงที่ สามารถสร้างรายได้อย่างงดงาม
นายประดิษฐ์ บุญออน ชื่ิอขุ่ย พรานผึ้งบ้านนอก กล่าวว่า เริ่มต้นจากการเป็นพรานผึ้งป่า หาผึ้งตามพื้นที่ป่าชุมชนบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก ก่อนที่จะใช้ความเขี่ยวชาญเฉพาะตัวล่อผึ้งโพรงมาทำรัง ในกล่องผึ้ง ปัจจุบันเขามีกล่องผึ้งราว ๆ 500 กล่อง ใน 1 กล่องสามารถ เก็บน้ำผึ้งได้ 7 - 15 ขวด แตกต่างไปตามสภาพพื้นที่ งานเลี้ยงผึ้งคืออาชีพเสริมที่ ไม่กระทบต่องานประจำ ทุกคนสามารถทำได้ ถ้าเข้าใจวิถีชีวิตของผึ้ง ในรอบปีที่ผ่านมา พรานขุ่ยมีรายได้จทกการจำหน่ายน้ำผึ้ง ปีละ ราว ๆ 300,000 บาท
หลังจากรู้จัก น้องขุ่ยและน้องภาพ ด้วยจิตวิญญาณนักพัฒนาชุมชน ที่มีเต็มหัวใจ ผมคิดงานต่อทันที ว่านี่ละ คืออาขีพที่สมควร ต่อยอด ให้คนชายแดนภูสิงห์ ได้ทำและสร้างรายได้
นั่นละครับ คือที่มาของวงคุย ที่สันเขื่อนห้วยศาลา ใยวันนั้น พวกเราประชุมคณะทำงานโครงการสร้างรายได้จากการเลี้ยงผึ้งโพรง ซึ่งได้รับงบประมาณ สนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กศส)
เวทีนั้น เป็นจัดเริ่มต้นในการชักชวนภาคีเครือข่าย ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเลี้ยงผึ้งมา นั่งคุยกัน ทั้งฝ่ายการศึกษา สาธารณสุข ธนาคาร ธกส. ฝ่ายพัฒนาชุมชน ครูศูนย์ฝึกอาชีพราษฎรตามแนวชายแดน เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยศาลา และแกนาำชุมชน มทกัวพร้อมพรั่ง
การเลี้ยงผึ้งเป็นงาน ที่มีจุดแข็งในตัว เพราะผึ้ง มีฐานะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สร้างรายได้ให้ชุมชน ได้ ยังเป็นสัตว์ที่ไวต่อสารเคมีทุกชนิด ผึ้งอาศัยเกสรจากไม้นานาชนิด ทั้งไม้ในป่า สมุนไพร ไม้ดอก แม้กระทั่งไม้เลื้อย ก็ให้น้ำหวานได้
จุดดีของผึ้งคือ เป็นแมลง ที่เกื้อกูลต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ที่มีความสมดุล ไม่มีการใช้สารเคมี ดังนั้น คนเลี้ยงผึ้งย่อมรักฐานทรัพยากรธรรมชาติ รัก ดิน น้ำ ป่า เพราะ ปัจจัยเหล่านั้น เอื้อประโยชน์ ต่อการขยายประชากรผึ้ง ยิ่งขยายประชากร ผึ้งมากเท่าใด พวกเขาย่อมมีรายได้มากเท่านั้น
การเริ่มทำงาน จากผึ้ง จึงเสมือนหนึ่ง “การเด็ดดอกไม้ที่ สะเทือนถึงดวงดาว “ ทำเรื่องเดียว ได้ประโยชน์หลายประการ
ตัวแทนจากเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยศาลา กล่าวถึงปัญหาไฟป่า ว่า เป็นปัญหาที่พยเจอทุกๆ ปี เสียงบประมาณ ทรัพยากร ในการดับไฟป่ามากมาย
ถ้าใช้แนวคิด “ผึ้งกันไฟ” กล่าวคือ ใช้คนเลี้ยงผึ้งเป็นแนวกันไฟ ให้เลี้ยงผึ้งเป็นกุศโลบาย ในการป้แงกันไฟป่า เพราะ คนเลี้ยงผึ้งจะช่วยดูแล ดับไฟป่า ไม่ให้ลามเลีย มาไหม้ไกล้ ๆ รัวผึ้งแน่นอน
แค่คิด ก็สนุกแล้ว สำหรับพัฒนากร นักพัฒนาเชิงพื้นที่ ที่คิดค้นงานพื้นที่มีขับเคลื่อนร่วมกับชุมชน ทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย มีเพื่อนภาคีมาหนุนมาเสริมพลังการทำงานในพื้นที่ ได้ทำงาน แก้ไขปัญหาให้ชุมชน เสริมสร้างรายได้ สร้างอาชีพ ให้ผู้เปราะบางคนตกเกณฑ์ TPMAP ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ส่วนแนวคิด “ผึ้งกันไฟ” วันนี้ ขอเสนอไว้ก่อน ส่วนผลการขับเคลื่อน จะเกิดผลลัพธ์อย่างไร รอบหน้าจะมาเล่าสู่กันฟัง ครับ
โฆษณา