8 ส.ค. 2023 เวลา 18:05 • หนังสือ

ข้อคิดที่ได้จากหนังสือเรื่อง Emotional First Aid ซ่อมแซมสุขที่สึกหรอ

ผู้เขียน : Guy Winch
ผู้แปล : ลลิตา ผลผลา
สำนักพิมพ์ : Be(ing)
.
.
เวลาที่เราล้มจนเกิดแผลถลอกหรือเลือดออก เราย่อมปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยการล้างแผล และปิดพลาสเตอร์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคบรรเทาอาการบาดเจ็บ ไม้ให้แผลติดเชื้อลุกลามจนเป็นโรคที่ร้ายแรงกว่านั้น ซึ่งการบาดเจ็บจากภายนอกต่อร่างกายนั้น เราสามารถมองเห็นและรับรู้ถึงความเร่งด่วนในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้
แต่กับเรื่องอารมณ์ และความรู้สึก ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น เราไม่อาจสังเกตได้เลยว่าเพื่อนเราคนนึงอาจมีภาวะเหงา หดหู่ หรือโศกเศร้าจากการศูนย์เสียคนอันเป็นที่รัก ถ้าเพื่อนเราคนนั้นไม่ได้บอกเราหรือแสดงอาการออกมาโดยตรง
.
เรื่องของอารมณ์ ความรู้สึกที่ทำให้เราไม่มีความสุข เปรียบเสมือนบาดแผลจากการล้มที่ควรจะมียาและเครื่องมือในการรักษาและบรรเทาอาการเบื้องต้น เพื่อไม่ให้ลามไปสู่ผลกระทบที่แย่กว่าตามมา อย่างเช่น โรควิตกกังวล หรือ โรคซึมเศร้า
หนังสือเล่มนี้จึงเปรียบเสมือนตู้ยาสามัญประจำบ้าน ที่ประกอบไปด้วยยาบรรเทาอาการป่วยจากภาวะอารมณ์ที่ทำให้เราไม่มีความสุข ประกอบไปด้วย
  • 1.
    การถูกปฏิเสธ
  • 2.
    ความเหงา
  • 3.
    การสูญเสีย
  • 4.
    ความรู้สึกผิด
  • 5.
    การครุ่นคิด (คิดมากจนเกินไป)
  • 6.
    ความล้มเหลว
  • 7.
    ความเคารพตัวเองต่ำ (Low Self-Esteem)
โดยภาวะอารมณ์แต่ละแบบก็มียารักษาแตกต่างกันออกไป 3-6 ชนิด เปรียบเสมือนยาแก้ปวดในตลาดที่หลายแบรนด์ อยู่ที่ว่าแบรนด์ไหนมีตัวยาที่สรรพคุณเข้ากับร่างกายเราได้มากที่สุด เราจึงเลือกใช้ตัวยานั้น
.
ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงพาเราไปรู้จักอารมณ์ความรู้สึกทั้ง 7 ประเภทว่าเกิดจากอะไร มีผลกระทบตามมาอย่างไร มีอาการใดบ้างที่เกิดจากอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้ และจึงนำเสนอตัวยาวิธีการรักษาบรรเทาอาการเบื้องต้น
.
ถ้าในกรณีที่ยาบรรเทาอาการเหล่านี้ไม่ได้ผล ยังทำให้คุณมีความคิดในแง่ลบที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้เขียนแนะนำให้คุณรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วนที่สุด เนื่องด้วยหนังสือเล่มนี้เป็นแค่วิธีการรักษาเบื้องต้น ดังนั้นเมื่อเราต้องรับการผ่าตัดเราควรได้รับการผ่าตัดจากแพทย์ที่เครื่องมือเพรียบพร้อมดีกว่าการใช้กรรไกรตัดผ้าผันในตู้ยาที่บ้านแผลผ่าท้องเรา
ข้อคิดที่ได้จากหนังสือเล่มนี้
.
1.เราไม่ควรโทษตัวเอง เมื่อเราถูกปปฏิเสธไม่ว่าจะเป็นเรื่องความรัก เรื่องงาน หรือเรื่องต่างๆ
เนื่องด้วยบริบทความต้องการของฝั่งตรงข้ามแค่ไม่ตรงกับคุณสมบัติที่เรามีหรือสิ่งที่เราเป็น
การที่คุณไม่ใช่สิ่งที่เขาต้องการไม่ได้หมายความว่าคุณผิดหรือตัวคุณนั้นไม่มีค่าเสมอไป
.
2.ความอันตรายของความเหงาเทียบเท่าได้กับการสูบบุหรี่ เพราะความเหงาเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือด ในระยะยาวสามารถส่งผลร้ายแรงได้เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่
3.ความเหงาในจิตใจเกิดขึ้นจากการมองโลกในแง่ร้ายเป็นส่วนมาก เนื่องจากกลัวความผิดหวังจากการถูกปฏิเสธ จึงทำให้เราผลักไสคนอื่นออกไป ดังนั้นเราควรเลิกมองโลกและสภาพแวดล้อมโดยรอบในแง่ร้ายก่อน โดยเริ่มต้นที่ตัวเรา
.
4.การลงโทษตัวเองที่ทำผิดต่อคนอื่น เป็นการบ่งบอกว่าเราสำนึกผิดอย่างชัดเจน แต่แทนที่จะลงโทษตัวเอง คุณควรจะขอโทษที่คุณทำผิดอย่างใจจริงและเข้าใจบริบทและคุณค่าความรู้สึกของคนที่เราทำผิดด้วย และเสนอการชดเชยหรือแก้ไขที่สามารถทำให้คนที่คุณทำผิดด้วยยอมรับและเชื่อมั่นว่าคุณจะไม่ทำผิดอีก
.
5.การให้อภัยตัวเองที่ทำผิดเป็นสิ่งแรกที่สมควรทำ คุณไม่ควรจมอยู่กับความรู้สึกสำนึกผิดนานเกินไป เพราะคุณจะเอาแต่กล่าวโทษตัวเองซ้ำแล้วซ้ำเล่า
“คุณจะไม่สามารถดูแลคนอื่นได้ ถ้าคุณไม่ดูแลตัวเองก่อน”
.
6.การครุ่นคิดในเรื่องเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า ส่งผลกระทบต่อผู้คนที่เป็นห่วงเรา เพราะพวกเขาต้องแบกรับหน้าที่ให้กำลังใจมากเกินไป และทำให้เราจมอยู่กับความรู้สึกเชิงลบจนมันเรื่มครอบงำเรา
ดังนั้นคุณควรเบี่ยงเบนความสนใจไปทำสิ่งที่ทำให้คุณไม่ต้อวคิดถึงเรื่องนั้นและเปลี่ยนมุมมองเป็นมองจากมุมของเพื่อนคุณว่า ถ้าเป็นคุณจะช่วยเหลือเพื่อนที่คิดมากอย่างไร
.
7.ความล้มเหลวมักเจ็บปวด แต่ไม่ใช่ความล้มเหลวทั้งหมดต้องใช้วิธิปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ความล้มเหลวบางอย่างทำให้ความสำเร็จในอนาคตมีความหมายมากขึ้น
ความล้มเหลวเป็นครูผู้ยิ่งใหญ่ที่ให้โอกาสใหม่ๆ
โดยเราสามารถเรียนรู้จากความล้มเหลวได้
.
8.แม้แต่ผู้ที่มีความเคารพในตัวเองสูงก็มีวันที่รู้สึกแย่กับตัวเองอยู่เหมือนกัน
การมองเห็นในคุณค่าตัวเองต่ำทำให้เรามองสิ่งต่างๆในแง่ลบและปฏิเสธสิ่งเหล่านั้นไปด้วยจึงทำให้เราปิดกั้นโอกาศและเส้นทางใหม่ๆที่จะเข้ามาในชีวิต
.
9.อดทนต่อคำชมและยอมรับมัน เพราะคำชมที่ได้รับจากเพื่อน ครอบครัว และคนรัก ไม่ใช่มาตรฐานที่คุณเข้าใจว่า’ต้องทำให้ได้อยู่เสมอ’ เมื่อทำไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าคุณทำให้พวกเขาเหล่านั้นผิดหวัง แต่เพราะคุณทำมันได้แล้วต่างหากจึงเป็นคำชม
.
10.เราควรตระหนักรู้เข้าใจถึงอารมณ์และความรู้สึกของเรา และเข้าใจวิธีการดูแลรับมือและบรรเทาอาการและรักษาอารมณ์ความรู้สึกที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายของเราในแง่ลบ
เพราะสุขอนามัยทางอารมณ์เป็นสิ่งที่สำคัญไม่แพ้สุขอนามัยทางร่างกาย
ถ้าเปรียบเทียบหนังสือเล่มนี้กับตู้ยาสามัญประจำบ้านก็คงไม่ผิดนักดัง เป็นหนังสือที่เราควรมีติดตู้หนังสือที่บ้านไว้เช่นเดียวกัน เนื่องด้วยเรื่องอารมณ์และความรู้สึกย่อมเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องประสบพบเจอ ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ เผชิญโลกความเป็นจริงมาแล้วกี่ปี หรือพึ่งจะเข้าเรียนชั้นมัธยมต้นก็ตาม
.
หนังสือเล่มนี้จึงเหมาะสำหรับคนประสบพบเจอกับปัญหาภาวะอารมณ์หวั่นไหวจากเหตุการณ์ต่างๆที่ส่งผลกระทบในแง่ลบต่อตัวเรา ซึ่งผมเชื่อว่าเราทุกคนล้วนพบเจอสิ่งเหล่านี้มานับครั้งไม่ถ้วน
.
บางครั้งเราก้าวข้ามความเจ็บปวดและผ่านมันมาได้โดยใช้เวลาและผู้คนรอบข้างที่ให้ความช่วยเหลือเรา
แต่ถ้าเรามีเครื่องมือในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นต่ออารมณ์ความสุขที่สึกหรอ จะทำให้เราสามารถยับยั้งบาดแผลนั้นก่อนจะลุกลามเลวร้ายมากขึ้น และสามารถช่วยให้เราก้าวข้ามความเจ็บปวดได้ไวกว่าการพึ่งพาแค่เวลาและการงมหาทางรักษาและทางออกจากปัญหานั้นด้วยตนเอง
#Zcollex_Books
#EmotionalFirstAid #GuyWinch
#Be(ing) #หนังสือจิตวิทยา #หนังสือพัฒนาตนเอง
โฆษณา