11 ส.ค. 2023 เวลา 13:35 • สุขภาพ

ว่าด้วยสรรพคุณของดอกมะลิ

ด้วยเหตุผลที่ว่า เป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ กลิ่นหอมไปไกลและนาน รวมทั้งยังออกดอกได้ทั้งปี จึงถือเอา ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์ประจำวันแม่
นอกจากเป็นสัญลักษณ์ของวันแม่แล้ว ดอกมะลิยังมีสรรพคุณทางยาอีกด้วยนะ
โดยมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาดังนี้
ฤทธิ์ขยายหลอดเลือดโคโรนารี และกระตุ้นหัวใจ (coronary vasodilating and cardiotropic activities) : สาร jasmolactone B และ D ที่แยกได้จากดอกมะลิพวงออกฤทธิ์ดังกล่าว จึงอาจสนับสนุนการใช้ดอกมะลิในตำรับยาหอม ซึ่งเป็นตำรับยาพื้นบ้าน ในการรักษาอาการเป็นลม วิงเวียน ที่มีการใช้ในยาไทยมาแต่โบราณ
ฤทธิ์กระตุ้นประสาท : จากการทดสอบกับหนูพบว่า น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิลา ช่วยทำให้ระยะเวลาการหลับของยา pentobarbital สั้นลง โดยการกระตุ้นประสาทสัมผัสกลิ่น และสารสำคัญคือ phytol
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus sanguinis ที่เป็นสาเหตุให้เกิดฟันผุ : พบว่าสารสกัด เมทานอล จากดอกมะลิลาแห้ง มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อดังกล่าว โดยมีค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งเชื้อ (MIC) เท่ากับ 1 mg/ml ดังนั้นสารสกัดจากดอกมะลิจึงมีผลต่อ
สุขภาพในช่องปาก
ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas aeruginosa และเชื้อรา Aspergillus niger : พบว่าสาร caryophyllene oxide, benzyl benzoate, farnesyl acetate, methyl isoeugenol จากดอกมะลิลาออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อดังกล่าว
ฤทธิ์กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ : จากการทดสอบตำรับยาที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ในตำรับ 3-20% (โดยมีน้ำมันหอมระเหยจากมะลิ คิดเป็น 50-90%) มีฤทธิ์กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ
ฤทธิ์สงบประสาท และทำให้นอนหลับ: น้ำคั้นจากรากสดมะลิลา 1-8 กรัม ต่อน้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม เมื่อฉีดเข้าช่องท้อง หนู กระต่าย และสุนัข มีผลในการสงบประสาท ทำให้สัตว์เคลื่อนไหวน้อยลง และทำให้นอนหลับ ในปริมาณต่างกัน จึงควรระมัดระวังในการใช้ เพราะการใช้มากเกินไปจะทำให้สลบได้
ฤทธิ์ไล่หมัด : น้ำมันหอมระเหยจากดอกมะลิลา มีฤทธิ์ไล่หมัดได้ดีกว่าสารเคมี diethyltoluamide
ขอบคุณข้อมูล
โฆษณา