12 ส.ค. 2023 เวลา 16:52 • สิ่งแวดล้อม

แนวคิดการพัฒนาเมืองของจีน China Sponge City project

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง นั่นหมายถึงการเพิ่มขึ้นของป่าคอนกรีต ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางธรรมชาติ เช่นต้นไม้ แม่น้ำ ลำคลอง และยังส่งผลให้พื้นที่สีเขียวค่อยๆหายไป
พื้นที่ทางธรรมชาติถูกแทนที่ด้วยโครงสร้างพื้นฐานของเมืองเช่นตึกอาคาร รวมถึงถนนหนทางที่ปูด้วยคอนกรีต
หนึ่งในปัญหาสุดคลาสสิคของเมืองใหญ่ ในหลายประเทศทั่วโลก นั่นคือปัญหาน้ำท่วม เพื่อหาทางออกให้กับปัญหานี้ จึงก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆในการแก้ไขปัญหาของเมืองในอนาคต
บทความนี้จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับทฤษฎีการพัฒนาเมืองของจีน ด้วยแนวคิด China Sponge City (เมืองฟองน้ำ)
เมืองฟองน้ำของจีน
"เมืองฟองน้ำ" คืออะไร
อธิบายให้เข้าใจง่ายๆก็คือ แนวคิดในการวางผังเมือง ให้เปรียบเสมือนเป็นฟองน้ำขนาดใหญ่ โดยการจัดสรรพื้นที่ให้มีโซนธรรมชาติ
เช่นสวนสาธารณะ ต้นไม้ และทะเลสาป ให้เป็นพื้นที่ในการดูดซับน้ำในช่วงของฤดูมรสุมซึ่งแนวคิดนี้จะช่วยให้เมืองมีพื้นที่ ที่จะสามารถรองรับน้ำฝนในปริมานมากๆได้
พื้นที่ชุ่มน้ำ ใจกลางเมืองของจีน
หลักการพื้นฐานของเมืองคือการออกแบบให้มีพื้นที่และเวลาเพียงพอ ที่น้ำจะสามารถระบายลงสู่พื้นดินแทนการใช้วิธีระบายน้ำออกให้เร็วที่สุดโดยการสร้างระบบระบายน้ำด้วยโครงสร้างคอนกรีต
ด้วยวิธีการชะลอการไหลของน้ำในลำธารที่คดเคี้ยว และกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ชุ่มน้ำทางธรรมชาติของเมือง ซึ่งเป็นเหมือนฟองน้ำขนาดใหญ่ในการดูดซับน้ำฝนปริมานมากๆได้
แนวคิดเมืองฟองน้ำไม่เพียงแต่แก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองได้เท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างระบบนิเวศและความชุ่มชื้นของเมืองให้ดีขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูแล้ง
และการเพิ่มขึ้นของพื้นที่สีเขียวที่มีขนาดใหญ่นั้น
สามารถช่วยดูดซับก๊าสคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้ผู้อยู่อาศัยในเมืองได้รับอากาศที่บริสุทธิ์เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดอุณหภิมของเมืองลงได้อีกด้วย
การออกแบบเมืองสำหรับแนวคิดนี้ใช้ 6 หลักเกณฑ์ เป็นตัวชี้วัดในการบรรลุเป้าหมาย ได้แก่ การซึมลงดิน,การกักน้ำ,การเก็บน้ำ,การบำบัดน้ำเสีย,การใช้ประโยชน์จากน้ำ และการระบายน้ำ
การออกแบบถนนของจีนที่น้ำสามารถซึมผ่านได้
กงเจวี้ยนหยู คณะบอดีภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่ริเริ่มแนวคิดเมืองฟองน้ำ ได้อธิบายว่า
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมด้วยการสร้างกำแพงคอนกรีตขนาดใหญ่นั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ล้มเหลว แต่เมืองต่างๆควรแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางธรรมชาติ
เพื่อให้แนวคิดนี้เป็นที่ยอมรับ เขาใช้เวลาอยู่หลายปีในความพยายาม ที่จะเสนอแนวคิดนี้ไปยังรัฐบาลจีน
จนกระทั่งในปี 2013 แนวคิดของเขาก็ได้รับการยอมรับจากรัฐบาล และแผนการพัฒนาก็ได้ถูกพลักดัน รัฐบาลได้เลือกเมืองนำร่องในการพัฒนาแนวคิดนี้
เช่น เมืองอู่ฮั่น ,ฉงชิ่ง ,เชียะเหมินและเซี่ยงไฮ้ รวมถึงเมืองอื่นๆอีกกว่า 30 เมืองโดยแต่ละเมืองได้รับการจัดสรรงบประมาณ เพื่อพัฒนาแนวคิดนี้ ราว 400 ถึง 600 ล้านหยวน
อย่างไรก็ตามก็ยังคงมีความกังวลให้ขบคิดต่อไปว่าแนวคิด China Sponge City (เมืองฟองน้ำ)นี้จะสามารถรองรับปริมานน้ำฝนที่อาจจะเพิ่มสูงขึ้น ในทุกๆปีเนื่องจากสภาพภูมิอากาศโลกที่เปลี่ยนไปได้หรือไม่
ข้อมูลอ้างอิง
โฆษณา