ไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดที่พบได้มากในประเทศเขตร้อน เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และลาตินอเมริกา โดยมียุงลายเป็นพาหะในการนำเชื้อ
จึงทำให้ประเทศตะวันตกของยุโรปและอเมริกาเหนือ ไม่ค่อยได้ให้ความสนใจในการวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกกันมากนัก
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก จึงต้องใช้เวลาค่อนข้างมากในการพัฒนาขึ้นมา โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากมหาวิทยาลัยมหิดลเมื่อกว่า 40 ปีที่ผ่านมา
ขณะนี้มีข่าวล่าสุดแจ้งว่า วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกรุ่นที่สอง (โดยบริษัทญี่ปุ่น) ได้ผลดีในการป้องกันทั้งสี่สายพันธุ์
และสามารถฉีดได้ทั้งในคนที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้ว หรือยังไม่เคยเป็น
ซึ่งแตกต่างจากวัคซีนไข้เลือดออกรุ่นแรก ซึ่งแม้จะได้ผลดีใกล้เคียงกัน แต่มีข้อจำกัดว่า ผู้ที่ยังไม่เคยเป็นไข้เลือดออกเลย เมื่อฉีดวัคซีนรุ่นที่หนึ่งไปแล้ว ต่อมาติดเชื้อเป็นไข้เลือดออกจะมีอาการหนัก จึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมกัน
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกรุ่นที่สอง มีประสิทธิภาพในป้องกันการเป็นไข้เลือดออก (DHF)ได้ 85% และลดความรุนแรงทำให้ไม่ต้องนอนโรงพยาบาลได้ 90%
โดยวัคซีนดังกล่าวนี้ จะฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 ขวบขึ้นไป จนถึงอายุ 60 ปี
1
เป็นการฉีดวัคซีนสองเข็ม ห่างกัน 3 เดือน
ได้มีการใช้วัคซีนดังกล่าวไปแล้ว 16 ประเทศทั่วโลก ในสามทวีป และพบว่ามีความปลอดภัยดี ผลข้างเคียงไม่ได้แตกต่างจากการฉีดวัคซีนอื่นๆ
ส่วนเรื่องราคาของวัคซีนในประเทศไทย คงจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป
ในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ไข้เลือดออกลดจำนวนลงอย่างมาก เนื่องจากมีโควิด-19 ระบาด
แต่หลังจากที่โควิดเบาลงอย่างมากไข้เลือดออกก็เริ่มเพิ่มขึ้น จนถึงขณะนี้ตั้งแต่ต้นปี มีผู้เป็นไข้เลือดออกไปแล้วกว่า 50,000 คน และเริ่มพบในผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แตกต่างจากในสมัยเดิมที่มักจะพบในเด็ก
1
Reference
การประชุมทางวิชาการ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย
36 ถูกใจ
22 แชร์
3.8K รับชม
แสดงความคิดเห็นของคุณ...
  • 36
    โฆษณา