Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าเมาเมาแมน
•
ติดตาม
9 ก.ย. 2023 เวลา 08:12 • ธุรกิจ
ขายอาหารออนไลน์ ธุรกิจที่จบไปพร้อมโควิด….
ถ้าจำกันได้ ช่วงโควิดแรงๆ มีอาชีพหนึ่งเกิดขึ้น
และทำท่าว่าจะเป็นช่องทางทำกินใหม่ๆของผู้คน
คือ การขายอาหารออนไลน์ แบบไม่ต้องมีหน้าร้าน
ช่วงนั้น หลายคนรอดตายจากโควิดมาได้ ก็ด้วยธุรกิจนี้
บางคนตั้งตัวได้ เก็บเงินเปิดร้านจริงๆ ก็มาก
ลาออกจากงานประจำไปทำถาวรเลยก็มี….
…แต่รู้ไหมครับ ธุรกิจที่มากับสิ่งที่เราเรียกว่า new normal
ในช่วงนั้น มันกำลังล้มหายตายจากไปแทบหมดแล้ว แทบทุกอย่างเลย หลังจากโควิดจางลง …
2
…รวมถึงการขายอาหารจากบ้าน ผ่านบริษัทส่งอาหาร….
บังเอิญผมมีลูกน้องพีอาร์ที่ร้านเหล้าคนนึง
ที่ตอนร้านปิดโควิดอาศัยสิ่งนี้ทำมาหากิน
จนเอาตัวรอด มีเงินส่งที่บ้านได้
เธอไปได้สวยเลยแหละ ถึงขนาดเลิกทำพีอาร์กลางคืน
ทิ้งเงินเดือนละสามสี่หมื่นไปเลย
จนเมื่อวันพฤหัสก่อน เธอมาหาผมที่ออฟฟิศแบบงงๆ
บอกว่าอยากให้ช่วยออกแบบร้านส้มตำเล็กๆให้หน่อย
เธออยากทำเป็นแบบกึ่งร้านเหล้าในตัว
( ผมสัญญากับลูกน้องทุกคนว่าจะออกแบบให้ฟรี สามกรณี
คือ ร้านหรือบ้านหลังแรก , เรือนหอ , บ้านพ่อแม่ เพราะรู้ว่าส่วนมากหลังไม่ใหญ่ ใช้เวลาไม่มาก )
…ก็เลยถามเธอว่า แล้วจะเปิดทำไมให้เสียค่าเช่า ค่าสถานที่
ทำแบบเดิมก็ขายดีไม่ใช่เหรอ…
…จนได้คำตอบมา ว่าร้านออนไลน์อย่างเดียว กำลังจะตาย…
เลยไปศึกษาข้อมูลเพิ่มอีกนิดหน่อย แล้วเอามาเขียนนี่แหละ
สาเหตุที่การขายอาหารจากบ้าน ไปต่อไม่ไหว
เท่าที่อ่านๆ และฟังประสบการณ์ตรงมา
ดูจะมีสองสาเหตุที่เป็นเหตุผลเฉพาะธุรกิจ คือ
ระบบของทางแอพส่งอาหาร ที่ไม่เอื้อกับธุรกิจอีกแล้ว
ธรรมชาติของคนกินกลับมาเหมือนเดิมก่อนโควิด
อันแรกนี่ มีสองส่วน ที่เป็นปัญหามาก คือ
1) ผู้ให้บริการหลายเจ้าขอหักรายได้จากราคาขาย
สูงถึง 30% ทำให้คนขายต้องตั้งราคาสูงมากเพื่อให้
ยังเหลือกำไรคุ้มค่าเหนื่อย
เช่น อย่างลูกน้องผม เธอเคยขายอาหารอีสาน
อาหารตามสั่ง กับพวกยำ
สมมุติว่าเป็นกระเพราหมูไข่ดาว
โดยหวังว่า จะได้เงินเข้าร้านต่อจานแบบรวมกำไรที่
50 บาท เท่าตามร้านปกติ
ซึ่งถ้าคุณหวังจะได้ 50 บาทรวมกำไร คุณจะตัอง
ตั้งราคาให้สูงกว่า 50 บาทเป็นบาท เป็น 130%
คือ 65 บาท
ตรงนี้แหละทำให้มันยาก ที่จะแข่งราคากับคนมีหน้าร้าน
เพราะคนกิน ต้องซื้อ 65 บาท แล้วยังต้องจ่ายค่าส่งอีก
ซึ่งทำให้มันแพงกว่าการออกไปซื้อกินเองมากจนเกินไป
การลดราคา ก็ทำได้ลำบาก เพราะร้านออนไลน์ส่วนมาก
ไม่สามารถนำจำนวนมาแทนที่กำไรต่อหน่วยได้
ถ้าลด แม้ไม่ขาดทุน แต่ก็ถือว่าไม่คุ้มเหนื่อยแน่ๆ
…บางคนบอกว่า ให้คิดเหมือน 30 % คือค่าเช่าร้าน
อันนี้บอกเลยว่า ถ้าคิดแบบนั้น เปิดร้านจริงๆ จะดีกว่า
เพราะมันไม่ได้คิดบวกไป 30% ทุกจาน และไม่มีเครื่องดื่ม
มาเป็นตัวช่วยเลย…
…การทำราคาให้ต่ำไม่ได้ ในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้
ไม่มีทางรอดครับ….
2) บริษัทผู้ส่ง เอื้อให้คนยิงแอดฯโฆษณามากกว่า
เรทติ้งที่คนให้ทำให้เข้าถึงลูกค้ายาก
อันนี้ให้เราลองนึกถึงว่า เมื่อเราจะหาของกินตามแอพต่างๆ
เรามักเลือก ฟีดแรกๆที่ขึ้นมาเสมอ ไม่ใช่ไถกันเป็นรัอยฟีด
หรือถ้าจะเสิรช์หาแบบเจาะจง ก็มักจะเป็นร้านที่กำลังดัง
หรือร้านในตำนาน ที่เป็นที่รู้จักอยู่แล้ว เป็นส่วนมาก
นั่นทำให้เกิดความจำเป็นต้องเสียเงินให้แพลตฟอร์ม
เพื่อให้ร้านเราเด้งขึ้นมาเป็นฟีดต้นๆในแอพสั่งอาหาร
ที่แย่ คือ แทนที่ระบบจะให้อันดับกับเรทติ้งขึ้นก่อน
กลับดันคนยิงแอดก่อน ทำให้แม้แต่ร้านเรทติ้งดี
ก็อาจไม่มีใครเห็นได้
…เมื่อไม่มีใครเห็น ก็ขายไม่ได้ ให้อร่อยแค่ไหนก็ตาม…
พูดง่ายๆ การยิงแอดจะเหมือนพาร้านคุณมาอยู่
ปากซอยติดถนนใหญ่
ส่วนถ้าไม่ยิง ก็เหมือนร้านคุณอยู่ในหลืบก้นซอย ที่ไม่มีใครเห็น
และค่าใช้จ่ายในการยิงแอดนั้น ค่อนข้างสูงทีเดียว
และเหมือนวัดดวงด้วยว่าเราจะขายได้หรือไม่ เมื่อมีคนเห็น
…ความจำเป็นต้องยิงแอดนี่แหละ ทำให้ต้นทุนต่อหน่วย
พุ่งสูงขึ้นมาก จนเข้าเนื้อได้ มันจึงได้กันไม่ค่อยคุ้มเหนื่อยนัก
สำหรับคนขาย…
ซึ่งต่างกับการมีหน้าร้าน ที่คนผ่านไปมาเห็นเรื่อยๆ
ในลักษณะสุ่ม และสามารถใช้หน้าตาของร้านช่วยได้
2
ดังนั้น ผู้ขายส่วนมาก จึงเริ่มขาดทุนจากความจำเป็น
ที่จะต้องยิงแอดดันฟีดนั่นเอง…
อีกเรื่อง คือ พฤติกรรมผู้บริโภค กลับมาเหมือนเดิม
เรื่องนี้ผมเคยเขียนไว้ช่วงโควิดว่า new normal
จะไม่อยู่กับเรานานนัก เพราะมันขัดกับธรรมชาติของมนุษย์
1
ซึ่งตอนนี้ก็เห็นผลชัดเจน
ร้านอาหารมีหน้าร้าน กลับมาคึกคักอีกครั้ง
เพราะแน่นอนว่า อาหารที่อร่อย คืออาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ๆ
ไม่ใช่อาหารที่กิน 15-20 นาทีหลังปรุง แล้วใส่ถุงมาส่ง
นั่นทำให้คนที่อยากกิน ยอมเดินทางไปที่ร้านมากกว่าเสียเงิน
กับค่าส่ง และถือเป็นการไปเที่ยวภายในตัวอีกด้วย
ซึ่งนี่ก็คือพฤติกรรมแบบดั้งเดิมของผู้บริโภคอยู่แล้ว
เพียงแต่จังหวะโควิด มันเพราะใครไปไหนไม่ได้มากกว่า
ธุรกิจขายออนไลน์ ถึงโตได้
แม้แต่ตามออฟฟิศปัจจุบัน ที่ใครๆก็คิดว่า อาหารออนไลน์
จะขายดีแบบไม่เปลี่ยนแปลง
อันนี้คิดผิดมากๆ
เพราะสภาพเศรษฐกิจบังคับ ทำให้พนักงานระดับล่าง
ถึงกลางจำนวนมาก ใช้วิธีแบบดั้งเดิม
คือ ห่อข้าวมากิน หรือหารกันซื้อกับมากินด้วยกัน
3
เพราะมันถูกกว่าการสั่งออนไลน์มาก
ทั้งในแง่ราคาและปริมาณ
หรือหากต้องสั่งซื้อกันจริงๆ ก็มักให้พี่วินมอเตอร์ไซค์ไปซื้อมากกว่า เพราะไม่โดนบวกราคาหน้าร้านอีก 30% เหมือนสั่งออนไลน์
บางบริษัท ก็จ้างแมสเซนเจอร์ตัวเองนั่นแหละ
รวมๆเงินไปซื้อทีเดียว ถูกกว่าสั่งออนไลน์เยอะ
และปัจจุบัน พนักงานออฟฟิศ โดยเฉพาะสาวๆ
ยังมีเทรนต์ทำข้าวกล่องมาอวด ประชันกันแบบคนญี่ปุ่นด้วยนะ
….ซึ่งอันนี้ผมชอบนะ น่ารักดี ประหยัดด้วย
บางทีก็ทำมาเผื่อเราด้วย อิอิอิ …
และนี่แหละ ที่ทำให้ร้านออนไลน์ คาดหวังอะไรไม่ได้เลย
กับบรรดามนุษย์โต๊ะตามออฟฟิศ….
จากปัจจัยที่บอกมาทั้งหมด
จะเห็นได้ชัดว่า ร้านอาหารออนไลน์อย่างเดียว
เป็นธุรกิจที่ไม่น่าลงทุนอีกแล้วในปัจจุบัน
ซึ่งก็สอดคล้องกับเสียงบ่นจากบรรดาไรเดอร์
ถึงรายได้ที่ลดลงมาก จนหลายคนก็เลิกไปแล้ว
ปัจจุบัน การขายอาหารออนไลน์ มันเหมาะกับเป็นแค่ตัวเสริม
ของคนที่มีหน้าร้าน และพอจะมีชื่อเสียงบ้้างเท่านั้นแหละ
การเปิดใหม่ ยาก ถึงยากมากที่จะประสบความสำเร็จ
แต่ทางรอดก็ยังมีเหมือนกัน ที่พอนึกได้ คือ
- ทำการตลาดแบบลงทุนมากๆ อันนี้ไม่ใช่แค่โฆษณานะ
คุณอาจต้องทำระดับจ้างอินฟลูฯ มารีวิวสร้างสตอรี่ให้ร้าน
กันเลยทีเดียว ซึ่งราคาไม่ถูกเลย
- สร้างฐานลูกค้าให้ได้ในช่วงสั้นๆ แล้วหันไปพึ่งปรีออเดอร์
มากกว่าการพึ่งพาการขายแบบเดลิเวอรี่ เพราะนั่นคุณสามารถทำราคาได้มากกว่า
- เปิดหน้าร้านจริงๆ เล็กๆ คือ อาจเป็นล็อกขายของ
เพิง หรืออะไรก็ได้เพื่อให้มีคนเห็น
อาจมีที่นั่งแค่ โต๊ะสองโต๊ะ หรือบาร์ยาวนั่งได้สักห้าคน
แบบนี้จะช่วยได้มาก ในการขายคนในพื้นที่
ที่อาจแวะซื้อ หรือให้พี่วินมาซื้อให้
ก็สรุปมาให้อ่านกันนะครับ เผื่อใครมองธุรกิจตัวนี้อยู่
ก็จะได้มีข้อมูลเพิ่มขึ้นบ้าง
โลกเราหมุนอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งธุรกิจต่างๆ ก็ต้องหมุนตามให้ทันกับโลก
เพราะสถานการณ์ต่างๆ กำหนดพฤติกรรมผู้บริโภคเสมอ
บางธุรกิจมาเร็วไปเร็ว บางธุรกิจไม่หวือหวา แต่อยู่ได้นาน
…เลือกทำให้เหมาะสมกับตัวเราและสถานการณ์…
…นี่คือสิ่งสำคัญที่สุด ของการทำธุรกิจเลยล่ะครับ….
เศรษฐกิจ
ความคิดเห็น
ธุรกิจ
3 บันทึก
23
14
7
3
23
14
7
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย