26 ส.ค. 2023 เวลา 19:56 • ท่องเที่ยว
สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา

รถไฟไทยให้บริการมาแล้วมากกว่า 100 ปีเสน่ห์ของรถไฟไทยเป็นอย่างไร ผมจะเล่าให้ฟัง

เมื่อครั้งสมัยเรียนหนังสือชั้นปวช.ปี 3 คือ ช่วงปีพ.ศ. 2534
ผม และเพื่อนๆได้นั่งรถไฟครั้งแรกจากกรุงเทพ ไปเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี และครั้งที่ 2 จากกรุงเทพไปเที่ยวเขาใหญ่ โดยขึ้นจาก สถานีดอนเมือง ไปลงที่สถานีปากช่อง
ซึ่งเป็นช่วงเทศกาลวันหยุดยาวปีใหม่
😆ขอบอกเลยครับว่าไม่ได้นั่งเลย ยืนตลอดเส้นทาง !#@฿
และเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผมได้มีโอกาสนั่งรถไฟกลับจากพิษณุโลก มาลงที่สถานีกรุงเทพฯ - หัวลำโพงอีกครั้ง
🚇ล่าสุดในห้วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคมปี2566นี้ ผมได้โดยสารรถไฟจากชุมทางฉะเชิงเทรา ไปกรุงเทพเกือบทุกวัน
สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา ช่วงเช้า
ที่สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา มีเส้นทางเดินรถไฟ ดังนี้
  • ฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ
  • ปราจีนบุรี-กรุงเทพ
  • กบินทร์บุรี-กรุงเทพ
  • ด่านพรมแดนคลองลึก-กรุงเทพ
  • บ้านพลูตาหลวง-กรุงเทพ
เดิมการเดินรถขบวนด่านพรมแดนคลองลึก-กรุงเทพ
เป็นขบวนอรัญประเทศ-กรุงเทพ ปัจจุบันขยายเส้นทางไปถึงพรมแดนที่บ้านด่านคลองลึก และเปลี่ยนชื่อขบวนเป็นด่านพรมแดนคลองลึก-กรุงเทพ
🚊ตารางเวลาการเดินรถไฟที่ผ่านชุมทางฉะเชิงเทรา ดังนี้
ตารางเวลาเดินรถไฟสายตะวันออก
📣ขบวนรถไฟเที่ยวแรก เป็นขบวนขาเข้าจะออกจากชุมทางฉะเชิงเทรา 5:20 น.ถึงกรุงเทพประมาณ 7:10 น.
📢ขบวนสุดท้าย จะออกจากสถานีกรุงเทพหัวลำโพง 18:25 น.จะถึงสถานีชุมทางฉะเชิงเทราประมาณ 20:00 น.
🙋ตัวผมเองนั้นจะใช้บริการขบวนที่ออกจากสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา 07:05 น. ในเกือบทุกๆวันเป็นเวลาต่อเนื่องมา 3 เดือน
ขบวนที่ออกจากชุมทางฉะเชิงเทรา 7 โมง 5 นาทีเป็นขบวนฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ
จากต้นทาง ที่สถานีชุมทางฉะเชิงเทรา มีผู้โดยสารไม่แน่น
🎉จะมีพ่อค้าแม่ค้า ที่ชุมทางฉะเชิงเทรานำของขึ้นมาขายทุกวัน
ผู้ค้าบนขบวนรถไฟส่วนใหญ่ จะเป็นผู้สูงอายุ บางท่านขายบนขบวนขาเข้ากรุงเทพ บางท่านขายบนขบวนที่ออกจากฉะเชิงเทรา ไปปราจีนบุรีฯ
👍เสน่ห์ของรถไฟส่วนหนึ่ง คือ พ่อค้า แม่ค้าที่ขึ้นขายของบนขบวนรถไฟ ซึ่งมีอยู่ในทุกเส้นทาง ส่วนใหญ่จะเป็นของกิน ขนมต่างๆ ลูกชิ้นปิ้ง น้ำดื่ม และมีของฝากบ้าง
💯บนขบวนระหว่างชุมทางฉะเชิงเทรา ไปกรุงเทพ นี้มีขนมที่มีความโดดเด่น และเป็นที่กล่าวขวัญอยู่หลายรายการ เช่น
ขนมชั้นบางเตย เป็นที่กล่าวขวัญถึงมาก
ขนมชั้นบางเตย นี้เป็นขนมที่ถูกกล่าวขวัญถึง ในกลุ่มผู้โดยสารรถไฟสายตะวันออก ซึ่งผมได้ซื้อทานแล้ว
เป็นขนมชั้นใบเตย ที่มีความหอม นุ่มละมุน หวานไม่มาก
ผมได้ลองทานแล้วต้องยอมรับว่าเป็นขนมชั้นที่น่าจะเป็นขนมชั้นอันดับต้นๆของประเทศไทย สมคำร่ำลือ และกล่าวขวัญถึงอย่างแท้จริง
📣และมีขนมอร่อยๆ ราคามิตรภาพอีก ดังนี้
ขนมเทียน
ขนมเทียนมีทั้งไส้หวานและไส้เค็ม เป็นขนมเทียนที่แป้งนุ่มไส้หวานอร่อย
ข้าวเหนียวสังขยา
ข้าวเหนียวสังขยา ที่ขายบนรถไฟขบวนฉะเชิงเทรา- กรุงเทพ เป็นขนมอีกรายการหนึ่ง ที่อร่อยใช้ได้
ข้าวเหนียวมูน นุ่ม หอม สังขยา หวานมันกำลังดี
ขนมไสไส้
ขนมไสไส้ เป็นอีกรายการหนึ่ง ที่มีความกลมกล่อมมากหวาน มัน เค็ม หอมลงตัว ก็มีขายบนขบวนรถไฟสายผ่านฉะเชิงเทรา- กรุงเทพ เช่นกัน
ขนมต้ม
ขนมต้ม เป็นอีกรายการหนึ่ง ที่ผมได้ลองทานแล้ว เป็นขนมที่หาทานยาก และหาคนทำอร่อยได้ยาก เช่นกัน มีขายบนขบวนรถไฟที่ผ่านกรุงเทพ - ฉะเชิงเทรานี้ เป็นขนมต้มที่อร่อยมาก
ข้าว+ผัดกระเพรา+ไข่ดาว/ไข่เจียว/ไข่ต้ม อิ่มอยู่ท้อง
พ่อค้า แม่ค้าที่ขายของบนขบวนรถไฟขาเข้า จะสามารถเดินขายได้ถึงแค่เพียงสถานีลาดกระบัง เนื่องจากเมื่อขบวนรถไฟ ถึงสถานีลาดกระบัง(ที่เป็นขบวน ขาวิ่งเข้ากรุงเทพ)จะมีผู้โดยสารขึ้นที่สถานีลาดกระบัง มาจนเต็มขบวน พ่อค้าแม่ค้าไม่สามารถเดินขายได้ พ่อค้าแม่ค้าจึงเดินขายมาบนขบวน และมาลงที่สถานีลาดกระบัง และรอขบวนต่อไป ที่จะขึ้นขายบนขบวนที่มุ่งหน้าไปฉะเชิงเทราหรือปราจีนบุรี
แม่ค้าท่านนี้อายุ 66 ปี (ขายของบนรถไฟมาแล้ว 48 ปี)
ในช่วงเช้าวันหนึ่งที่ผมกำลังเดินทางเข้ากรุงเทพ แม่ค้าท่านนี้ได้นำตะกร้าของ ที่ท่านขายมาวาง และนั่งตรงข้ามกับเบาะที่ผมนั่ง ซึ่งผมเป็นลูกค้า ที่ซื้อข้าวผัดกระเพรา และขนมของแกอยู่เรื่อยๆอยู่แล้ว
🤒วันนั้นที่แกมานั่งอยู่ตรงข้ามผม แกคงจะเหนื่อย ล้าเนื่องจากแกอายุมากแล้ว ผมจึงมีโอกาสได้พูดคุยสอบถาม
ปัจจุบันแม่ค้าท่านนี้อายุ 66 ปีแล้ว🚊เริ่มขายของบนขบวนรถไฟครั้งแรกตอนอายุ 18 ปี คือ ขายมาแล้ว 48 ปี บนขบวนรถไฟสายตะวันออก
แม่ค้ากรุณาเล่าให้ผมฟังว่า แม่ค้ารุ่นราวคราวเดียวกันได้เสียชีวิตไปหลายท่านแล้ว ส่วนตัวท่านเองก็สุขภาพไม่ค่อยดี ไม่รู้ว่าจะขายไปได้อีกนานเท่าไหร่
🙍อีกวันนึงผมเห็นท่านขึ้นมาบนขบวน แต่ยังไม่เดินขายวางตะกร้าไว้ และยืนมองออกไปนอกหน้าต่างรถไฟท่านคงจะเหนื่อยล้าจริงๆ เนื่องจากอายุมาก และสุขภาพไม่ค่อยดี
🚇สิ่งที่ผมคาดว่า จะหายไปในอีกไม่กี่ปี ก็คือ พ่อค้าแม่ค้าเหล่านี้ ที่มีอายุมาก หลายท่านอายุ 65 ปีขึ้นไป
หากพ่อค้าแม่ค้าเหล่านี้ ขึ้นมาขายบนขบวนรถไฟไม่ไหวเนื่องจากอายุมากและสุขภาพไม่ดี
จะมีพ่อค้าแม่ค้าคนอื่นมาขายทดแทน หรือไม่เนื่องจากการขายสินค้าบนขบวนรถไฟคงไม่ได้มีกำไรมากมาย
ผู้ค้ารายใหม่อาจจะไม่สนใจ ขึ้นมาเดินขายบนขบวนรถไปอีกต่อไป
หัวรถจักรรุ่นแรกที่ใช้งานปี พ.ศ.2453 และเลิกใช้ปี พ.ศ.2508 (ใช้งานนาน 55 ปี)
หัวรถจักรหมายเลข 61 เริ่มใช้งานครั้งแรก ปีพ.ศ 2453 ใช้งานถึงปีพ.ศ 2508 รวมระยะเวลาใช้งาน 55 ปี ประชาชนชาวไทยมีรถไฟใช้มาแล้ว 107 ปี
💓ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงพระราชทานกำเนิดรถไฟไทย
👷ปัจจุบัน ยังมีตำนานหัวรถจักรไอน้ำ pacific ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ยังสามารถวิ่งได้จริงอยู่อีก 2 หัวรถจักร คือ หมายเลข 824 และหมายเลข 850 หลายๆท่านคงเคยได้ยินเขาเรียกกันว่า "คุณทวด" เนื่องจากรถจักรไอน้ำทั้งสองนี้มีอายุ 73 ปี และ 74 ปีแล้ว แต่ยังคงใช้เงินได้อยู่
รัชกาลที่ 5 พระราชทานรถไฟให้ชาวไทย
ขบวนพิเศษเมื่อวันที่ 12 ส.ค. 66
ขบวนพิเศษ ที่ลากจูงโดยรถจักรไอน้ำ หมายเลข 824 และหมายเลข 850 จะมีออกเดินรถ เป็นเที่ยวไป_กลับ ปีละ 6 ครั้ง ดังนี้
ขบวนพิเศษ ปีละ 6 ครั้งเท่านั้น
ขบวนพิเศษ ที่ลากจูงโดยรถจากไอน้ำที่มีอายุ 73 ปี และ 74 ปี ที่ยังสามารถขับเคลื่อน ลากจูงได้จริง เป็นเสน่ห์อย่างยิ่ง ของการรถไฟแห่งประเทศไทย และยังเป็น ที่ชื่นชม ยกย่องของนานาประเทศ ที่ประเทศไทยยังสามารถดูแล บำรุงรักษาหัวรถจักรไอน้ำ ที่มีอายุมากขนาดนี้ให้ยังสามารถใช้งานได้จริง
🥰เสน่ห์อีกอย่างหนึ่งบนขบวนรถไฟไทย คือพ่อค้าและแม่ค้าที่ขึ้นมาเดินขายของบนขบวนรถไฟสายต่างๆ
🙍ในข้อเท็จจริงพ่อค้า และแม่ค้าเหล่านี้ล้วนแต่เป็นผู้ที่สูงอายุ จะยังสามารถมีแรง มีกำลังขึ้นมาเดินขายของบนขบวนรถไฟได้นานอีกสักเพียงใด
😊ผมก็ได้แต่หวังว่า ขอให้พ่อค้า แม่ค้าทุกท่าน ที่เป็นผู้สูงอายุ หวังให้ท่านยังมีสุขภาพที่แข็งแรง มีกำลังใจดี สามารถขายของได้ไปอีกหลายๆปี และยังแอบหวังว่า จะมีผู้ค้ารายอื่นที่เป็นผู้ค้ารุ่นใหม่มาสืบทอดหรือขายต่อไป
เป็นกำลังใจให้พ่อค้าและแม่ค้าบนรถไฟทุกท่านทุกท่านล้วนมีอัธยาศัยดี ขอให้มีกำลังกายกำลังใจที่ดี
อยู่ขายของบนรถไฟไปได้อีกยาวนาน
โฆษณา