เข้ามาช่วยหนุน ขณะที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจ Recession ยังเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด หลังสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลกต่างมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ นับแต่ช่วงต้นเดือน ส.ค. 2566 ถึง 3 เจ้าด้วยกัน
เริ่มต้นจากวันที่ 2 ส.ค. Fitch Ratings ประกาศ ปรับอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินต่างประเทศของสหรัฐ จากระดับ AAA ลดลงสู่ AA+ โดยอ้างถึงภาวะการถดถอยทางการคลังที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า รวมถึงปัญหาภาระหนี้ภาครัฐที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือมีขึ้นหลังจากสภาอเมริกันสภาสหรัฐฯ ผ่านร่างกฎหมายเพดานหนี้ภาครัฐ เมื่อเดือนมิ.ย.
หลังจากการหารือยืดเยื้อมาหลายเดือน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ เจเน็ต เยลเลน ได้แสดงท่าทีที่ไม่เห็นด้วยกับการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือสหรัฐฯในครั้งนี้ และระบุในแถลงการณ์ว่า “กระทำโดยลำพังและอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลเก่า”
ต่อมาในวันที่ 8 ส.ค. Moody’s ปรับอันดับความเชื่อถือของธ.พ.ขนาดกลางและขนาด เล็กของสหรัฐฯ 10 แห่ง ลดลง 1 ขั้น พร้อมประกาศทบทวนเครดิตของ ธ.พ. ขนาดใหญ่อีกครั้ง (6 แห่งอาจถูก Downgrade) โดย Moody’s ให้เหตุผลในการปรับลดดังกล่าวเนื่องจากต้นทุนการระดมทุนที่สูงขึ้น ความอ่อนแอด้านกฎระเบียบที่อาจเกิดขึ้น และความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงกับสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชย์ ท่ามกลางความต้องการพื้นที่สำนักงานที่ลดลง ประกอบกับความเครียดที่กระตุ้นให้เกิดการทบทวน
และล่าสุด วันที่ 22 ส.ค. S&P Global Ratings ปรับลดอันดับเชื่อถือของธ.พ.สหรัฐฯ 5 แห่ง และยังมีแนวโน้มว่าจะ Downgradeเครดิต ธ.พ.อีกหลายแห่ง โดย S&P เตือนว่า ธนาคารเหล่านี้อาจมีความเสี่ยงในการจัดหาเงินทุน (Funding Risk) รวมไปถึงความสามารถในการทำกำไรที่ลดลง มีแนวโน้มที่จะทดสอบความแข็งแกร่งด้านเครดิตของภาคธนาคารสหรัฐฯ
ทั้งนี้ S&P ได้ปรับลดอันดับเครดิตของธนาคาร Associated Banc-Corp และ Valley National Bancorp ลง โดยอ้างเกี่ยวกับความเสี่ยงในการจัดหาเงินทุนและการพึ่งพาเงินฝากประเภท Brokered Deposit ที่สูงขึ้น นอกจากนี้ยังปรับลดอันดับเครดิต UMB Financial Corp, Comerica Bank และ Keycorp โดยอ้างถึงการไหลออกของเงินฝากจำนวนมากและอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
2 ถูกใจ
317 รับชม
แสดงความคิดเห็นของคุณ...
  • 2
    โฆษณา