เที่ยวไปทั่วกับหมอเฉลิมชัยนั้น โดยปกติจะเป็นการออกเดินทางไปท่องเที่ยว ใกล้บ้าง(ทริปในประเทศ) ไกลบ้าง(ทริปต่างประเทศ)
แต่ในครั้งนี้ จะเป็นทริปพาไปเที่ยวสถานที่ไกลมาก คือห่างออกไปเป็นระยะทางถึงกว่า 380,000 กิโลเมตร
ระบบสุริยะของเรา
แต่ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย คือจะชื่นชมจากบ้านของเราเอง
ทริปนี้ไกลระดับออกไปชื่นชมสถานที่นอกโลกกันเลยทีเดียว คือชวนมาชื่นชมดาวบริวารดวงเดียวของโลกคือดวงจันทร์นั่นเอง
เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นวงรี จึงมีระยะห่างจากโลกไม่เท่ากัน
ระยะใกล้ที่สุด 363,104 กิโลเมตร
ระยะไกลที่สุด 405,696 กิโลเมตร
ส่วนระยะทางเฉลี่ยระหว่างดวงจันทร์กับโลก
คือ 384,399 กิโลเมตร
บลูมูน (Blue Moon) คือเหตุการณ์ที่ดวงจันทร์เต็มดวง (Full Moon) หรือคืนวันเพ็ญ ซึ่งบังเอิญมาเกิดขึ้นสองครั้งภายในเดือนเดียวกัน
กล่าวคือในเดือนสิงหาคม 2566 มีคืนพระจันทร์วันเพ็ญเต็มดวงถึงสองครั้ง
โดยปกติ หนึ่งเดือนจะมีคืนวันเพ็ญเพียงหนึ่งครั้ง
1
แต่เนื่องจากดวงจันทร์โคจรรอบโลกหนึ่งรอบ ใช้เวลาไม่ถึงหนึ่งเดือนดี คือใช้เวลา 29.53 วัน
ทำให้ภายในหนึ่งปี ดวงจันทร์จะโคจรรอบโลกได้มากถึง 12.37 รอบ ไม่ใช่ 12 รอบพอดีเป๊ะ
เมื่อเวลาผ่านไป 2-3 ปี ก็จะมีเดือนที่มีคืนพระจันทร์วันเพ็ญสองครั้งเกิดขึ้นในเดือนเดียวกันได้
เฉลี่ยแล้วจะพบ 7 ครั้ง ในรอบ 19 ปี
บลูมูนอาจหมายถึงพระจันทร์สีฟ้า แต่ที่เรากำลังจะมาชื่นชมกันนี้ ใช้เรียกเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น
ดวงจันทร์จากบ้านประชาชื่น กรุงเทพฯ
ซึ่งในคืนวันที่ 30 ต่อเนื่อง 31 สิงหาคม 2566 เราจะสามารถท่องเที่ยวแบบชื่นชมพระจันทร์ได้ ตั้งแต่ตอนช่วงหัวค่ำ
พร้อมไปในเวลาเดียวกัน เราสามารถจะชื่นชมดาวเสาร์ ซึ่งเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ช่วงพลบค่ำเป็นต้นไปอีกด้วย
ภาพที่ผู้เขียนบันทึกไว้นี้ ใช้กล้อง Canon รุ่น PowerShot SX70HS ซึ่งมีความสามารถในการซูมถึง 65 เท่า ความละเอียด 20.3 ล้านพิกเซล ราคาเพียงหมื่นบาทเศษ(ถูกกว่ามือถือหลายรุ่นทีเดียว)
โดยบันทึกภาพ จากบ้านประชาชื่น ในวันคืนวันอังคารที่ 29 สิงหาคม 2566 เวลาประมาณ 20:00 น.
ถ่ายจากกล้อง Cannon ที่บ้านประชาชื่น
จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจทุกท่าน ร่วมชื่นชมพระจันทร์วันเพ็ญแบบบลูมูน ซึ่งสองสามปีจะมีสักครั้ง ในคืนวันที่ 30 และ 31 สิงหาคม 2566 นี้
แสดงความคิดเห็นของคุณ...
  • 32
    โฆษณา