Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
กรุงเทพธุรกิจ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
1 ก.ย. 2023 เวลา 12:01 • ไลฟ์สไตล์
งานไม่หนัก-เงินดี มีไหม? ‘Lazy-Girl Jobs’ เทรนด์คนทำงานรุ่นใหม่
เทรนด์การทำงานของคนรุ่นใหม่ อยากได้งานไม่หนัก แต่ขอเงินดี ๆ นี่คือ “Lazy-Girl Jobs” เทรนด์ใหม่มาแรงจาก “TikTok” ที่เป็นการปฏิวัติคุณภาพชีวิต และสภาพแวดล้อมที่ดีของพนักงาน ด้วยการขอทำงานโดยไม่กระทบต่อคุณค่าและคุณภาพชีวิต สร้าง “Work Life Balance” ได้ตามต้องการ
คนรุ่นใหม่หวงแหนชีวิตส่วนตัวกันมากขึ้น อยากมีเวลาสำหรับใช้ชีวิตและผ่อนคลายมากกว่าต้องทุ่มเทกายและใจให้งาน ทำให้ในระยะหลังเกิดเทรนด์การทำงานที่รักษาสมดุล ระหว่างชีวิตและการทำงาน เช่น “Quiet Quitting” ที่ไม่ทำงานหนักจนเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดภาวะหมดไฟ
ล่าสุดเกิดเทรนด์การทำงานใน TikTok ที่เรียกว่า “Lazy-Girl Jobs” เป็นคำเรียกงานที่มั่นคงและปลอดภัย ทำงานจากที่ใดก็ได้ ได้ค่าแรงที่สมเหตุสมผลกับงานโดยไม่กระทบต่อคุณค่าและคุณภาพชีวิตของพวกเขา ส่งผลให้ชาวเจน Z สร้าง Work Life Balance ได้ตามต้องการ แต่ไม่ใช่การขี้เกียจ พวกเขายังคงทำงานเสร็จตามเวลา ซึ่งคำนี้ถูกบัญญัติโดย กาเบรียล จัดจ์ ติ๊กต็อกเกอร์ชื่อดัง
Lazy-Girl Jobs มีรากฐานแนวคิดมาจากเทรนด์ที่ให้ผู้หญิงรู้สึกผ่อนคลายจากความเหนื่อยหน่ายที่ต้องทำความคาดหวังของสังคม เช่น การนอนเน่าบนเตียง (Bed Rotting) ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น กินข้าว เล่นโซเชียลมีเดีย บำรุงผิวพรรณ หรือนอนมองเพดานอยู่บนเตียงตลอดทั้งวัน รวมถึงเทรนด์ Girl Dinners ที่ผู้หญิงจะกินตามใจปาก ทั้งขนมและของหวานแทนอาหารมื้อหลักอย่างเต็มคราบ
อีกทั้งปฏิบัติไม่ได้ว่า “ผู้หญิง” โดยเฉพาะผู้หญิงที่เป็น “แม่” แล้ว มักจะถูกกีดกันในที่ทำงานจากลักษณะบุคลิกภาพของพวกเธอ สุขภาพ รวมถึงสิทธิ์การลาคลอดบุตร ที่ผู้ชายบางคนมองว่าเป็นอภิสิทธิ์เหนือคนอื่น ทำให้พนักงานหญิงจำนวนมากรู้สึกว่าจำเป็นต้องผลักดันตัวเองให้หนักขึ้นหรือทำงานนานกว่าผู้ชาย ส่งผลให้ผู้หญิง มีภาวะวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ามากขึ้น
หัวใจหลักของเทรนด์เหล่านี้จึงเป็นการทลายค่านิยมของสังคมที่บอกว่า การมีความสุขกับชีวิตจะทำให้พวกคุณเป็นพนักงานที่ไม่ดี
ไม่เพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้นที่เผชิญปัญหาดังกล่าว ผู้ชายและกลุ่ม LGBTQ+ ต่างเผชิญหน้ากับปัญหาในที่ทำงานเช่นกัน รายงาน “Global Workplace” ของ Gallup บริษัทให้คำปรึกษาด้านการจัดการ ทำการสำรวจผู้ใหญ่วัยทำงานมากกว่า 120,000 คนทั่วโลก ระบุว่าพนักงาน 6 ใน 10 คน ใช้ความพยายามไม่ถึงขีดจำกัดที่พวกเขามีในการทำงาน และวัฒนธรรมองค์กรสิ่งที่ทำให้พวกเขาไม่สบายใจในการทำงานมากที่สุด
1
นอกจากนี้ พนักงานผู้ชายจำนวนมากเริ่มโพสต์บนแพลตฟอร์มแบบไม่ระบุตัวตนมากขึ้น เช่น กลุ่ม "ต่อต้านการทำงาน" บน Reddit เว็บบอร์ดสาธารณะ เพื่อบ่นและระบายถึงปัญหาในการทำงาน ทั้งเนื้องาน วิธีการทำงาน เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ตลอดจนค่าจ้าง และความรู้สึกผิดที่จะใช้วันหยุด
“การแยกชีวิตส่วนตัวออกจากงานเป็นเรื่องที่ควรทำ ไม่เช่นนั้นทุกอย่างจะปนเปกันไปหมด แต่ไม่ใช่ว่าเราจะทิ้งงานไปเลย เรายังคงทำงาน แต่แค่ไม่ต้องอยู่กับมันทั้งหมด 100%” จัดจ์กล่าวในวิดีโอไวรัลของเธอ
จัดจ์ตั้งใจใช้คำว่า “Lazy” (ขี้เกียจ) แทนปรากฏการณ์ดังกล่าว เพื่อประชดสังคมที่มักจะมองคนที่ให้ความสำคัญกับ Work Life Balance ว่าเป็นคนขี้เกียจ และชื่นชมคนที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำว่า เป็นคนขยัน ดังนั้น คนที่ทำตามเทรนด์ Lazy-Girl Jobs จึงไม่ได้หมายความว่าพวกเขาเป็นคนขี้เกียจหรือจำกัดไว้แค่ผู้หญิงเท่านั้น
อ่านต่อ:
https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1085050
6 บันทึก
16
3
6
16
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย