Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
6 ก.ย. 2023 เวลา 22:33 • สุขภาพ
Postural hypotension คืออะไร เกี่ยวกับยามั้ย?
เมื่อวันก่อนผมบังเอิญเจอเคส Postural hypotension ที่น่าสนใจ ที่สำคัญคือคนส่วนมากยังไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เท่าที่ควร ทั้งที่มีปัจจัยมากมายที่อาจทำให้เกิดภาวะดังกล่าว วันนี้จึงนำมาแชร์กันครับ
postural hypotension หรือ orthostatic hypotension คือภาวะความดันโลหิตต่ำลงขณะเปลี่ยนท่า นั่งนอนมาเป็นยืน โดยอาการมักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยเฉพาะในช่วงเช้าของวัน ช่วงที่ร่างกายขาดน้ำ ช่วงที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือในขณะที่สภาวะแวดล้อมหรือร่างกายมีอุณหภูมิสูง จากนั้นอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น
ในบางกรณี ผู้ป่วยอาจพบอาการอื่นร่วมด้วย เช่น สายตาพร่ามัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ ปวดศีรษะ หายใจไม่อิ่ม ไม่มีสมาธิ สับสน รู้สึกร้อนวูบวาบ มีเหงื่อออกมาก ใจสั่น กล้ามเนื้อสั่น หรืออาจเป็นลม เป็นต้น
มนุษย์เราพัฒนาการมายืนสองขา เมื่อเรายืนขึ้นเลือดดำจะตกไปกองที่ขาจากแรงดึงดูดโลก แน่นอนเมื่อเลือดดำไม่ไหลเข้าหัวใจ ก็ไม่มีเลือดจากหัวใจพอจะไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ร่างกายไม่ยอมแน่จึงได้มีเครื่องมือสำคัญในการรักษาระดับความดันโลหิต เมื่อแรงดันเลือดลดลง จากปริมาณเลือดลงเวลายืน เซ็นเซอร์ตรวจจับที่ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ที่คอ (baroreceptor) จะส่งสัญญาณไปที่สมองให้ส่งกระแสประสาทมากระตุ้นอัตราการเต้นหัวใจ และส่งกระแสประสาทลงมาตามไขสันหลังไปที่หลอดเลือดแดงให้หดตัวเพื่อเพื่มความดันเลือด
หากระบบประสาทเราเสียหาย เราจะไม่สามารถรักษาระดับความดันได้ดังเช่นคนไข้โรคพาร์กินสันที่มีระบบประสาทอัตโนมัติบกพร่อง การดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำให้แรงดันหลอดเลือดแดงลดลง ที่กล่าวมาเป็นสาเหตุของความดันที่ตกลงไป
โดยสาเหตุหลักๆของภาวะ postural hypotension ประกอบด้วย
-อายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงอายุ 65 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพของร่างกายในการปรับความดันโลหิตจะลดลง
-ความผิดปกติทางหัวใจ เช่น ภาวะหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ ภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย เป็นต้น
-ความผิดปกติทางระบบประสาท เช่น โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disease) หรือภาวะสมองเสื่อมชนิด Lewy Body เป็นต้น
-โรคหรือภาวะผิดปกติบางชนิด เช่น ความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ โรคแอดดิสัน (Addison's Disease) เบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะขาดน้ำ หรือภาวะโลหิตจาง เป็นต้น
-การใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาความดันโลหิตสูง ยารักษาโรคหัวใจ ยารักษาพาร์กินสัน ยาต้านอาการทางจิต ยาคลายกล้ามเนื้อ ยารักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ยาต้านเศร้า หรือยาแก้ปวดชนิดเสพติด (Narcotics) เป็นต้น
เวลาตรวจว่ามี orthostatic hypotension หรือไม่ เมื่อมีประวัติอันพึงสงสัยเช่นหน้ามืดขณะลุกนั่ง เป็นลมหมดสติ สามารถทำได้โดยการใช้เตียงที่ปรับเอียงได้คือปรับจากนอนราบมาเป็นนอนในแนวดิ่งคล้ายๆยืน ต่างจากยืนตรงที่เท้าไม่ได้รับน้ำหนักกับพื้น และ ไม่ได้ตั้งตรง 90 องศา เรียกเตียงปรับระดับนี้ว่า Tilt-Table ให้นอนราบ 5 นาที วัดค่าความดัน แล้วปรับเตียงขึ้น 70-80 องศา แล้ววัดความดันซ้ำหลังจากค้างอยู่ท่านั้นเป็นเวลาสามนาที โดยต้องวัดชีพจรตลอด
การป้องกันภาวะ Postural hypotension สามารถทำได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะ Postural hypotension อาทิเช่น
-ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
-ควบคุมปริมาณอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงในแต่ละมื้ออาหารให้พอเหมาะ
-หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง
-ปรับหมอนหนุนศีรษะขณะนอนให้สูงขึ้น
-หลีกเลี่ยงการลุกขึ้นยืนอย่างรวดเร็วขณะนั่งหรือนอน
-ขยับหรือเปลี่ยนท่าทางบ่อย ๆ หากต้องยืนหรืออยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน
การรักษาก็เช่นกันคือขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เข้ามามีผล ทั้งนี้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์
อ้างอิง
Am Fam Physician. 2011 Sep 1;84(5):527-536.
J Clin Neurol. 2015 Jul; 11(3): 220–226.
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/28050656/
ข่าว
ความรู้รอบตัว
การแพทย์
1 บันทึก
9
3
1
9
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย