8 ก.ย. 2023 เวลา 07:03 • ข่าวรอบโลก

NUG ประเมินสถานการณ์ภายในฝ่ายSACกำลังเสียเปรียบในการต่อสู้กับกลุ่มต่อต้าน

รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) หรือ ฝ่ายต่อต้าน รบ.กองทัพเมียนมา รายงานสถานการณ์ภายในว่า ทหารราว 30,000 รายเสียชีวิตในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ผ่านการสู้รบมากกว่า 9,900 ครั้งทั่วประเทศ ตัวเลขเหล่านี้เน้นย้ำถึงระดับการต่อต้านระบอบการปกครองของรัฐบาลกองทัพทหาร โดยมีมุ่งมั่นในการสร้างระบอบใหม่ภายใต้การนำของพลเรือนในรูปแบบสหพันธรัฐประชาธิปไตย
รายงานของNUG ยังระบุด้วยว่า กองทัพเมียนมามี 521 กองพันสำหรับกองกำลังภาคพื้นดิน และเชื่อว่าจำนวนทหารทั้งหมดอาจมีประมาณ 65,000 กองพัน ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งถูกทำลายไปแล้ว เมื่อรวมกับทางอากาศและกองทัพเรือ กองทัพอาจมีกำลังพลระหว่าง 225,000 ถึง 240,000 คน เมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รายงานของ NUG ระบุว่า ร้อยละ 12.5 ของกองทัพ ได้ลดลงในการส่งไปสู้รบในแนวหน้า โดยหลายพันคนต้องเผชิญกับการจำคุกและละทิ้งกองทัพ
กระทรวงกลาโหมของNUG ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความพยายามของฝ่ายต่อต้านในการท้าทายการควบคุมของรัฐบาลกองทัพเมียนมา โดยรายงานประจำปีเป็นการพิสูจน์ถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างไม่หยุดยั้งและการเสียสละของผู้ต่อสู้เพื่ออนาคตที่ดีกว่าในเมียนมา ความสูญเสียของรัฐบาลกองทัพเมียนมาที่เกิดขึ้น บ่งชี้ถึงผลกระทบที่สำคัญของความขัดแย้งที่กำลังดำเนินอยู่ ด้วยการสู้รบหลายพันครั้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ เห็นได้ชัดกลุ่มต่อต้านเริ่มมีเอกภาพและความเข้มแข็ง ในการสู้รบอย่างดุเดือดกับกองกำลังของรัฐบาลทหาร
ที่สำคัญ คือ ความพยายามของNUG ได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางทั้งภายในประเทศและจากประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะในห้วงการประชุมสุดยอดอาเซียนในห้วง ต้นกันยายน 2566 ที่ประชุมของอาเซียนมีท่าทีที่แข็งกร้าวกับ รัฐบาลกองทัพเมียนมาอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากรัฐบาลกองทัพเมียนมา ไม่ยอมทำตามมติ 5 ข้อของอาเซียน นับตั้งแต่มีการผลักดันเรื่องนี้ออกมา
ผลที่ออกมาของท่าทีของอาเซียนจะทำให้เมียนมาและอาเซียนมีระยะห่าง และจะมีผลกระทบต่อไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ไม่ให้เมียนมาเป็นประธานอาเซียนในปี2569 โดยมอบหมายฟิลิปปินส์แทน ตั้งกลไกที่ไม่เป็นทางการ ซึ่งประกอบด้วยประธานอาเซียนในอดีตและปัจจุบัน มาแก้ไขปัญหาภายในเมียนมา และเมียนมายังคงไม่ได้รับเชิญเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป
ด้วยทิศทางดังกล่าวทางเลือกของเมียนมาจึงอยู่ที่จีน และรัสเซียเป็นหลัก เมื่อเป็นเช่นนี้ 5 ข้อของอาเซียน จึงไม่ได้เป็นสิ่งที่รัฐบาลกองทัพเมียนมาได้ให้ความสำคัญแต่อย่างใด
นอกจากนี้ การประเมินข้างต้น จะเห็นได้ชัดว่าความขัดแย้งในเมียนมามีทิศทางที่ทำให้เห็นว่ากองทัพเมียนมากำลังจะเสียเปรียบกลุ่มต่อต้านทั้งในระดับพื้นที่และต่างประเทศ โดยในระดับพื้นที่นั้น ทางSACได้ประเมินอย่างชัดเจนว่ามีกลุ่มPDFเพิ่มขึ้นเป็น 500 กลุ่มจาก200กลุ่มในช่วงแรกๆของการควบคุมอำนาจ
ขณะที่ชนกลุ่มน้อยเริ่มเอนเอียงไปสนับสนุนPDFทั้งทางเปิดและทางลับ อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากความชอบธรรมของNUGเริ่มมีมากขึ้นในต่างประเทศ และประชาชนยังให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อทำให้สงครามปลดปล่อยประสบผลสำเร็จ ส่งผลให้หลายพื้นที่อยู่ในความควบคุมของกลุ่มต่อต้าน และกองทัพเมียนมาไม่สามารถเข้าไปในพื้นที่ได้ เพราะขีดความสามารถที่เพิ่มขึ้นของกองทัพNUG ที่มีเงินทุนจำนวนมหาศาล
รวมทั้งจากปัญหาภายในกองทัพเมียนมาเอง ดังจะเห็นจากการพัฒนาของFederal Wing ที่นำโดรน(Drone) มาใช้โจมตีมากขึ้น และในภาคพื้นดิน มุ่งต่อการโจมตีและยึดครองในเขตเมืองสำคัญ คือ กรุงเนปียดอ ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ ซึ่งเป็นยุทธการที่จะเกิดขึ้นต่อไป โดย SAC ทราบเรื่องนี้ดี และได้วางแผนในการป้องกัน แต่จะสามารถป้องกันการโจมตีได้ด้วยDroneหรือไม่นั้น คงจะได้เห็นภาพความเสียหายในอนาคต
.............................................................
โฆษณา