24 ก.ย. 2023 เวลา 13:00 • สุขภาพ

‘โรคเตียงดูด’ เสพติดการนอน ไม่ใช่เพราะขี้เกียจ แต่เสี่ยง ‘ป่วยทางจิต’?

ตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น อยากนอนต่อ ลืมตาไม่ขึ้น จนสุดท้ายก็นอนอยู่บนเตียงไปแล้วทั้งวัน คล้ายกับว่า “เสพติดการนอน” บางคนอาจมองว่าเป็นเพราะนิสัยส่วนตัวหรือพฤติกรรมความขี้เกียจ แต่ความจริงแล้วอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าเข้าข่ายเป็น “โรคเตียงดูด” ที่อาจทำให้มีอาการ “ป่วยทางจิต” ตามมาในอนาคต
8
😪 ตื่นมาแล้วไม่อยากลุก หรือ ง่วงนอน อยากนอนทั้งวัน เป็นเพราะอะไร?
3
การลืมตาตื่นในตอนเช้าของบางคนอาจเป็นเรื่องยาก ต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากในการลุกจากเตียง รู้สึกว่ายังไม่อยากตื่น อยากนอนต่อเป็นประจำ แม้ว่าจะสายแล้ว หรือไม่ได้ง่วงนอนแล้วก็ตาม หากมีอาการดังกล่าว ถือว่าเข้าข่ายภาวะ “Dysania” หรือ “Clinomania” อย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงแม้ว่าจะมีลักษณะโดยรวมของอาการ สาเหตุ และผลกระทบใกล้เคียงกัน แต่ความจริงแล้วเป็นภาวะที่มีความแตกต่างกันเล็กน้อย
6
😪 “Dysania” เช้าแล้ว แต่ไม่อยากตื่น กว่าจะลุกได้ทำไมยากจัง?
4
อาการหลักๆ คือ เมื่อตื่นมาแล้วจะไม่สามารถลุกจากเตียงได้ทันที บางคนต้องใช้เวลาในการพยายามลุกออกจากเตียงเป็นชั่วโมง และมักมีความรู้สึกหนักใจ วิตกกังวล เมื่อคิดจะลุกออกจากเตียง พอลุกออกจากเตียงไปแล้วก็ยังรู้สึกว่าอยากกลับไปนอนต่อ และเป็นภาวะเรื้อรัง โดยมีปัจจัยบางส่วนมาจากความเหนื่อยล้าสะสม โดยทั่วไปแล้ว Dysania มักเป็นอาการของปัญหาที่ซ่อนอยู่ใน “สุขภาพจิต” หรือ “สุขภาพกาย” อีกทีหนึ่ง เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ หรือความเจ็บป่วยทางกายอื่นๆ
7
😪 “Clinomania” อยากนอนอยู่ทั้งวัน มีความสุขกับการใช้ชีวิตบนเตียง
5
แม้จะมีความใกล้เคียงกับภาวะ Dysania พอสมควร แต่ก็มีจุดที่แตกต่างคือ ผู้ป่วยจะอยากนอนอยู่บนเตียงทั้งวันจนแทบไม่ลุกออกไปทำอะไรอย่างอื่นเลย หรือบางครั้งก็ทำกิจกรรมต่างๆ บนเตียงไปเลย ไม่ว่าจะเป็น ทำงาน รับประทานอาหาร ดูทีวี อ่านหนังสือ หรือ เล่นโทรศัพท์มือถือ ไม่ได้มีปัญหาในการลุกจากเตียงแค่ตอนเช้าเพียงอย่างเดียว ทำให้ได้ชื่อว่าโรคเตียงดูด เพราะสามารถใช้ชีวิตอยู่บนเตียงได้ทั้งวันทั้งคืน
ด้าน เนหา เมห์ตา (Neha Mehta) นักจิตวิทยา เปิดเผยผ่าน My Fit Brain ว่า ภาวะ Clinomania บังคับให้เรานอนอยู่บนเตียงไม่ใช่เพราะเราต้องการนอนมากขึ้น แต่ทำให้เรารู้สึกปลอดภัยมากที่สุดเมื่อได้นอนอยู่บนเตียง และพบได้ในผู้คนที่ต้องเผชิญกับความเครียดหรือภาวะซึมเศร้ามากถึงร้อยละ 70
12
😪 อาการ และสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด Clinomania และ Dysania
2
แม้ว่าปัญหาการนอนทั้งสองประเภทจะมีความแตกต่างกัน แต่ก็มีสาเหตุการเกิดโรคที่ใกล้เคียงกันมาก ใครที่สงสัยว่าตัวเองหรือคนใกล้ตัวอาจกำลังตกอยู่ในภาวะ Dysania หรือ Clinomania สามารถสังเกตได้เบื้องต้นดังนี้
6
- ในตอนเช้าไม่อยากลุกจากเตียงไปทำกิจวัตรประจำวัน และเลื่อนนาฬิกาปลุกเพื่อนอนต่อไปอีกเรื่อยๆ
- นอนได้ทั้งวัน ง่วงนอนตลอด และนอนได้ทุกที่ เช่น ฟุบหลับบนโต๊ะ นั่งหลับบนเก้าอี้ ใช้เวลาเพียงไม่นานก็นอนหลับได้
- ไม่ว่าจะอารมณ์ไหนก็มองว่าเตียงนอนคือจุดหมาย เช่น เครียด เศร้า มีความสุข สุดท้ายแล้วก็เลือกที่จะนอน
3
- นำกิจกรรมทุกอย่างมาทำบนเตียง เช่น รับประทานอาหาร อ่านหนังสือ เล่นโซเชียล ดูทีวี หรือแม้กระทั่งทำงาน
- เชื่อและมีความเข้าใจว่า การนอนเป็นสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขที่สุดในชีวิต ทำให้สามารถใช้ชีวิตอยู่บนเตียงนอนได้ตลอดทั้งวัน
5
นอกจากนี้การนอนมากเกินไปนั้นยังส่งผลให้ สภาวะอารมณ์แปรปรวน พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีภาวะเครียดหรือวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคทางจิตเวช
5
โฆษณา