9 ก.ย. 2023 เวลา 16:32 • ธุรกิจ

The perfect guideline for Warehouse Proposal

กว่า 20 ปีที่ดำเนินธุรกิจขายอสังหาริมทรัพย์
DVP รับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจ
ในการสร้างแผนธุรกิจเพื่อเริ่มต้นและขยายธุรกิจอยู่พอสมควร
สำหรับผู้ประกอบการส่วนมาก
มักจะไม่คุ้นเคยกับการสร้างแผนธุรกิจประเภทคลังสินค้า
ในบทความนี้ DVP จะมาแบ่งปันวิธีเขียน
แผนธุรกิจคลังสินค้าและโรงงานทีละขั้นตอน
เพื่อให้ผู้ที่สนใจใช้เป็นแบบร่างในการพัฒนาแผนธุรกิจของตนเองได้ตั้งแต่วันนี้
สรุป 10 หัวข้อในการเขียนแผนธุรกิจ
  • 1.
    Executive Summary บทสรุปผู้บริหาร
  • 2.
    Company Overview ภาพรวมของบริษัท
  • 3.
    Industry Overview บทวิเคราะห์อุตสาหกรรม
  • 4.
    Customer Analysis บทวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า
  • 5.
    Competitive Analysis บทวิเคราะห์คู่แข่ง
  • 6.
    Marketing Plan แผนการตลาด
  • 7.
    Operation Plan แผนปฏิบัติการ
  • 8.
    Management Team ทีมผู้บริหาร
  • 9.
    Financial Plan แผนทางการเงิน
  • 10.
    Appendix ภาคผนวก
ทั้งหมดนี้คือ 10 หัวข้อที่ทุกแผนธุรกิจจะต้องมี
มาดูวิธีการเขียนแผนธุรกิจสำหรับคลังสินค้ากัน
#1 Executive Summary [บทสรุปผู้บริหาร]
เป็นการบรรยายสรุปรายละเอียดหลักของเนื้อหาในเอกสารทุกหัวข้อ
เอามานำเสนอไว้ในบทนี้ให้ครบและสั้นกระชับแต่เข้าใจง่ายที่สุด
ตามปกติแล้ว มักจะเขียนเป็นส่วนสุดท้าย
เนื่องจากเป็นการสรุปข้อมูลส่วนสำคัญในแต่ละส่วนของแผนธุรกิจที่จะนำเสนอ
หน้าที่ของ Executive Summary
คือ ดึงดูดผู้อ่านให้เข้าใจได้มากและไวที่สุด
เทคนิคการเขียน Executive Summary
อธิบายให้เข้าใจถึงประเภทของธุรกิจคลังสินค้าที่กำลังดำเนินอยู่
พร้อมสถานะปัจจุบัน เช่น
  • เป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีธุรกิจคลังสินค้าพร้อมขยายการเติบโต
  • เป็นธุรกิจคลังสินค้าแบบที่มีกลุ่มผู้บริหารรายใหญ่คอยดูแลอยู่
จากนั้น ขยายภาพรวมของแต่ละส่วนในแผนธุรกิจ ดังนี้
  • ภาพรวมอุตสาหกรรมคลังสินค้าและโรงงาน
  • ประเภทธุรกิจคลังสินค้าที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่
  • บทวิเคราะห์คู่แข่งทางตรง และภาพรวมกลุ่มตลาดเป้าหมาย
  • ภาพรวมกลยุทธ์ทางการตลาดและทีมงานคนสำคัญ
  • ภาพรวมของแผนการเงินในปัจจุบัน
#2 Company Overview [ภาพรวมของบริษัท]
คือบทบรรยายเกี่ยวกับประเภทธุรกิจคลังสินค้าที่กำลังดำเนินการอยู่
เช่น ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจคลังสินค้าประเภทใดใน 5 ประเภทนี้
  • ศูนย์กระจายสินค้า [Distribution Centers]
  • คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ [Climate-Controlled Warehouses]
  • คลังสินค้าอัจฉริยะ [Smart Warehouses]
  • คลังสินค้าทัณฑ์บน [Bonded Warehouses]
  • คลังรวบรวมสินค้า [Consolidated Warehouses]
มาดูคำอธิบายของคลังสินค้าทั้ง 5 ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ 1) ศูนย์กระจายสินค้า [Distribution Centers]
เป็นสถานที่ขนาดใหญ่ที่บรรจุสินค้าปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ
จากผู้ผลิตสินค้าหลายราย เพื่อขนส่งไปยังลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
ประเภทที่ 2) คลังสินค้าควบคุมอุณหภูมิ [Climate-Controlled Warehouses]
เป็นผู้เชี่ยวชาญการจัดเก็บสินค้าที่ไวต่ออุณหภูมิ
เช่น อาหารแช่แข็ง ผักผลไม้ และสินค้าเน่าเสียง่าย
ประเภทที่ 3) คลังสินค้าอัจฉริยะ [Smart Warehouses]
ทำงานบนระบบ AI เพื่อทำให้กระบวนการจัดเก็บ
จัดระเบียบ และขนส่งสินค้าเป็นไปแบบอัตโนมัติ
ประเภทที่ 4) คลังสินค้าทัณฑ์บน [Bonded Warehouses]
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดเก็บสินค้านำเข้า
ประเภทที่ 5) คลังรวบรวมสินค้า [Consolidated Warehouses]
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการรับพัสดุขนาดเล็กจากผู้ผลิตสินค้าหลายราย
และจัดกลุ่มเข้าด้วยกันเป็นกองใหญ่เพื่อจัดส่งต่อให้แก่ผู้ซื้อ
นอกจากคำอธิบายประเภทธุรกิจคลังสินค้าที่กำลังดำเนินการอยู่แล้ว
จะต้องให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับธุรกิจเพิ่มอีกด้วย เช่น
  • เริ่มธุรกิจเมื่อไร และทำไมถึงเริ่มธุรกิจนี้
  • Milestone ที่ผ่านมาได้บรรลุเป้าหมายสำคัญอะไรมาแล้วบ้าง เช่น จำนวนลูกค้าที่ให้บริการ, จำนวนการจัดส่งทั้งหมดที่ผ่านมา, รายได้รวมสูงสุดต่อปี ฯลฯ
  • อธิบายโครงสร้างของประเภทธุรกิจว่าอยู่ในหมวดใด เช่น S-Corp, LLC, ฯลฯ
#3 Industry Overview [บทวิเคราะห์อุตสาหกรรม]
เขียนบทวิเคราะห์อุตสาหกรรม
หรือเขียนตลาดภาพรวมของอุตสาหกรรมคลังสินค้า
บทสำคัญที่ต้องมี เพื่อตอบ 3 เหตุผลหลักนี้
  • 1.
    ค้นคว้าเพื่อเพิ่มความรู้ความเข้าใจของตลาดอุตสาหกรรมคลังสินค้าที่กำลังดำเนินธุรกิจอยู่
  • 2.
    วิจัยตลาดเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ทางการตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากบทวิเคราะห์นั้นสามารถชี้แนวโน้มของตลาดได้
  • 3.
    พิสูจน์ให้ผู้อ่านเห็นถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมนี้ จากวิธีการดำเนินการวิจัยและวิธีการนำเสนอในแผนธุรกิจนั่นเอง
บทวิเคราะห์อุตสาหกรรม ควรตอบคำถามดังต่อไปนี้
  • อุตสาหกรรมคลังสินค้ามีมูลค่าทางการตลาดเป็นเท่าไร (ดอลลาร์หรือบาท)
  • การเติบโตในภาพรวมของตลาด กำลังลดลงหรือเพิ่มขึ้น
  • คู่แข่งที่สำคัญที่สุดในตลาดนี้คือใครบ้าง
  • ผู้ผลิตสินค้ารายหลักในตลาดคือใครบ้าง
  • แนวโน้มที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมคลังสินค้ามีอะไรบ้าง
  • คาดการณ์การเติบโตของอุตสาหกรรมในอีก 5-10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร
  • ประเมินขนาดของตลาดทั่วไทย วัดกับขนาดประชากรในท้องถิ่น และคำนวณเป็นตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพที่ทำให้ธุรกิจคลังสินค้ายังคงมีความเป็นไปได้
#4 Customer Analysis [บทวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า]
การวิเคราะห์ลูกค้าในแผนธุรกิจคลังสินค้า
ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับกลุ่มลูกค้า
ที่จะให้บริการ และ/หรือ คาดว่าจะให้บริการ
กลุ่มลูกค้าที่เลือก ส่งผลอย่างมากต่อประเภทธุรกิจคลังสินค้า
เพราะแต่ละกลุ่มตอบสนองต่อแผนส่งเสริมการตลาดที่แตกต่างกัน
โดยแยกลูกค้ากลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 หมวด ดังนี้
  • 1.
    ตามหลักประชากรศาสตร์
  • 2.
    ตามหลักจิตวิทยา
หมวดที่ 1) แบ่งตามหลักประชากรศาสตร์ของผู้มีโอกาสเป็นลูกค้า
  • ข้อมูลประชากร
  • อายุ
  • เพศ
  • สถานที่
  • ระดับรายได้
หมวดที่ 2) แบ่งตามหลักจิตวิทยาของกลุ่มลูกค้า
ไว้ใช้อธิบายความต้องการและสิ่งที่ต้องมีของลูกค้าเป้าหมาย
ยิ่งรับรู้และกำหนดความต้องการเหล่านี้ไดมากเท่าไร
จะยิ่งดึงดูดลูกค้าใหม่และรักษาฐานลูกค้าเดิมได้ดีขึ้นเท่านั้น
#5 Competitive Analysis [บทวิเคราะห์คู่แข่ง]
มีไว้เพื่อระบุคู่แข่งทางตรงและทางอ้อมที่ธุรกิจกำลังเผชิญอยู่
จากนั้น มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์คู่แข่งทางอ้อม
คู่แข่งทางตรง คือ ธุรกิจคลังสินค้ารายอื่น
คู่แข่งทางอ้อม คือ ทางเลือกอื่นที่ลูกค้าต้องซื้อ
ที่ไม่ได้แข่งในแง่ของสินค้าหรือบริการที่ดำเนินอยู่โดยตรง
หมายรวมถึงคลังสินค้าประเภทอื่น เช่น
  • คลังสินค้าออนไลน์ [Order Fulfillment Service Providers]
  • คลังสินค้าที่ผู้ผลิตมีเอง [in-house storage and distribution operations]
บทวิเคราะห์สำหรับคู่แข่งแต่ละราย
ให้แสดงภาพรวมของธุรกิจกับข้อดีข้อด้อย
และสิ่งสำคัญหลักๆ เช่น
  • กลุ่มลูกค้าหลักที่ให้บริการ อยู่ประเภทใดบ้าง
  • จัดอยู่ในธุรกิจคลังสินค้าประเภทใด
  • ระดับราคา (อยู่ในระดับสูงหรือต่ำ)
  • จุดแข็งที่โดดเด่น
  • จุดอ่อนที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขหรือแก้ไขไม่ได้
  • รีวิวจากมุมของลูกค้า ว่าชอบอะไรมากที่สุดและน้อยที่สุด
ส่วนสุดท้ายของบทวิเคราะห์คู่แข่ง คือ
รายงานความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ยกตัวอย่างเช่น
  • ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการง่ายขึ้นกว่าคู่แข่งไหม
  • เสนอสินค้าและบริการที่คู่แข่งไม่มีได้หรือไม่
  • ให้บริการลูกค้าได้ดีกว่าคู่แข่งไหม
  • เสนอราคาที่ดีกว่าคู่แข่งได้หรือไม่
คิดถึงวิธีที่จะทำได้ดีกว่าคู่แข่ง
และบันทึกไว้ในส่วนนี้ของแผนธุรกิจ
เทคนิคการเขียน Competitive Analysis
#6 Marketing Plan [แผนการตลาด]
พื้นฐานแผนการตลาดประกอบโดยทั่วไป
ประกอบด้วยปัจจัย 4 ประการ (4Ps)
  • 1.
    Product - ผลิตภัณฑ์
  • 2.
    Price - ราคา
  • 3.
    Place - สถานที่
  • 4.
    Promotion - โปรโมชั่น
สำหรับกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจคลังสินค้า
ควรพิจารณาด้วยพื้นฐาน 4 ข้อ ดังต่อไปนี้
ข้อที่ 1 ผลิตภัณฑ์ [Product]
เน้นย้ำประเภทของคลังสินค้าที่ระบุไว้ใน
#2 Company Overview [ภาพรวมของบริษัท]
จากนั้นระบุรายละเอียดผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จะนำเสนอ เช่น
คลังสินค้าที่ให้บริการจัดเก็บระยะยาว พร้อมระบบควบคุมอุณหภูมิ
พ่วงงานบริหารคลังสินค้าออนไลน์ ที่สามารถจัดส่งไปยังลูกค้าได้ด้วย
ตัวอย่างการเขียน Marketing Plan
ข้อที่ 2 ราคา [Price]
จัดทำราคาที่พร้อมนำเสนอโดยเทียบกับคู่แข่ง
ซึ่งมักจะอยู่ในส่วนย่อยของผลิตภัณฑ์ในแผนธุรกิจนี้
ข้อที่ 3 สถานที่ [Place]
วิเคราะห์ว่าที่ตั้งของคลังสินค้า ณ ปัจจุบัน
สามารถส่งผลต่อความสำเร็จได้อย่างไร เช่น
คลังสินค้าในย่านค้าปลีกที่พลุกพล่านหรือในย่านธุรกิจ
หรือคลังสินค้าที่แยกตัวออกมาติดถนนหลักหลายสาย
จะเหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าประเภทใดได้บ้าง
ข้อที่ 4 โปรโมชั่น [Promotion]
ส่วนสุดท้ายของแผนการตลาดคลังสินค้า
คือ วิธีดึงดูดผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าไปยังคลังสินค้า
โดยพิจารณาวิธีส่งเสริมการขายดังต่อไปนี้
  • โฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่น สถานีวิทยุ
  • เว็บไซต์
  • ใบปลิว ขบวนรถ
  • การตลาดผ่านอีเมล์ (Email Directing Marketing)
  • โฆษณาผ่าน Social Media
  • ปรับปรุง SEO เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้นหาบนเว็บไซต์ให้ตรงกับคำหลักที่ใช้เข้าถึงได้ตรงเป้าหมาย
#7 Operation Plan [แผนการดำเนินงาน]
เนื้อหาในหมวดก่อนหน้านี้ อธิบายเป้าหมายของธุรกิจ
แต่แผนการดำเนินงาน จะอธิบายวิธีการบรรลุเป้าหมาย
เทคนิคการเขียน Operation Plan
แผนปฏิบัติการ ควรมี 2 ส่วนที่แตกต่างกันดังนี้
กระบวนการระยะสั้นในแต่ละวัน [Everyday Short-Term Process]
คือ งานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจคลังสินค้า เช่น
  • การรับสายจากลูกค้า
  • กำหนดเวลาการจัดส่ง
  • การเรียกเก็บเงิน
เป้าหมายระยะยาว [Long-Term Goals]
คือ Milestone เหตุการณ์สำคัญที่คาดหวังว่าจะบรรลุตามที่ตั้งไว้ เช่น
  • วันที่คาดหวังว่าจะได้รับลูกค้าคนที่ 1 ล้าน
  • เมื่อรายได้ถึง 1 พันล้านบาท จะขยายธุรกิจคลังสินค้าไปยังเมืองใหม่
#8 Management Team [ทีมผู้บริหาร]
เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของธุรกิจคลังสินค้า
ทีมผู้บริหารที่แข็งแกร่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
เทคนิคค้นหา Management Team
อ้างอิงถึงประวัติการทำงานของบุคลากรคนสำคัญ
โดยเน้นทักษะและประสบการณ์ที่จะพิสูจน์ความสามารถ
ที่จะนำพาให้ธุรกิจก้าวหน้าและเติบโตได้
ตามหลักการแล้ว บุคลากรในทีมควรจะมีประสบการณ์ตรง
ในการบริหารจัดการธุรกิจคลังสินค้า
หากเป็นเช่นนั้น ให้เน้นประสบการณ์และความเชี่ยวชาญนี้
และเน้นย้ำถึงประสบการณ์ที่จะช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
หากทีมไม่ได้มีประสบการณ์ด้านนี้โดยตรง
ให้พิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา 2 ถึง 8 ท่าน
ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ตอบคำถามและให้คำแนะนำเชิงกลยุทธ์
โดยเน้นไปที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์บริหารจัดการธุรกิจคลังสินค้า
หรือเชี่ยวชาญด้านบริหารคลังสินค้าสำหรับรายย่อย [Order Fulfillment Service]
#9 Financial Plan [แผนทางการเงิน]
แนะนำให้รวมงบการเงิน 5 ปี
โดยแยกเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสสำหรับปีแรกและรายปี
ประกอบด้วยงบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด
1) Income Statement - งบกำไรขาดทุน
หรือเรียกกันว่า "Profit & Loss statement" หรือ P&L
โดยแสดงรายได้ หักค่าใช้จ่าย เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีกำไรหรือไม่
หากขายได้ 20 ครั้งต่อวัน
สินค้าคงคลังเฉลี่ยจะอยู่ที่ 500 หน่วยหรือไม่
แล้วยอดขายจะโต 2% หรือ 10% ต่อปี
การตั้งสมมติฐานในการคำนวณงบกำไรขาดทุน
การเลือกสมมติฐาน ส่งผลอย่างมากต่อการคาดการณ์ทางการเงิน
ดังนั้น ศึกษาข้อมูลก่อนสร้างสมมติฐานให้ถี่ถ้วน
เพื่อสร้างสมมติฐานได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
2) Balance Sheet - งบดุล
งบดุลแสดงสินทรัพย์และหนี้สิน
แม้ว่างบดุลอาจมีข้อมูลมากมาย
แต่ให้ลดความซับซ้อนลง และเน้นเฉพาะรายการสำคัญที่จำเป็นต้องรู้
ตัวอย่างเช่น
หากค่าใช้จ่าย 5 ล้านบาทเพื่อสร้างธุรกิจคลังสินค้า
เงินจำนวนนี้ จะไม่สร้างผลกำไรในทันที
แต่เป็นสินทรัพย์ที่หวังว่าจะช่วยให้สร้างผลกำไรได้ในปีถัดไป
ในทำนองเดียวกัน
หากขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจ และได้รับเงินจำนวน 5 ล้านบาท
เงินจำนวนนี้ไม่จำเป็นต้องจ่ายคืนทันที
แต่มันคือความรับผิดชอบที่จะต้องจ่ายคืนเมื่อครบกำหนด
3) Cash Flow Statement - งบกระแสเงินสด
ช่วยกำหนดจำนวนเงินที่ต้องใช้เพื่อเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจ
ช่วยให้แน่ใจว่าจะไม่มีเงินเหลือใช้
สิ่งที่ผู้ประกอบการและเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ทราบคือ
ธุรกิจสามารถทำกำไรได้ แต่มีเงินเหลือ และล้มละลาย
เมื่อสร้างงบกำไรขาดทุนและงบดุล
อย่าลืมรวมต้นทุนสำคัญหลายประการที่จำเป็น
ในการเริ่มต้นหรือขยายธุรกิจคลังสินค้า อาทิเช่น
  • ต้นทุนอุปกรณ์และเครื่องใช้สำนักงาน
  • เงินเดือนและค่าจ้าง
  • ประกันภัย
  • ภาษี
  • ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นอื่นๆ เช่น ใบอนุญาตธุรกิจ software license ฯลฯ
#10 Appendix [ภาคผนวก]
แนบประมาณการทางการเงินทั้งหมดในภาคผนวก
พร้อมกับเอกสารประกอบที่ทำให้แผนธุรกิจดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น
  • สัญญาเช่าคลังสินค้า
  • รายการบ่งชี้ประสิทธิภาพการดำเนินงาน (KPIs)
บทส่งท้าย
การเขียนแผนธุรกิจสำหรับธุรกิจคลังสินค้า
ถือเป็นความพยายามที่คุ้มค่า
หากทำตามข้อแนะนำข้างต้นจนครบถ้วน
ก็สามารถเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริงได้
เพราะได้เข้าใจถึงอุตสาหกรรมคลังสินค้า
ตลาดการแข่งขัน และกลุ่มลูกค้า เพื่อพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาด
และจะเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องใช้ในการเปิดและขยายธุรกิจคลังสินค้า
เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จตามแผนที่วางไว้อย่างรัดกุมและใกล้เคียงกับความเป็นจริง
แหล่งที่มา
  • Warehouse Business Plan Template
  • Investement Proposal Template
แปลและเรียบเรียงใหม่โดย Darvid.Co
โฆษณา