11 ก.ย. 2023 เวลา 14:20 • ข่าวรอบโลก
ไทย

อวสานแอปเป๋าตัง...เงินดิจิทัล 10,000 บาท ต้องใช้ผ่านบล็อกเชนเท่านั้น!

แต่เพื่อไทยต้องลงทุนในโครงสร้างบล็อกเชน (Blockchain)กันก่อน....
ยังไม่ชัดเจนว่าโครงการเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาทที่จะแจกวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 จะถึงมือประชาชนด้วยกระบวนเช่นไรหรือมีรายละเอียดอย่างไรบ้าง
แต่ก็เริ่มมีเสียงแตกว่าทำไมไม่เลือกแอปเป๋าตังแทนเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain Technology)
3
ในแง่การเลือกใช้เทคโลยีบล็อกเชนเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการแจกเงินผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กล่าวคือ ระยะเวลาในการพัฒนาและทดสอบน้อยมาก
3
หากว่ารัฐบาลกำหนดเป้าหมายในการเริ่มต้นการแจกเงินแก่ประชาชนให้ทันภายในวันที่ 1 ก.พ. หรือ ภายในไตรมาสแรกของปีหน้า(ถ้าไม่ทัน)
1
แล้วไอ้ตัว เทคโนโลยีบล็อกเชน คืออะไร?
เว็บไซต์ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้ อธิบายถึงเทคโนโลยีนี้ว่า เป็นระบบโครงข่ายในการเก็บบัญชีธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งมีลักษณะเป็นเครือข่าย ที่เก็บสถิติการทำธุรกรรมทางการเงินและสินทรัพย์ชนิดอื่น ๆ โดยไม่มีตัวกลาง ด้วยการที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลาง จึงทำให้ต้นทุนการทำธุรกรรมถูกลง
2
อธิบายแบบง่าย ๆ คือ บล็อกเชนเป็น database สำหรับเก็บข้อมูลนั่นเอง
2
และเชื่อว่าด้วยเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลที่ไม่มีตัวกลางนี้ จะช่วยทำให้ข้อมูลที่ได้มีความน่าเชื่อถือและปลอดภัย
1
ไม่เพียงแค่ธุรกรรมทางการเงินเท่านั้น ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับระบบอื่น ๆ ด้วย เช่น นำมาใช้ในการเก็บสถิติการเลือกตั้งให้มีความโปร่งใส ระบบบันทึกทางการแพทย์ และระบบจัดเก็บสิทธิบัตรและทรัพย์สินต่าง ๆ เป็นต้น
ขณะที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าที่ต้องใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน ก็เพื่อเป็นการปูพื้นฐานเศรษฐกิจไทย และสร้างเทคโนโลยีบล็อกเชนสัญชาติไทย สำหรับใช้งานด้านอื่น ๆ ในอนาคต
แม้ประชาชนจะต้องมีการโหลดแอพพลิเคชั่น ซึ่งคือกระเป๋าเงินดิจิทัลที่จะเป็นซุปเปอร์แอปฯ ของรัฐบาลมาเพื่อใช้งานก็ตาม
1
และเป็นที่ถกเถียงเกี่ยวกับการแจก "เงินดิจิทัล 10,000 บาท" ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย (ภายใต้งบประมาณรวม 5.3 แสนล้านบาท) จะดำเนินการผ่านโครงสร้างเทคโนโลยีบล็อกเชนหรือไม่
แต่.....ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีบล็อกเชนกลับมองว่า อาจจะได้ไม่คุ้มเสีย
3
หากว่าภาครัฐจะพัฒนาเทคโนโลยีนี้เพียงเพื่อสนองตอบต่อนโยบายทางการเมืองเพียงเรื่องเดียว ขณะที่โครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่อย่าง แอปพลิเคชันเป๋าตัง ระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลของผู้ให้บริการเอกชน
หรือโครงสร้างที่มีอยู่ในปัจจุบัน อย่างผู้ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ต และกลุ่มบริการโมบายแบงกิ้งที่ให้บริการในขณะนี้ผ่านแอปฯ ต่าง ๆ เช่น เป๋าตัง, ทรูมันนี, เคพลัส, เอสซีบี อีซี รวมทั้งระบบการชำระเงินของธนาคารพาณิชย์ก็สามารถใช้งาน(ทดแทน)ได้
1
ในหมู่แอปพวกนี้ ต่างสามารถรองรับความต้องการดังกล่าวของรัฐบาล เพราะผู้ให้บริการเหล่านั้นมีผู้ใช้บริการอยู่แล้ว และสามารถรับเงินได้ทันที
3
นอกจากนี้ยังสามารถช่วยย่นระยะเวลาในการพัฒนาโครงสร้างใหม่
1
รวมทั้งลดต้นทุนในการลงทะเบียนและสร้างระบบบริการผู้ใช้งาน กรณีที่การลงทะเบียนหรือการใช้งานมีปัญหา
2
เพื่อความคุ้มค่าในการลงทุนเรื่องนี้ รัฐบาลควรจะต้องพัฒนาให้โครงสร้างใหม่นี้มีศักยภาพที่สามารถต่อยอดได้ เช่น การใช้งานของ ดิจิทัลไอดีวอลเล็ต (digital ID wallet) ใช้แทนบัตรประชาชน หรือ การลงทุนในแง่หลักทรัพย์หรือกองทุน รวมถึงกระเป๋าสุขภาพ
นอกจากนี้ โครงสร้างใหม่ที่เกิดขึ้น ควรจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ให้บริการดิจิทัลวอลเล็ตเอกชนรายอื่น ๆ สามารถเข้าถึงได้ และร่วมสร้างบริการใหม่ เพื่อลดต้นทุนทางการเงินให้กับภาคเอกชนและประชาชน
อย่างไรก็ตาม หากใช้ในบริบทของเงินดิจิทัล ควรใช้บล็อกเชนเป็นกระเป๋าเงินดิจิทัลในการเก็บข้อมูลว่าผู้ใช้มียอดเงินคงเหลือเท่าไหร่ (account balance) และบันทึกประวัติการทำธุรกรรมของผู้ใช้ว่าใช้เงินไปที่ไหนและเมื่อไหร่ (transaction history)
1
ทั้งนี้ แน่นอนว่าการใช้บล็อกเชนเป็นกระเป๋าเงินมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน เช่น
ความปลอดภัย .....Technology Enables
ข้อดีของบล็อกเชน คือเป็นเทคโนโลยีที่เน้นความปลอดภัยและโปร่งใส ทำให้การโกงเป็นเรื่องยาก นั่นเป็นผลมาจากความสามารถในการเขียนโปรแกรมเงินดิจิทัลบนสมาร์ทคอนแทร็กท์
ซึ่งทำได้ค่อนข้างง่ายและสามารถตรวจสอบได้ เมื่อเปรียบเทียบกับการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลปกติ
แต่สิ่งที่แตกต่างมากที่สุดคือเรื่องระบบโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งก็คือ node (หรือ validator หรือ server) ที่จะมารันบน Blockchain network
1
ตามหลักการของบล็อกเชน การรัน node จะต้องเป็นแบบ Decentralized เพื่อความปลอดภัยของระบบสูงสุด และยังเพื่อป้องกันการHack หรือ การโจมตี
1
ซึ่งหากจะทำ Decentralized ได้นั้น คือในระบบต้องมีจำนวน node มากระดับหนึ่ง จึงจะป้องกันการโจมตีแบบ 51% ได้
1
เช่นเดียวกับระบบ Public Blockchain ได้แก่ Bitcoin และ Ethereum ซึ่งมีหลายหมื่น Node รันกระจายตามจุดต่าง ๆ ทั่วโลก
ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับระบบที่ไม่ใช้บล็อกเชน เช่น แอปเป๋าตัง ที่อาจจะมี node สูงสุดที่รันเพียงไม่กี่สิบ node ในระบบเท่านั้น
1
ทั้งนี้ ถ้ารัฐบาลต้องการใช้บล็อกเชนสำหรับเงินดิจิทัล ควรพิจารณาใช้ Private Blockchain เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ โดยระบบยังคงมีความปลอดภัยเหมือนเดิม
นอกจากนี้ อาจจะต้องมีการร่วมมือระหว่างหน่วยงานรัฐและเอกชนในการก่อตั้ง Blockchain Network และต้องมี Governance Committee จากแต่ละหน่วยงานร่วมตัดสินใจและตรวจสอบได้
1
แนวทางนี้คล้ายกับ Public Blockchain ที่มีกระบวนการในการคัดเลือก node
ตัวอย่างเช่น Binance Chain ที่มีการคัดเลือกบริษัทต่าง ๆ เพื่อรัน node ทั้งในระบบ ไม่ต้องรัน node เองทั้งหมด
จะเห็นได้ว่าการใช้บล็อกเชนจะมีขั้นตอนเพิ่มเติมในการจัดตั้งเครือข่าย
1
และการบริหารระบบที่แตกต่างออกไปจากระบบธรรมดาทั่วไปที่มีแค่หน่วยงานเดียว ซึ่งการดำเนินการนี้จะใช้เวลาและทรัพยากรมากกว่า แต่ก็ทำให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น และตรวจสอบได้มากขึ้นด้วย
ต่อมา คือ การใช้งาน....... Usability and User Experience
มุมมองของการใช้งาน (Usability) ของระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลนั้น มีความแตกต่างกันน้อยมากในมุมมองของผู้ใช้งาน
2
ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นและลงทะเบียน เพื่อเข้าใช้งานระบบกระเป๋าเงินดิจิทัลได้
ซึ่งสามารถนำแอพพลิเคชั่นไปใช้จ่ายตามร้านค้าที่รัฐบาลกำหนดได้ และยังสามารถดูยอดเงินและประวัติการใช้จ่ายได้อย่างปกติ
จุดเด่นอีกอย่างของบล็อกเชนคือ การป้องกัน Double spending ดังนั้นการใช้งานไม่ควรเจอปัญหาเกี่ยวกับการจ่ายเงินแล้วเงินไม่ลดหรือหักยอดเกิน
1
ในเชิงประสบการณ์ของผู้ใช้งาน หรือ User experience ก็มีสิ่งที่แตกต่างจากระบบที่ไม่ใช้บล็อกเชน คือ เรื่องค่าธรรมเนียม (Gas Fee)
1
ที่ผู้ใช้งานต้องเป็นคนจ่ายให้กับระบบทุกครั้งที่มีการทำรายการ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติม
1
นอกจากนี้ยังมีความล่าช้าในการดำเนินการทุกครั้งเมื่อมีการทำธุรกรรม
เนื่องจากมีการ Block time ที่ต้องใช้เวลาในการบันทึกข้อมูลลงในระบบบล็อกเชน ยกตัวอย่างเช่น Binance Chain มี Block time ที่ 5 วินาที ซึ่งหมายความว่าในการทำธุรกรรมแต่ละครั้งจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 5 วินาที หรือมากกว่านั้น
2
ถ้ามีการใช้งานระบบจำนวนมาก เพื่อให้ระบบบล็อกเชนบันทึกข้อมูลในระบบ จึงทำให้มีความแตกต่างจากระบบที่ไม่ใช้บล็อกเชนที่ใช้เวลาไม่กี่วินาที
1
มาถึงตรงนี้คงเริ่มเห็นภาพ (มาก) ขึ้นบ้างแล้วว่า บล็อกเชนมีบทบาทและสำคัญอย่างไรต่อโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท ที่หวังว่าจะส่งตรงสู่ประชาชน
ด้วยการลงทุนโครงสร้างบล็อกเชนตามคำแนะนำของท่านนายกฯ เศรษฐา ที่ย้ำว่าจะใช้ "บล็อกเชน"ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ.....
3
และ..."บล็อกเชนแน่นอนครับ" นี่คือคำตอบของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ต่อคำถามของผู้สื่อข่าวที่พรรคเพื่อไทยเมื่อวันที่ 7 ก.ย. ที่ผ่านมา
2
เมื่อถามว่าพรรคเพื่อไทยยังคงยืนยันว่าจะใช้บล็อกเชนแจกดิจิทัลวอลเล็ตหรือไม่
แล้วงานนี้....ลงทุนแล้วใช้งานเพียงครั้งเดียวหรือไม่ ฮาาาาา
2
เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน โดยเปรียบเทียบเหมือนกับการสร้างสนามบินแห่งใหม่แห่งหนึ่ง...
เพื่อลำเลียงผู้ร่วมงานไปยังโครงการจัดแสดงด้านการท่องเที่ยว(แห่งหนึ่ง)เป็นการเฉพาะ โดยไม่มีแผนงานรองรับใด ๆ ภายหลังจากงานจัดแสดงดังกล่าวสิ้นสุดลง
4
"สนามบิน(เบตง)ใหม่อาจจะว่างเปล่า โดยไม่มีสายการบินใด ๆ มาให้บริการ หรือนักเดินทางกลับใช้บริการอีกเลย
2
เฉกเช่นเดียวกันกับการลงทุนครั้งนี้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานบนเทคโนโลยีบล็อกเชน หากเป็นไปเพื่อใช้เพียงครั้งเดียว คงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน"
1
และคำถามถัดมาคือ เมื่อรัฐบาลต้องการเดินหน้าใช้บล็อกเชนเป็นโครงสร้างใหม่ในการแจกเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเล็ตแล้ว
ทุกบาททุกสตางค์....จะนำไปสู่การลงทุนที่คุ้มค่าหรือไม่???
2
โฆษณา