12 ก.ย. 2023 เวลา 07:30 • ไลฟ์สไตล์
พิษณุโลก

ศูนย์ธรรมอาภา โดยท่านอาจารย์โกเอ็นก้า

วันนี้เราอยากแชร์เรื่องธรรมอาภาที่เราได้ไปมา เราขอแชร์เรื่องข้อมูลพื้นฐานกันก่อนสำหรับที่นี่ ส่วนหัวข้ออื่นๆจะเป็นเรื่องความก้าวหน้าในการปฏิบัติกรรมฐาน
ปฏิจจสมุปบาท และบารมี 10 ทัศ ดังนั้นเราจะขอแบ่งเป็น 4 ส่วน จะได้ไม่ยาวเกินไป โดยเฉพาะหลักธรรมทั้ง 2 ส่วนสุดท้ายค่อนข้างเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง ไว้ค่อยลงรายละเอียดในครั้งต่อไปล่ะกัน
ศูนย์ฯ ธรรมอาภา Dhamma Ābhā มีความหมายว่า “แสงสว่างแห่งธรรม” (Radiance of Dhamma) เป็นศูนย์วิปัสสนาฯ แห่งที่ 2 ของประเทศไทย เปิดให้การอบรมหลักสูตร 10 วันครั้งแรก วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2542
ตั้งอยู่บนที่ดิน 120 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ มาทางเหนือประมาณ 427 กิโลเมตร ตั้งอยู่เชิงเขาและมีเทือกเขากระยางอยู่ทางด้านทิศตะวันออก อยู่ในภูมิอากาศเขตร้อนชื้น มีปริมาณน้ำฝนที่ค่อนข้างมากในฤดูฝน ฤดูหนาวอากาศค่อนข้างหนาวและฤดูร้อนอากาศค่อนข้างร้อน สามารถรองรับผู้เข้ารับการอบรมได้สูงสุด 110 คน
เรื่องทั่วไปที่เราพบอากาศดี ฝนตกทุกวัน สดชื่นมาก ควรเอาเสื้อผ้าไปให้พอ หรือส่งทางศูนย์ซัก มิฉะนั้นเสื้อผ้าจะไม่แห้ง และเหม็นอับ ถ้าไปหน้าฝนหรือหนาว ควรเอาเสื้อคลุมไปอย่างน้อย 2 ตัวใส่ผลัดกัน ผ้าห่มค่อนข้างบาง ห้องปฏิบัติรวมก็เป็นห้องแอร์ด้วย ต้องเปิดพัดลมตลอดช่วงกลางคืน เนื่องด้วยแมลงเยอะมาก ทั้งมด กิ้งกือ ไส้เดือน หอยทาก งู ตุ๊กแก และอื่นๆ และสำคัญมากควรนำไฟฉายไปด้วย ที่นั่นไม่มีให้ยืมแบบกาญจนา
ส่วนที่พักมี 2 แบบแบบแรกเป็นบ้านเดี่ยว เราได้พักโซนนี้ มีคนเล่าว่าถ้าเป็นศิษย์เก่าที่เข้าปฏิบัติต้้งแต่ 3 หนเป็นต้นไป จะได้พักแบบแรก ตรงนี้จะใกล้กับโรงอาหาร ส่วนศิษย์ใหม่จะได้พักแบบอาคารรวม หรือผู้ชรา จะใกล้กับหอปฏิบัติรวม
ส่วนอาหารจะออกหวานหน่อยๆ เราเลยไม่ค่อยปลื้ม ถ้าเทียบกับกาญจนา และกมลา ขนมค่อนข้างน้อย ขาขนมต้องเตรียมใจ
คราวนี้คอร์สนี้สัดส่วนเป็นศิษย์เก่าซ่ะเยอะ การปฏิบัติค่อนข้างหนักแน่น และตารางเวลาไม่เป๊ะมากถ้าเทียบกับกมลา ผู้สูงอายุเยอะ ไม่ค่อยตรงเวลามากนัก เค้าค่อยๆเดิน สำหรับเรา เราสายเอื่อยเฉี่อย เราชอบน่ะ ไม่รีบเร่งเท่ากมลา
ที่เดินยามพัก มีที่ให้เดินเยอะ ทางเดินเดินง่าย เห็นวิวภูเขา สวยดี เราว่าโอน่ะ ปฏิบัตินานๆการยืดเส้นยืดสายช่วยได้มาก
ส่วนเรื่องที่ว้าวที่สุด คือ มหาเจดีย์องค์ใหม่ กับห้องปฏิบัติเดี่ยว ซึ่งอยู่ด้านใต้ของมหาเจดีย์ พึ่งสร้างเสร็จ จะดีแค่ไหนที่ได้ใช้เป็นรุ่นแรกๆ จะอยู่ใกล้กับหอปฏิบัติรวม มีทางเดินเดินถึง
ส่วนการเดินทางเราเดินทางไปรถตู้ศูนย์ ใช้เวลาประมาณ 6-7 ชม. แวะประมาณ 3 จุด คือ 2 จุดเป็นปั้มน้ำมัน และ1 จุดเป็นร้านอาหาร ถ้าเทียบกับกาญจนา เดินทางง่ายกว่าแม้เวลาการเดินทางเท่ากัน ไม่คดเคี้ยว ไม่ชัน ถึงแม้จะเป็นเหนือตอนล่าง
สำหรับหัวข้อนี้ก็จะประมาณนี้ ไว้คราวหน้าจะคุยเรื่องปฏิบัติกันต่อ
เรือนพักเดี่ยว
ทางเดินสำหรับพัก
มหาเจดีย์องค์ใหม่
ห้องปฏิบัติรวม
ภายในเรียนพักเดี่ยว
แผนในแต่ล่ะวัน
สิ่งของทีควรนำไป
ที่อยู่และการติดต่อ
กม.49+400 ทางหลวงหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก)
เลขที่ 138 หมู่ 3 บ้านห้วยพลู ซ.ภูแดงร้อน 5 ต.แก่งโสภา
อ.วังทอง จ.พิษณุโลก 65220
โทร. 08-1605-5576, 08-7135-2128
Line ID: 0816055576
โทรสาร 0-2903-0800 ต่อ 2213
(กรุณาติดต่อในเวลาราชการ วันจันทร์-ศุกร์ ระหว่างเวลา 8.30-12.00 น. และ 13.00-17.00 น.
ยกเว้นวันหยุดราชการและนักขัตฤกษ์)
โฆษณา