16 ก.ย. 2023 เวลา 08:10 • ประวัติศาสตร์

ฟันคุดเจ้าปัญหา ทำไมต้องผ่ามันออก ?

ฟันคุดเป็นหนึ่งในปัญหาคลาสสิค ที่พบได้บ่อยที่สุดในวัยรุ่น
ด้วยความที่ฟันซี่นั้นขึ้นไม่ตรง การเก็บเอาไว้มีแต่จะทำให้ฟันล้มทั้งแผงและเป็นแผลติดเชื้อ ทางเดียวที่จะป้องกันได้ก็คือต้องรีบถอนมันออก
4
แต่มาลองนึกดูมันก็น่าสงสัย
เพราะถ้าเรามีฟันเอาไว้เพื่อที่จะถอนทิ้ง เราจะมีฟันซี่นั้นไปทำไม ?
ธรรมชาติจะให้ฟันคุดเรามาเพื่ออะไร ถ้าสุดท้ายแล้วมันจะก่อปัญหา ?
.
บทความนี้ WDYMean จะเล่าให้ฟัง
ตลอดชีวิตของคนเรา จะมีฟันทั้งหมด 2 ชุดครับ ชุดแรกเราเรียก 'ฟันน้ำนม' ส่วนชุดที่สองเรียกว่า 'ฟันแท้'
ฟันน้ำนมจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เราอายุประมาณ 6 เดือน จนหลุดออกไปหมดตอนอายุประมาณ 12 ปี เราจะมีฟันน้ำนมทั้งหมด 20 ซี่ จากนั้นก็จะส่งไม้ต่อให้กับฟันแท้
.
ฟันแท้ของเรา มีโควต้าที่จะสามารถขึ้นได้คือ 32 ซี่ แบ่งเป็นฟันตัดด้านหน้า 8 ซี่ ฟันเขี้ยว 4 ซี่ ฟันกรามน้อย 8 ซี่ และฟันกรามใหญ่ 12 ซี่
1
ประเด็นของเรื่องนี้อยู่ที่เจ้าฟันกรามใหญ่
1
ฟันกรามใหญ่ (Molar)
โดยปกติแล้วฟันซี่อื่นๆ เขาก็จะขึ้นกันจนครบก่อนที่เราจะเข้าสู่วัยรุ่น แต่กับฟันกรามใหญ่นี่ ดูจะแปลกไปสักหน่อย (เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน ต่อไปนี้จะขอย่อเหลือแค่ฟันกรามนะครับ)
1
ฟันกรามที่ควรจะขึ้นมาให้ครบทั้ง 12 ซี่ มานับดูจริงๆ กลับขึ้นมาแค่ 8 ซี่ อีก 4 ซี่ที่หายไปคือด้านในสุดก็จะขึ้นมาแบบช้าเหมือนเต่า (บนสองซี่ ล่างสองซี่)
ถามว่าช้าขนาดไหน ก็ขนาดที่เราบรรลุนิติภาวะไปแล้ว ฟันกรามทั้ง 4 ซี่นั้นยังขึ้นมาไม่เต็มเลย
ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น?
.
เหตุผลก็ดูพอจะเข้าใจได้ เพราะตอนเป็นเด็กขนาดกรามของเรายังเล็ก กะโหลกยังไม่ใหญ่พอ จะให้ฟันขึ้นทีเดียวครบทั้ง 32 ซี่เลย ก็เดี๋ยวจะเบียดเสียดจนล้นออกมา
3
การชะลอฟันเอาไว้ก่อน รอให้กรามกับกะโหลกเราขยายจนจุฟันได้ครบทั้งหมดเสียก่อน ดูจะเป็นไอเดียที่เข้าท่าไม่น้อย
แต่ปัญหามันก็เริ่มมาจากจุดนั้นนั่นล่ะ คือกรามกับกะโหลกเราดันไม่ขยายแล้วหน่ะสิ
4
ฟันคุดที่ไม่มีที่ขึ้น
ตอนเราอายุ 17-25 กรามของเราขยายช้าจนแทบจะหยุดขยายไปแล้ว แต่ยังเหลือฟันอีก 4 ซี่นะ ที่ยังขึ้นไม่ครบ
สุดท้ายพอกรามหยุดขยายไปจริงๆ ฟันซี่ในสุดก็ต้องไปขึ้นในจุดที่ไม่ควรจะขึ้น จุดที่เหงือกกลายเป็นชั้นผิวแข็งๆ ไปแล้ว
2
พอแทงตัวขึ้นมา ก็จะถูกผิวเหงือกดันให้ไปชนกับฟันซี่ข้างๆ หมอฟันก็จำเป็นจริงๆ ที่จะต้องผ่ามันออก แล้วเราก็เรียกสิ่งที่หมอฟันผ่าออกนั้นว่า 'ฟันคุด'
.
ความไม่สัมพันธ์กันระหว่าง 'ขนาดกราม' กับ 'จำนวนฟัน' นี้เอง ทำให้เกิดคำถาม
เพราะไม่มีสัตว์ชนิดไหนเลยบนโลกที่มีปัญหาฟันคุด ไม่มีลิงปวดฟันคุด สุนัขปวดฟันคุด หรือแมวปวดฟันคุด พวกมันทั้งหมดมีที่ว่างให้กับฟันซี่สุดท้ายของตัวเองเสมอ
4
คำถามคือ แล้วเกิดอะไรขึ้นกับเรา ?
ถ้าไปถามนักประวัติศาสตร์ หลายท่านมักจะตอบเหมือนกัน ว่ามันเกิดจากการที่มนุษย์เรา 'ค้นพบไฟ'
1
บรรพบุรุษของเราสมัยยังอยู่ทุ่งหญ้าสะวันนา
แต่เดิมบรรพบุรุษของมนุษย์เรากินซากสัตว์เป็นอาหาร
เราไม่ได้มีกรงเล็บยาวเหมือนสิงโต หรือวิ่งเร็วเหมือนชีตาร์ เราสู้นักล่าตัวใหญ่ๆ ไม่ได้เลย หนทางสู่ความอยู่รอดของเรามีทางเดียว คือกินสิ่งที่สัตว์เหล่านี้ทิ้งเอาไว้
1
แน่นอนว่าฟันที่แข็งแรงนั้น จำเป็นอย่างยิ่งในการบดขยี้ก้อนกระดูกให้แตก มนุษย์เมื่อล้านกว่าปีก่อนจึงมีฟันครบทั้ง 32 ซี่ และไม่มีฟันคุด เพราะมีกรามใหญ่พอจะจุฟันได้ครบทั้งหมด
แต่หลังจากที่ค้นพบไฟ ชีวิตก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
1
ไฟป่า หนึ่งในจุดกำเนิดการค้นพบไฟของมนุษย์
มนุษย์เราค้นพบไฟจากอย่างน้อยก็สามช่องทาง คือจากฟ้าผ่า ไฟป่า และลาวาภูเขาไฟ
การค้นพบไฟทำให้อาหารการกินเราเปลี่ยนไป จากแต่เดิมที่ต้องคอยขบกระดูกแข็งๆ ตอนนี้เอาไปลนไฟหน่อยก็กลายเป็นกรอบ เคี้ยวง่าย
หรือวันไหนล่ากวางได้ตัวหนึ่ง ก็ไม่ต้องทนเคี้ยวเนื้อเหนียวๆ อีกต่อไป เพราะเอาไปลนไฟก่อนเนื้อก็จะนิ่ม แถมยังกินได้เยอะกว่าเดิม
เมื่อเวลาผ่านไป แค่การค้นพบไฟในครั้งนั้น กลับส่งผลต่อวิวัฒนาการของมนุษย์เราอย่างมหาศาล อย่างน้อยก็สองสามเรื่อง
.
2
เรื่องแรกคือ ลำไส้ของเราดูดซึมอาหารได้ดีกว่าเดิม คือพออาหารมันสุก เนื้อนิ่ม เคี้ยวง่าย สารอาหารที่กินเข้าไปก็ถูกดูดซึมได้มากกว่าตอนที่กินเนื้อแบบดิบๆ (ส่วนใหญ่ดูดซึมไม่ได้ก็จะออกไปกับอึ ถือว่ากินแล้วเสียของ)
1
เรื่องที่สองคือ หลังจากได้สารอาหารมามากขึ้น สารอาหารเหล่านั้นก็จะไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย อย่างกล้ามเนื้อ ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น และที่สำคัญกว่าคือสมอง ทำให้เราฉลาดขึ้น
สมองของมนุษย์ (ซ้าย) เทียบกับสมองของลิง (ขวา)
พอเราฉลาดขึ้น สมองเราก็เริ่มที่จะใหญ่ขึ้น และมันทำให้เราสามารถคิดค้นเครื่องมือมาช่วยให้เราเสียเวลาน้อยลง
2
เราประดิษฐ์มีดมาหั่นเนื้อให้มันบาง เราประดิษฐ์ค้อนมาทุบจนเนื้อมันเละ เราต้ม เราบด เราปรุงรส เราเรียนรู้วิธีทำอาหาร ทั้งหมดนี้ช่วยให้เรากินได้ง่ายขึ้น เคี้ยวได้ง่ายขึ้น
3
ผลคือ กรามที่ใหญ่และแข็งแรงเหมือนตอนนั่งแทะเศษกระดูก ก็จะไม่จำเป็นอีกต่อไป
.
และนั่นคือเรื่องที่สามครับ กรามที่เคยสำคัญในอดีตก็จะค่อยๆ หดเล็กลง สวนทางกับสมองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ กะโหลกศีรษะของเราจึงต้องลดส่วนที่ไม่จำเป็น และเทพื้นที่ไปให้กับส่วนที่สำคัญกว่า
จนในที่สุด ขนาดกรามกับจำนวนฟันก็ไม่สัมพันธ์กันอีกต่อไป
1
ยีนที่ควบคุมขนาดกรามทำให้กรามเราหดเล็กลงเรื่อยๆ ในขณะที่ยีนที่ควบคุมจำนวนฟันยังคงจำนวนไว้เท่าเดิม
จึงไม่แปลกที่ พอมาถึงรุ่นพวกเราแล้วขนาดกรามจะไม่พอดีกับจำนวนฟัน พาให้พื้นที่ในช่องปากไม่พอ ฟันซี่สุดท้ายขึ้นไม่ได้ และกลายไปเป็น 'ฟันคุด' ที่ดูไม่มีประโยชน์อะไรเลยในที่สุด
. . .
ไส้ติ่ง (Appendix) และกระดูกก้นกบ (Coccyx)
มองอีกมุมหนึ่งก็เหมือนตอนที่เราเคยมีหางนั่นล่ะครับ
วันนี้สิ่งที่เหลืออยู่ก็มีแต่เพียงก้นกบที่เอาไว้ดูต่างหน้า หรือไส้ติ่ง ที่วันนี้ก็ไม่ได้มีประโยชน์อะไรและสักวันหนึ่งก็คงจะหายไป
เป็นไปได้ว่าฟันคุดอาจจะกำลังเดินทางไปสู่จุดนั้น จุดที่หายออกไปจากร่างกายของเรา
เพียงแต่วันนี้มันคือช่วงเปลี่ยนผ่าน มันอาจต้องใช้เวลาสักหน่อย อาจจะสักหมื่นปี หรือแสนปี
1
และไม่แน่นะครับเมื่อเวลานั้นมาถึง อาจจะไม่ใช่แค่ฟันคุดก็ได้ที่หายไป แต่รวมถึงฟันสวยๆ ที่เราแปรงๆ กันอยู่ทุกวันนี้ อาจจะไม่จำเป็นอีกแล้วก็ได้ในอนาคต
6
#WDYMean
1
อ้างอิงจาก
อาหารการกินของบรรพบุรุษเราเป็นยังไง ?
ทำไมเรากินเนื้อสุกแล้วได้สารอาหารมากกว่ากืนเนื้อดิบ ?
1
7 ร่องรอยของอวัยวะที่เคยมีอยู่ เช่น หาง กล้ามเนื้อใบหู รวมถึงฟันคุด ที่ปัจจุบันไม่ประโยชน์อะไรแล้ว (อ้อ ไส้ติ่งด้วยนะ)
อ้างอิงภาพจาก pixabay
โฆษณา