20 ก.ย. 2023 เวลา 13:30 • ความคิดเห็น

ความรู้ก็มีวันหมดอายุ…

“ มันไม่ใช่เวลาของเรา …”
ผมคิดว่า คนมีอายุอย่างผม (46) หรือแก่กว่า
บางทีควรยอมรับความจริง กับคำๆนี้แล้วเหมือนกันนะ
และควรยอมรับด้วยว่า ประสบการณ์ที่ผ่านมา
มันอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็นชุดความรู้ที่ถูกต้องอีกแล้ว
โดยเฉพาะในยุคที่อะไรๆ เปลี่ยนเร็วขนาดนี้
…บางที มันไม่ใช่เวลาของเราแล้วจริงๆ…
สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเขียนบทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีชิพ
และ AI ติดๆกัน ทำให้ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมจากสิ่งที่รู้อยู่แล้ว
มาเขียน และอ้างอิง เพื่อกันหน้าแหก
เพราะรู้แน่ว่า อาจโดนกองเชียร์จีนเล่นงาน
ที่บังอาจไปดูถูกเทคโนโลยีชิพ 7 nm อันน่าภาคภูมิใจ
ของพวกเขา….เดี๋ยวจะตอบเขาไม่ได้
ไอ้ข้อมูลเนี่ย ผมไม่ค่อยแปลกใจเท่าไหร่เพราะรู้อยู่แล้ว
( ผมทำงานด้าน CG ต้องซื้อคอมฯประสิทธิภาพสูงประจำ
เลยต้องตามตลอด เลยต้องรู้มากกว่าชาวบ้านหน่อย ไม่งั้นเดี๋ยวโดนเซลล์หลอกขายของห่วยให้ มันจะยุ่ง )
แต่สิ่งที่แปลกใจคือความเห็นจากกูรูต่างๆ จากแหล่ง
ข้อมูลไทยๆ ที่เราเข้าไปค้นมากกว่า
…โดยเฉพาะ กูรูแก่ๆ แต่ดีกรีสูง….
…ถ้าใช้คำแรงไป ขออภัยนะครับ ….
ผมคิดว่าความเข้าใจในเทคโนโลยีด้านนี้ของผู้วิจารณ์
ในไทยส่วนมาก ค่อนข้างต่ำ ….
มันน่าห่วงนะ เพราะหลายท่านเป็นนักวิชาการมีชื่อเสียง
แต่ดูไม่เข้าใจเรื่องนี้ในมิติที่ถูกต้องกันเลย
คือ ท่านใช้ชุดวิธีคิดแบบเก่า กับเทคโนโลยีใหม่
…แบบนี้มันก็ผิดหมดล่ะครับ ….
กับพวกท่านผู้อาวุโสในวงการไอที ผมมองไม่เห็นว่าเป็นปัญหา
เพราะท่านเหล่านั้นมักวิจารณ์ในแง่เทคนิคจริงๆ
ผลมันจึงถูกต้อง และไม่สามารถบิดเบือนอะไรตามอคติได้
แต่น่าห่วงมาก คือ กูรู สายกูรู้ทุกอย่าง โดยเฉพาะจากภาคการเงิน เศรษฐศาสตร์ ที่ดูไม่เข้าใจอะไรดีเท่าไหร่ แล้วพูดออกมา
นักวิชาการเหล่านี้สั่งสมบารมี มีชื่อเสียงมานาน
จึงมีคนเชื่อถือมาก
บางท่านเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย
บางท่านก็เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี หรือคนใหญ่คนโต
ส่วนที่เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีเนี่ยน่าห่วงที่สุด
เพราะถ้าผู้บริหารประเทศ เอาความเห็นเหล่านี้ไปใช้
ประเทศมันจะเป็นยังไงล่ะนั่น มันน่าห่วงตรงนี้
หรือถ้า จริงๆ ท่านเข้าใจเทคโนโลยี แต่วิจารณ์ด้วยอคติ
อันนี้ยิ่งหนักเลย น่าห่วงมาก กับวาระซ่อนเร้นแบบนี้….
วันนี้ ไม่ใช่เมื่อสี่สิบปีก่อน ที่เรายังใช้มือถือธรรมดา
หรือใช้คอมพิวเตอร์แค่ทำงานเอกสารอีกแล้วนะครับ
ทุกสิ่งทุกอย่าง มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย
ในหลายวงการ โดยเฉพาะในสิบปีที่ผ่านมา
ซึ่งถ้าไม่ใช่คนที่ติดตามอยู่ทุกวัน เป็นแต่เพียงผู้ศึกษาอยู่
รอบนอก จะไม่เข้าใจกระบวนการที่เกิดขึ้นได้เลย
จะด็อกเตอร์ หรือนักข่าวอาวุโสก็เหอะ
สู้เด็กที่มันโตมา และอยู่กับสิ่งเหล่านี้ทุกวัน
ติดตามความเปลี่ยนแปลงทุกวันไม่ได้หรอก
…ผมมั่นใจเลย ด็อกเตอร์สายการเงินที่มีชื่อเสียง
จะไม่เข้าใจว่าเทคโนโลยีนั้นทำงานอย่างไร ได้เท่าเกมส์เมอร์…
…นั่น ทำให้การวิเคราะห์หลงทิศทางไปหมด…
ผมค่อนข้างตกใจนะ กับความเห็นด้านเทคโนโลยี
ของกูรูไทยแทบทุกท่าน ไม่ว่าจะเห็นเหมือน
หรือต่างกับผมก็ตาม เพราะดูแล้วมันเป็นการใช้ตรรกะเก่า
มาอธิบายสิ่งใหม่ เพราะบางอย่างมันไม่ใช่แบบนั้น
เช่น….
ผมขำมาก ที่กูรูบางท่านบอกว่า
7 nm เมตรของเทคโนโลยีชิพจีน คือชัยชนะแล้ว
…ท่านว่า 7nm ก็พอแล้ว ที่จะทำสินค้าขายแข่งได้
เพราะตลาดเครื่องระดับกลาง มีส่วนแบ่งสูงสุด…
มันเป็นอะไรที่แสดงความไม่รู้ออกมาได้อย่างมั่นหน้าเกินไป
กับสิ่งที่พวกเขาไม่ได้เข้าใจข้อเท็จจริงของมัน
ความจริงมันไม่ใช่แบบนั้นเลย ในตลาดสินค้าไอที
ประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ จะตัองตามให้ทันซอฟท์แวร์เสมอ
ไม่งั้นก็ขายไม่ได้ มันไม่ใช่แค่ช้าหรือเร็ว แต่มันหมายถึง
การรองรับการใช้งานหรือไม่มากกว่า
บางท่านอาจงง ว่าทำไมซอฟท์แวร์ ถึงนำหน้าฮาร์ดแวร์
ไม่มีฮาร์ดแวร์ จะมีซอฟท์แวร์ได้ไง
คำตอบคือ ซอฟท์แวร์ถูกสร้างขึ้นโดย Main frame
ที่เหนือกว่าระดับปกติที่เราใช้กันมาก
มันรันได้บนคอมพิวเตอร์เหล่านั้น
แต่ไม่สามารถใช้ของทั่วไปทำงานกับมันได้
ดังนั้น ฮาร์ดแวร์ที่ทำขายเชิงพาณิชย์กับคนทั่วไป
จึงยังตามหลังซอฟท์แวร์ค่อนข้างมาก จึงต้องคอยพัฒนา
ให้ทันเทคโนโลยีจากห้องแล็บนั่นเองนั่นเอง
หมายความว่า 7nm ของจีนนั้น จะไม่สามารถใช้ได้กับเทคโนโลยีซอฟท์แวร์ หรือระบบ AI ขนาด 3nm
ที่ฝรั่งซึ่งเป็นเจ้าของซอฟท์แวร์ ใช้อยู่ได้เลยนั่นเอง
นี่ยังไม่นับเรื่องรหัสการเข้าถึงโปรแกรมอีกนะ
อันนี้สำคัญมาก ถ้าจะทำขายให้ได้ทั่วโลก ….
…สิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่กูรูสูงวัย อาจไม่ทราบ และไม่เข้าใจ
ทำให้ขาดข้อมูลในการวิเคราะห์ จนเกิดความผิดพลาดไปได้
แม้จะมีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์อย่างมากก็ตาม…
1
ที่ยกมา เป็นตัวอย่างข้อมูลทางเทคนิคบางอย่างเท่านั้น
ที่มันทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมาก จนไม่สามารถใช้หลักการตลาดเรื่องกลไกทางราคา ในรูปแบบที่กูรูสูงวัยคุ้นเคยได้
บรรดากูรู โดยมาก ท่านไม่เข้าใจเรื่องนี้
ท่านอาจชำนาญ เชี่ยวชาญในรูปแบบของสิ่งที่เคยเป็น
แต่ไม่ใช่เรื่องทางเทคนิคเหล่านี้แน่นอน
ดังนั้นมุมมองของหลายท่าน จึงค่อนข้างตกยุค
และผิดพลาด จนไม่น่าเชื่อว่าจะพูดออกมาได้เลย
และด้วยความที่พวกท่านมีคนเชื่อเยอะนี่แหละ
ที่มันก็อาจไปสร้างความเสียหายได้
เมื่อมีคนนำการวิเคราะห์ไปใช้
1
…นี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วง….
…และนี่ เป็นเพียงตัวอย่างเรื่องเดียวเท่านั้น ที่จริงยังมีอีก
มากมายหลายเรื่อง ที่มีลักษณะของปัญหาเดียวกัน….
ประสบการณ์ของคนมีอายุ มันมีประโยชน์นั่นแหละ
แต่เราไม่สามารถใช้มันกับทุกอย่างได้
เรื่องนี้มีผลต่อการวางตัวในสังคมของคนสองวัย
อย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาระหว่างวัยไปทั่วโลก
ในมุมมองผม
ผมคิดว่าเราควรฟังเด็กให้มากกว่าที่เป็น
เพราะหลายอย่าง ประสบการณ์ของเรา มันไม่มีประโยชน์
การถอยมาเป็นแบ็คอัพที่ดี ไม่ลงรายละเอียดมากจนเกินไป
ไม่ตัดสินใจแทนในสิ่งที่เรารู้น้อยกว่าพวกเขา น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด ที่จะอยู่ร่วมกัน
…ในกรณีลูกหลานเราเอง การดึงความมุทะลุตามวัยของเขา
คือสิ่งที่เราทำให้พวกเขาได้ แต่ไม่ใช่ห้ามเขาในแง่ของเทคนิค และวิธีการ…
…แต่เป็นในแง่ของอารมณ์ และความรู้สึก…
…หรือการกรุยทางให้พวกเขา ด้วยสายสัมพันธ์ทางสังคม
ที่จะอย่างไรคนแก่อย่างเราก็มากกว่า นั่นก็เป็นสิ่งที่คนแก่
ควรทำให้ลูกหลานตัวเอง…
มันหมดเวลาแล้วครับ ที่จะไปชี้ว่าเขาต้องทำแบบนั้นแบบนี้
….มันหมดเวลาของพวกเราแล้ว สำหรับบทบาทนั้น….
ที่จริง ไม่ใช่แค่ในไทยหรอก
ต่างชาติก็มีปัญหาลักษณะนี้เหมือนกัน
แล้วมันก็สร้างปัญหาขึ้นมาบนโลก เพราะตรรกะป่วยๆ
ของคนแก่แค่ไม่กี่คน
คิดว่าคนอายุขนาด โจ ไบเดน หรือ สี่จิ้นผิง, ปูติน
เข้าใจสิ่งใหม่ๆ เหล่านี้จริงๆเหรอ ???
ผมว่าไม่นะ โดยเฉพาะเมื่อเราดูบทบาท
และวิธีคิดของพวกเขาที่เหมือนหลุดมาจากยุคสงครามเย็น
แต่คนเหล่านี้มีอำนาจมากที่สุดในโลกปัจจุบัน
และนี่แหละคือส่วนหนึ่งของความวุ่นวาย ยุ่งเหยิงของโลก
…โลก มันไม่ใช่ของคนแก่แล้วครับ ….
…เลิกทำลายอนาคตลูกหลาน เพียงเพราะคำว่า
ฉันแก่กว่าเสียทีเถอะ …
…เพราะสุดท้าย เด็กวันนี้ จะเป็นผู้ตัดสินใจ และอยู่กับมัน…
…ปล่อยมันไปเถอะ ถูกผิดมันก็รับกันไปเองแหละ ไม่ต้องไปคิดแทนมันหรอก….
บางที ความรู้ ประสบการณ์ มันก็มีวันหมดอายุ เพราะสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป
…หรือใครคิดว่า ขงเบ้งยังนำทัพในสงครามวันนี้ได้ล่ะ ??…
…จริงไหม 😁😁😁…..
ปล.
กรณีชิพจีน สุดท้ายโป๊ะแตกนะครับ เป็น 7 nm จากเครื่อง
DUV รุ่นเก่า ซึ่งทำได้อยู่แล้ว แต่มันใช้เวลนานมากในการผลิต
Huawie ใช้เวลาถึงสองปีครึ่งในการผลิตสะสมเพื่อจะมีมากพอจะมาผลิตจำหน่ายได้
มันไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ หรือความสำเร็จจากการพัฒนา
แต่เป็นเทคนิคแบบหนึ่ง ซึ่งซัมซุงใช้มานานแล้วในรุ่นเรือธง
ของพวกเขา เรียกว่า Multi patterning
แต่เพราะมันช้ามากเกินกว่าจะใช้เชิงพาณิชย์ เทคนิคนี้ในเมืองจีน โดยปกติจึงใช้เพื่อสร้างชิพในเครื่องระดับสูงของรัฐเท่านั้น
ก่อนจะออกมาเป็นเจ้า Kirin 9000s ให้คนธรรมดาใช้กันนี่แหละ โดยพวกเขาค่อยๆทำ แล้วเก็บด้วยเวลาถึงสองปีครึ่ง
ก่อนเปิดตัวเชิงพาณิชย์
ไว้มาเล่าให้ฟังครับ
โฆษณา