นอกจากนี้ ผู้ร่วมเสวนาหัวข้อ “Empowering Financial Inclusion with AI” ได้ยกตัวอย่างstartup ไทยที่นำ AI และ ML (Machine Learning) มาวิเคราะห์ข้อมูลของเกษตรกร เช่น สภาพอากาศและข้อมูลการเพาะปลูกในอดีต เพื่อคาดการณ์ผลผลิตและรายได้ รวมทั้งช่วยวางแผนเพิ่มผลิตภาพ ซึ่งทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้มากขึ้นจากการมีข้อมูลให้ธนาคารพิจารณาความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อและความสามารถในการชำระคืนเงินของเกษตรกร
ขณะเดียวกัน startup อินโดนีเซียก็สามารถช่วยให้ร้านค้าขนาดเล็กในชุมชนสามารถกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อสั่งซื้อสินค้ามาขายได้ด้วยการ เปลี่ยนข้อมูล suppliers, distributors และคำสั่งซื้อ จากการเปลี่ยนวิธีเก็บเอกสารเป็นกระดาษให้มาอยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่สามารถนำมาวิเคราะห์โดย AI และ ML เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจของสถาบันการเงินได้เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ ผู้ร่วมเสวนาเห็นว่า ปัจจัยที่จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการทางเงินโดยใช้ AI ได้แก่ การมี open data และ cloud computing power ที่เพียงพอ talents ที่เหมาะสม และการสนับสนุนเชิงนโยบายจากภาครัฐ ซึ่งรวมถึงการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการต่าง ๆ
2. โอกาสทางธุรกิจใหม่เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
ผู้ร่วมเสวนาหัวข้อ “New Business Opportunities for Sustainable Growth” เห็นว่า ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาเหมาะสมที่สุดในการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงมิติด้านความยั่งยืน มากกว่าที่จะเน้นเพียงผลกำไร เนื่องจาก stakeholders เข้าใจและให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวยิ่งขึ้น
ผู้บรรยายหัวข้อ “Digital Strategy for Public Infrastructure: India’s Experience” ได้แบ่งปันประสบการณ์การพัฒนา India Stack ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยให้ประชากรอินเดียกว่า 1 พันล้านคนที่เดิมไม่มีบัตรประชาชนและบัญชีธนาคาร สามารถเข้าถึงโลกดิจิทัลและบริการทางการเงินได้ India Stack มีองค์ประกอบหลัก ได้แก่
(1) ระบบ digital identity ที่กำหนดเลขประจำตัวประชาชนและเชื่อมโยงกับข้อมูลชีวมิติของแต่ละคน (ระบบ Aadhaar) ซึ่งช่วยทำให้กระบวนการพิสูจน์และยืนยันตัวตนสำหรับใช้บริการดิจิทัลต่าง ๆ สามารถทำได้โดยมีต้นทุนต่ำ
(2) ระบบการชำระเงินแบบ real time (ระบบ Unified Payment Interface หรือ UPI) ซึ่งช่วยให้ประชาชนทำธุรกรรม online และชำระเงินได้อย่างไร้รอยต่อ
ผู้ร่วมเสวนาหัวข้อ “Building Digital Highway for Businesses to Thrive in The Digital Era” เห็นว่า โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลอาจมีจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนที่แตกต่างกันได้ตามบริบทของแต่ละประเทศ เช่น กรณีอินเดียเริ่มจาก digital ID กรณีเกาหลีใต้เริ่มจาก data และกรณีไทยเริ่มจาก payment (PromptPay)
ทั้งนี้ ผู้ร่วมเสวนาเห็นว่า ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับนิติบุคคลประสบความสำเร็จ ได้แก่ 3 C’s (Collaboration ด้วยใจที่เปิดกว้าง, Connectivity ผ่านการพัฒนา Open API และ Common platform ที่ร่วมกันกำหนด open standards) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับแนวทาง 3 O’s ของ ธปท. (Open Competition, Open Data และ Open Infrastructure) ได้อย่างลงตัว