Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
INVESTMENT Memooo
•
ติดตาม
20 ก.ย. 2023 เวลา 17:23 • หุ้น & เศรษฐกิจ
Ep.2/n: Quality Investing - เสริมเรื่อง Maintenance Capex & Growth Capex
ต่อมาจาก Ep1
>>> Key Point1: ดังนั้น ไม่ว่าเราจะเป็นนักลงทุนในหุ้น หรือ เป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว หรือ จะเป็นผู้บริหารให้บริษัท:
เราควรจะรู้(ต้องรู้)ว่ากิจการที่เรามีส่วนได้ส่วนเสียอยู่นั้น มีกิจกรรมหรือค่าใช้จ่าย
- "ตัวไหนที่เป็นไปเพื่อ Maintenanceของกิจการ"
- "ตัวไหนเป็นไปเพื่อGrowthของกิจการ"
- "ตัวไหนที่เป็นแค่ค่าใช้จ่ายดำเนินการOPEXปกติ ที่มีคู่กับยอดขายตามปกติ"
>>> Key Point2: ซึ่งเรื่องนี้บางทีเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารที่เข้าใจกิจการดีมากอยู๋แล้ว เขาก็จะรู้ว่าต้องใช้จ่ายอะไรประจำเพื่อให้ธุรกิจยังแข่งขันได้อยู่(เป็นMaintenance Capex) และ ถ้าจะขยายธุรกิจเพิ่มยอดขาย เขาต้องลงทุนอะไรเพิ่มเพื่อCaptureยอดขายส่วนเพิ่มนั้นขึ้นมาได้(เป็น Growth Capex)
- ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว เจ้าของหรือผู้บริหาร เขาก็คงจะไม่ได้คิดแยกเป็น หมวดค่าใช้จ่าย Maintenance capex กับ Growth Capex อย่างงี้ให้เห็นชัดๆหรอก
- เขารู้ว่าต้องทำอะไร เพื่อส่งเสริมธุรกิจ แต่เรื่องศัพท์ทางการเงินหรือจัดระเบียบโครงสร้างเพื่อทำความเข้าใจ บางทีเขาก็ไม่รู้ในเชิงทฤษฎีเหมือนกัน (แต่ในโลกการทำงานจริงเขาเก่งและรู้ว่าต้องทำอะไร)
- (ส่วนในมุมมองทางการเงิน): เราที่เป็นนักลงทุนก็ต้องฟังและอ่านข้อมูลแล้วประมวลผลออกมาเอง และแยกกิจกรรม&ค่าใช้จ่ายที่สำคัญของ Maintenance Capex กับ Growth Capex ของกิจการออกมาให้ชัดเจน = ก็จะทำให้วิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่สำคัญของกิจการได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และเข้าใจถึงผลลัพธ์ของกลยุทธ์ที่บริษัทตัดสินใจในเรื่องการใช้ค่ามใช้จ่ายพวกนี้ได้ดียิ่งขึ้น มองได้ไกลมากขึ้นว่าน่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรต่อไป(โดยที่ตัวเลขงบการเงินมันไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้)
>>> Key Point3: ระดับความต้องการใช้ Maintenance Capex ของแต่ธุรกิจก็ไม่เท่ากัน
(บางทีธุรกิจเดียวกัน แต่Business Modelต่างกัน - ระดับความต้องการใช้ Maintenance Capex ของ2บริษัทก็ไม่เท่ากันได้)
- การจะดูว่าธุรกิจไหนที่มีRequirementกับ Maintenance Capex ที่ระดับสูง หรือ ต่ำ
= เราดูกันง่ายๆได้โดย เอา ตัวเงินMaintenance Capexที่ใช้แต่ละปี ไปเทียบกับ ค่าเสื่อมDepreciation&Amortizationที่หักออกไปทางบัญชีแต่ละปี
คือ Maintenance Capex/D&A
- [Note:] อันนี้คือเราดูในเชิงตัวเลขเป็นหลัก บางทีมันก็ไม่ได้ตรงเปะกับความจริง แต่ถ้าเราดูย้อนหลังไปหลายๆปีอย่างน้อยมันก็ให้ภาพโดยประมาณเราได้ว่าธุรกิจนี้ในการดำเนินงานจริงมัน Require เงินลงทุนเพื่อมาซ๋อมแซม Renovate สภาพกิจการต่อปีมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับสภาพธุรกิจที่จะเสื่อมโทรมลงไปเรื่อยๆแต่ละปี(ตามค่าเสื่อมDepreziationที่ตัวเลขทางบัญชีตีออกมาให้เราทางทฤษฎี)
** อย่างที่บอก เราหาวิธีที่จะวัดว่าสภาพธุรกิจเรามันจะค่อยๆเสื่อมโทรมลงตามกาลเวลาออกมาเป็นตัวเลขได้เบื้องต้น โดยAssumeว่า ค่าDepre&Amortize มันเป็น Proxyที่ให้ภาพความเสื่อมโทรมได้ระดับนึง**
** แต่ว่าจริงๆแล้ว ค่าเสื่อมDepreของAssetที่บัญชีAudit เขาตั้งสมมุติฐานหาตัวเลขมาหักออกรายไตรมาตร/รายปี "มันไม่ตรงกันความเป็นจริงหรอก"
- สินทรัพย์ในเรื่องจริงมันไม่ได้เสื่อมสภาพลงทรุดโทรมลงแบบตริงไปตรงมาแล้ววัดออกมาเป็นตัวเลขแบบง่ายๆได้เหมือนกันทั่วประเทศทั่วโลกหรอก
- เช่น อาคาร10ล้านบาท = ทางบัญชีอาจจะบอกว่าจะมีอายุได้20ปี ก็จะหักค่าเสื่อม(แสดงถึงความย่ำแย่ลงของตึก)ปีละ5แสนบาท - แต่ในเรื่องจริงเทคนิคทางวิศวะกรรมมันพัฒนาไปไกลจนโครงสร้างหลักของตึกมันใช้ได้เป็น30-40ปีโดยที่ไม่มีปัญหาได้อยู่แล้ว
- แต่สุดท้าย (การดูทางตัวเลข เชิงปริมาณ) เราก็เอาตัวเลขDepreciationนี่แหละมาเป็นตัววัดว่าทรัพย์สินที่ใช้เพื่หาเงินให้บริษัทเนี่ย มันจะทรุกโทรม ความแจ่มมันจะลดคุณภาพลงไปต่อปีวัดเป็นเงินเท่าไหร่
- ซึ่งตัว Maintenance Capex ก็เปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายที่เราใช้จ้างคนมาซ่อมสินรัพย์นั้น หรือซื้ออะไหล่มาซ่อมสินทรัพย์ในแต่ละปี เพื่อให้ทรัพย์ชิ้นนั้นมันยังใช้งานในธุรกิจได้คุณภาพเท่าเดิมอยู่ทุกปี
!!! จุดสำคัญ !!!
- สมมุติถ้าเครื่องจักรมันถูกประเมินว่าสภพามันแย่ลงปีละ500,000 บาท(ค่าDepreciation)
- แล้ว บริษัทA ต้องใช้เงินจ้างช่างและซื้ออะไหล่เพื่อมาซ่อมเครื่องจักรชิ้นนี้ที่ 500,000บาทในทุกๆปี(เป็น100%เท่ากับค่าเสื่อม) เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรโดยรวมยังเท่าเดิมอยู่
- กับ บริษัทB ต้องใช้เงินจ้างช่างและซื้ออะไหล่เพื่อมาซ่อมเครื่องจักรชิ้นนี้ที่ 250,000บาทในทุกๆปี(เป็น50%ของค่าเสื่อม) เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรโดยรวมยังเท่าเดิมอยู่
>> ดังนั้น ในตัวอย่างนี้จะเห็นได้ว่า บริษัทBจะต้องมีอะไรซักอย่างที่ทำได้ดีกว่าบริษัทAแน่นอน เพราะว่าใช้เงินค่าซ๋อมแซมบำรุงรักษาเครื่องจักรได้น้อยกว่าในการMaintain สภาพกิจการแต่ละปี
- ซึ่งการที่ บริษัทBมี %Maintenance Capex/D&A ต่ำกว่า >> มันก็จะไปช่วยเพิ่มให้กระแสเงินสดอิสระ FCF มากขึ้น(เมื่อเทียบกับบริษัทA) >> ซึ่งก็จะทำให้บริษัทBมีมูลค่ากิจการมากกว่าบริษัทA เมื่อประเมินมูลค่าIntrinsic Value (ไม่ว่าจะด้วยValuation Modelแบบไหนก็ตาม PE, PBV, DCF, อื่นๆ)
>>> Key Point4: แล้วถ้าบริษัทจ่ายเงิน Maintenance Capexเพื่อซ่อมแซมเพื่อRenovateกิจการไม่มากพอหละ, จะเกิดผลอะไรขึ้นกับผลประกอบการบริษัทนั้นในอนาคต?
- [ในระยะสั้น]: กำไรสุทธิ และ อัตราการทำกำไร%NPM และ กระแสเงินสดอิสระFCF จะสูงขึ้นทันทีในไตรมาตรนั้นหรือปีนั้น = จากเหตุผลว่าค่าใช้จ่ายจำเป็น(ที่จำเป็นมากๆจริงๆนะ)ที่ต้องจ่ายอยู๋ทุกปี ถูกตัดออกไปไม่จ่ายแล้ว (ไม่ใช่มาจากเหตุผลว่าขายของได้มากขึ้น หรือขายของได้ราคาแพงสูงขึ้นเลยกำไรมากขึ้น)
>> ในระยะสั้น ตัวเลขในงบการเงินก็จะดูดี(เชิงตัวเลข ปริมาณก็จะดูดี)
>> แต่ถ้าคนที่เข้าใจเชิงคุณภาพจริงๆ - ถึงจะในระยะสั้นก็จะพอดูออกได้ทันทีว่า สภาพประสิทธิภาพของบริษัทมันกำลังย่ำแย่ลงแล้วจะย่ำแย่ลงกว่าเดิม
- [ในระยะยาว]: รายได้รวมของบริษัทจะต้องลดลงอย่างแน่นอน (จาก ขายจำนวนได้น้อยลง Qลด หรือไม่ก็ ขายได้ราคาถูกลง Pลด) - และสุดท้ายก็จะ กำไรสุทธิลด, %NPMลด, กระแสเงินสดอิสระFCFลดลงไปเรื่อยๆ
- ซึ่งการที่กำไรลดลงใตอนนี้นั้น ก็จะไปMatch กับสภาพกิจการในเชิงคุณภาพที่ย่ำแย่ลงมาตั้งแต่วันแรกที่ตัดงบ Maintenance Capexแล้วนั่นเอง)
- ซึ่งการที่จะเอา ยอดขายและกำไรกลับมา มันอาจจะยากกว่าเดิมด้วย อาจะจะต้องใช้เงินมากกว่าการMaintainมันตอนแรกซะอีก
สรุปก็คือ ถ้าบริษัทไหนตัด ค่าใช้จ่ายMaintenance Capexที่สำคัญออกไปเป็นระยะเวลานึงหรือนานระดับนึง - ในอนาคตผลประกอบการเชิงตัวเลขและสถานะทางการแข่งขันเชิงคุณภาพจะย่ำแย่ตกลงอย่างรวดเร็วแน่นอน
INVESTMENT Memo n Journey
หุ้น
การเงิน
การลงทุน
2 บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
แนวคิดสำคัญ - จากหนังสือ Quality Investing การลงทุนที่ดีที่สุดคือการลงทุนที่มีคุณภาพ
2
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย