21 ก.ย. 2023 เวลา 05:54 • ปรัชญา
กระบวนการยุติธรรมของรัฐ ( เข้าใจว่าหมายถึงศาล ) จะทำหน้าที่ต่อเมื่อมีการฟ้องคดีจากผู้ฟ้องคดี และคิดว่าหน้าที่ของกระบวนการยุติธรรมคือการแสวงหาข้อเท็จจริง จากข้อมูลหลักฐานที่ทั้งผู้ฟ้องคดี และผู้ถูกฟ้องคดีต่างนำมาเสนอให้พิจารณา เมื่อพิจารณาแล้วจึงตัดสินว่าผู้ถูกฟ้องคดีมีความผิดหรือไม่ผิดตามคำฟ้องค่ะ
1) ก่อนที่ศาลจะตัดสิน คิดว่าคงใช้คำว่า “ อาชญากร” ไม่ได้นะคะ จนกว่าศาลจะตัดสินว่าผิดจริง และหากตัดสินว่าไม่ผิด ก็แน่นอนว่าเขาไม่ใช่ “อาชญากร “ ในทางกฎหมาย ส่วนในแง่ความจริงเขาอาจจะทำผิดหรือไม่ผิดก็เป็นไปได้ค่ะ
2) ถ้ามีอภัยโทษ หลังอภัยโทษแล้ว ก็ไม่น่ามีความผิดตามกฏหมายแล้วนะคะ
3) ทั้ง “บาป” และ “ความผิด” มองว่าคือ “กรรม” หรือ “การกระทำ” ที่ได้ทำลงไปแล้ว ในแง่กฏหมายเราอาจลบความผิด กลับดำให้เป็นขาวได้ แต่ในแง่กฏแห่งกรรมไม่มีอะไรลบล้างได้ค่ะ
4) จากข้อ 3 “กรรม” หรือ “การกระทำ” เป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ ทำอะไรไว้ ก็ได้อย่างนั้น แต่การบอกว่าการกระทำนี้”ผิด” หรือ “บาป” เป็นเพราะมีการบัญญัติจากใครบางคนหรืออะไรบางอย่างไว้ว่า"ผิด"หรือ"บาป"ค่ะ
โฆษณา