Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ร้อยเรื่องหลากมุมกับ ภก.ปราโมทย์
•
ติดตาม
23 ก.ย. 2023 เวลา 22:30 • สุขภาพ
อัพเดตประสิทธิภาพของยาช่วยนอนหลับตาม THE LANCET 2565
ปัจจุบันการใช้ยาช่วยนอนหลับมีใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดรายงานการได้รับผลข้างเคียงจากยาช่วยนอนหลับอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีเพิ่มมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา วันนี้จึงมาชวนคุยถึงเรื่องยาช่วยนอนหลับ ถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัย (เฉพาะข้อมูลอัพเดทล่าสุด THE LANCET 2565)
จากการศึกษา “Comparative effects of pharmacological interventions for the acute and long-term management of insomnia disorder in adults: a systematic review and network meta-analysis” ที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร THE LANCET 2565 ที่ผ่านมา ได้ทำการรวบรวมทั้งหมด 170 RCTs มาวิเคราะห์แบบ systematic review และคัดการศึกษา double-blinded RCTs มาโดยเฉพาะอีก 156 RCTs (จาก 170) เพื่อมาวิเคราะห์แบบ network meta-analysis (NMA) แบ่งผู้ป่วยออกเป็นกลุ่มที่ได้รับยา 35,280 คน และได้รับ placebo 12,670 คน
โดย primary outcome ของการศึกษานี้ ได้แก่ efficacy (ผลลัพธ์ช่วง 4 สัปดาห์แรก, tolerability และ safety โดยคัดเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคนอนไม่หลับแบบprimary insomnia และได้ excluded ผู้ป่วยที่เป็น secondary insomnia (นอนไม่หลับจากโรคทางจิตเวชหรือโรคทางกาย หรือนอนไม่หลับจากการใช้ยาหรือ substance) และมีการคำนึงถึง generalization หรือการประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยกลุ่ม secondary insomnia
โดยยาที่มีการนำมาศึกษาได้แก่
- ยาในกลุ่ม orexin receptor antagonists (ORAs) เช่น suvorexant, lemborexant
- ยาในกลุ่ม Benzodiazepines เช่น diazepam alprazolam
- ยาในกลุ่ม Z-drugs เช่น Zolpidem
2
จากการศึกษาพบว่า
- Benzodiazepines/zolpidem ยังถือว่ามีประโยชน์มาก ๆ ในช่วง acute treatment แต่ก็อย่างที่รู้กันว่าเรื่องของอาการไม่พึงประสงค์ก็มีโอกาสเกิดได้มากเช่นเดียวกัน ดังนั้นก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หากเลือกได้ควรเป็น short-acting/intermediate-acting benzodiazepines
- ORAs (lemborexant) ถือว่าเป็นยาที่มีประสิทธิภาพทั้ง short-term therapy และ long-term therapy ด้วย รวมถึงในแง่ของความปลอดภัย
- ยาอื่น ๆ Trazodone ยังเป็นทางเลือกที่ดีทั้งประสิทธิภาพ และ ความปลอดภัย สำหรับ Quetiapine ต้องรอการศึกษาเพิ่มเติมในแง่ของอาการไม่พึงประสงค์
ประเด็นอื่นๆ เช่น เรื่อง Tolerability พบว่า ORAs มี tolerability ที่ดีกว่า Z-drugs
ผลลัพธ์ด้าน Efficacy ใน acute treatment (4 weeks) พบว่า
Benzodiazepines (ทั้ง short, intermediate และ long acting), ORAs, และ Z-drugs มีประสิทธิภาพดีกว่ายาหลอก และถ้าเปรียบเทียบแบบ head-to-head จะพบว่า short-acting benzodiazepines มีประสิทธิภาพดีกว่า ORAs และ z-drugs
ผลลัพธ์ด้าน Safety ORAs มีความปลอดภัยเหนือกว่า benzodiazepines
อย่างไรก็ตาม การพิจารณาเลือกใช้ยาช่วยนอนหลับควรพิจารณาความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับประโยชน์จากการใช้ยาช่วยนอนหลับ และเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาน้อยที่สุด
อ้างอิง
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35843245/
การแพทย์
ข่าวรอบโลก
ความรู้รอบตัว
บันทึก
7
2
3
7
2
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย