23 ก.ย. 2023 เวลา 05:05 • หนังสือ

— 𝕄𝕆ℕ𝔼𝕐 𝟙𝟘𝟙 —

หนังสือการเงินอีกเล่มนึงที่ผมแนะนำอยากให้ทุกท่านได้อ่านมาก็จริงๆ เป็นการพูดถึงเรื่องเงินที่คนไทยสามารถเข้าใจได้ง่ายยยยมากกกก
มีการยกตัวอย่างสถานการณ์ให้เราเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นด้วย
หนังสือเล่มนี้พี่ Jakkarach Jittapong เป็นคนแนะนำให้ผมอ่าน ขอบคุณมากจริงๆครับ🙏
เนื้อหาในหนังสือที่ผมสรุปมาก็จะมีประมาณนี้
#บทนำ วิชาที่หายไปจากห้องเรียน
• ทุกอย่างเจรจาได้
• ปัญหาเรื่องเงินไม่ได้แก้ได้ด้วย เงิน อย่างเดียว แต่ต้องอาศัย ความรู้ทางการเงินด้วย
• การจัดการเงินขั้นพื้นฐาน ได้แก่
1. หารายได้ Earning เลี้ยงตัวได้เพียงพอ
2. จัดการค่าใช้จ่าย Spending ได้อย่างเหมาสม
3. จัดสรรออม Saving สะสมไว้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเงินในวันข้างหน้า
4. ลงทุนต่อยอด Investing สร้างทรัพย์สินให้เพิ่มพูนขึ้น และกลายเป็นความมั่นคั่งให้กับตัวเอง
#บทที่1 องศาที่แตกต่าง
เป็นการเปรียบเทียบถึง คนสองคนในสองสถานการณ์
: สถานการณ์แรก การออมที่แตกต่างกัน ระหว่างออมเงินธรรมดากับการออมหุ้น เพราะทั้งสองคนมีความรู้ที่แตกต่างกัน
: สถานการณ์ที่ 2 การเริ่มต้นที่แตกต่างกันถึงแม้จะรู้ในสิ่งเดียวกันแต่เริ่มต้นแตกต่างกันก็มำให้ผลลัพธ์แตกต่างกันได้
#บทที่2 การเงินง่ายเมื่อเข้าใจชีวิต
• คนเราต้องตั้งเป้าหมายชีวิตเสียก่อนแล้วจึงตั้งเป้าหมายทางการเงิน ไม่ใช่เอาเป้าหมายทางการเงินเป็นตัวตั้ง
• เมื่อเป้าหมายชีวิตชัดเจน เป้าหมายทางการเงินก็ชัดเจนไปด้วย การเรียนรู้และลงมือทำเพื่อไปสู่ชีวิตในแบบที่ต้องการก็จะง่ายตามไปด้วย
ลำดับของเป้าหมาย
ชีวิต → การเงิน → เรียนรู้/ลงมือทำ
เราต้องการอะไร , สิ่งที่ต้องการ , เราต้องรู้อะไร?ใช้เงินสนับสนุนเท่าไหร่ , ต้องทำอะไรบ้าง
#บทที่3 สองคำศัพท์สำคัญในโลกการเงิน
Liquidity (สภาพคล่อง) Wealth (ความั่นคง)
• โจทย์แรกสำหรับความสำเร็จทางการเงินคือ
ต้องบริหารสภาพคล่องในแต่ละเดือนให้เป็นบวก (มีเก็บออม) เพราะถ้าสภาพคล่อมเป็นบวกในแต่ละเดือน มีกระแสเงินสดคงเหลือก็จะสะสมเพิ่มใากพอให้เรานำไปต่อยอดกลายเป็นความมั่นคั่งได้
• แนวทางการบริหารจัดการเงิรให้มีสภาพคล่อง
1. หักออมก่อนใช้จ่ายแบบอัตโนมัติ
คือการ หักรายได้ที่เข้ากระเป๋ามาไปออมไว้ก่อนอย่างน้อย10% ที่เหลือค่อยเอามาใช้จ่าย
2. สะสมเศษตังค์
คือการสะสมเศษเหรียญ1฿ 2฿ 5฿ 10฿ หรือบางคนจะเก็นเป็นแบงค์50฿ก็ได้ หยอดกระปุกไว้ เมื่อเวลาผ่านไปไม่นานจากเศษเงินก็จะเปลี่ยนแปลงเป็นเงินก้อนได้ สามารถนำไปลงทุนต่อยอดได้ต่อ
3. หักภาษีฟุ่มเฟือย 10%
หมายความว่า ถ้าอยากได้ของฟุ่มเฟือยก็ซื้อได้ แต่ต้องจ่ายภาษีให้ตัวเองด้วย เช่น อยากกินกาแฟแก้วละ150บาท ต้องหัก15บาทเอามาหยอดกระปุกไว้สำหรับเก็บออม
*คนเราฟุ่มเฟือยได้ แต่ต้องไม่เกินตัว
#บทที่4 งบการเงินส่วนบุคคล
งบการเงินส่วนบุคคล (Personal Financial Statement) ประกอบด้วย
1. งบรายรับรายจ่าย (Income Statement)
มีโครงสร้างประกอบด้วย รายรับ , เงินออม ,
รายจ่าย และ เงินคงเหลือ โดยมีความสัมพันธ์กันแบบง่ายๆคือ รายรับ - เงินออม - รายจ่าย = เงินคงเหลือ
• รายรับ : เงินเดือน , ค่าจ้าง , คอมมิชชั่น , OT
โบนัส , ค่าเช่า , ดอกเบี้ย , เงินปันผล , ค่าลิขสิทธิ์ เป็นต้น
• เงินออม : รายการที่เราหักออมและลงทุนเป็นประจำทุกเดือน
• รายจ่าย : แบ่งเป็น 2 ประเภท
1. รายจ่ายคงที่ หมายถึงรายจ่ายประจำ เช่น ค่าผ่อนบ้าน , ผ่อนรถ , ภาษี ฯลฯ
2. รายจ่ายผันแปร หมายถึง ค่าอาหาร , ค่าเดินทาง , ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ฯลฯ
• เงินคงเหลือ : เงินที่เหลือจากรายได้ หักด้วยเงินออมและค่าใช้จ่ายทั้งหมด
2. งบแสดงสถานะการเงิน (Statement of Financial Position)
มีโครงสร้างแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ทรัพย์สิน(Assets). ที่เราครอบครองอยู่
หนี้สิน(Debts). ที่เราติดค้างอยู่
ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง
หลังเกณฑ์ในการทำงบแสดงสถานะการเงิน ควรจัดทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อทบทวนสถานะทางการเงิน ซึ่งถ้าบริหารเงินดี ทรัพย์สินจะเพิ่มขึ้น / หนี้สินจะลดลง
ตัวชี้วัดที่จะบ่งชี้ว่าึธัญบุรีสถานะการเงินของเราอยู่ในระดับดีหรือไม่ ก็คือ ทรัพย์สินสุทธิ/ความมั่นคั่งสุทธิ (Net Worth) คำนวณได้ดังนี้
ทรัพย์สินสุทธิ = มูลค่าทรัพย์สินรวม - หนี้คงค้างรวม
• อีกหนึ่งวิธีฝนการชี้วัดสถานะทางการเงินก็คือ อัตราส่วนทางการเงิน ที่ง่ายต่อการนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการเงินต่อไป
#อัตราส่วนทางการเงิน
1. เงินออม/ลงทุน
สูตรคำนวณ เงินออมและลงทุนรายเดือนx100
รายได้รวมทั้งเดือน
สภาวะที่การเงินที่ดี อย่างน้อย 10%
2. เงินชำระหนี้ต่อรายได้
สูตรคำนวณ เงินชำระหนี้รายเดือนx100
รายได้รวมทั้งเดือน
สภาวะที่การเงินที่ดี ไม่เกิน 30% (ไม่มีหนี้บ้าน/รถ) ไม่เกิน 50% (กรณีมีหนี้บ้าน/รถ)
3. อัตราส่วนเงินสำรองฉุกเฉิน
สูตรคำนวณ ทรัพย์สินสภาพคล่อง
รายจ่ายรวมต่อเดือน
สภาวะที่การเงินที่ดี มากกว่าหรือเท่ากับ6(เดือน)
4. ทรัพย์สินสุทธิ
สูตรคำนวณ ทรัพย์สินรวม - หนี้สินรวม
สภาวะที่การเงินที่ดี ทรัพย์สินสุทธิเป็นบวก
#บทที่5 เป้าหมายแรกของการออม
• เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน 6-12เท่าของรายจ่ายรวมต่อเดือน
#บทที่6 การไม่มีหนี้(จน) คือลาภอันประเสริฐ
• การไม่มีหนี้ คือลาภอันประเสริฐ ประโยคนี้อาจไม่ถูกต้องเสียทั้งหมด และอาจเป็นจริงเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น เพราะไม่ใช่ " หนี้ " ทุกแบบหรอกที่นำความจนมาให้ โลกนี้ยังมีหนี่บางประเภทที่ทำให้รวยขึ้น
- ในทางการเงินเราสามารถแบกภาระหนี้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ หนี้จน และ หนี้รวย
1. หนี้จน (Bad Debt) : หนี้ที่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่ม แบ่งได้อีก 2 กลุ่ม คือ
- หนี้บริโภค : บัตรเครดิต , บัตรกดเงินสด , ผ่อนสินค้า , สินเชื่อส่วนบุคคล
- หนี้เพื่อการประกอบอาชีพและปัจจัยพื้นฐาน
: หนี้บ้าน , หนี้รถ , หนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษ
*หลักการพิจารณากู้ยืมเพื่อประกอบอาชีพและปัจจัยพื้นฐานคือ ต้องมีความจำเป็นและมีความสามารถในการชำระคืน
2. หนี้รวย (Good Debt) : หนี้ที่สร้างรายได้เพิ่ม เป็นลักษณะของการกู้ยืมเงินเพื่อนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่สร้างกระแสเงินสด (Cash Generating Assets) โดยมีผลลัพธ์ของกระแสเงินสดสุทธิ (กระแสเงินสดรับจากการลงทุน - กระแสเงินสดจ่ายหนี้) เป็นบวก
• สาเหตุที่คนส่วนใหญ่มีหนี้จนกันเยอะก็้พราะว่า
1. การใช้จ่ายที่เกินตัว
2. การอุปถัมภ์เกินกำลัง
3. การลงทุนที่ผิดผลาด
#บทที่7 ฝันอยากได้อะไรต้องมีแผน
• ไม่ผิดถ้าคนเราจะมีความฝันหรือสิ่งที่อยากได้ แต่ก็ควรคำนึงถึงความจำเป็นและเหมาะสมด้วย
และยังต้องคำนึงถึงสภาพคล่องหลังการซื้อหรือเป็นเจ้าของสิ่งนั้นแล้ว ว่าเรามีความสามารถที่จะบริหารสภาพคจให้เป็นบวกได้หรือไม่ ถ้าสภาพคล่องติดลบก็จงพิจารณาการซื้อออกไปก่อนหรือหาวิธีที่จะทำให้ได้สิ่งนั้นมาโดยที่ไม่เป็นหนี้จน
#บทที่8 วางแผนรับมือเรื่องร้าย
• ในบทนี้จะเน้นไปที่การรับมือกับความเสี่ยโดยการทำประกันชีวิต ผมจะไม่ขอลงรายละเอียดมากเพราะส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการทำประกันที่เหมาะสนกับเรา
#บทที่9 บริหารภาษีให้เป็น
• แนวทางการวางแผนเพื่อประหยัดภาษี
โดยส่วนตัวผมเองไม่มีเทคนิคหรือวิธีทำให้เสียภาษีน้อยๆ แต่ผมเชื่อในเรื่องการศึกษากฎเกณฑ์ให้เข้าใจ และใช้สิทธิประโยชน์ให้ "ถูกต้อง" และ "เหมาะสม" มากกว่า
— Money Coach —
#บทที่10 วางแผนเกษียณรวย
เกษียณรวย : หมายถึงการทยอยออมและลงทุนระยะยาว เพื่อสะสมเงินไว้ให้เพียงพอใช้จ่ายในช่วงหลังเกษียณ ซึ่งเป็นช่วงที่หลายคนอยากพักผ่อน อยากหยุดทำงาน หรือทำงานแต่น้อยแล้ว
#บที่11 ทำให้ชีวิตมีรายได้หลายทาง
ถ้าคุณต้องการสร้างอัตราเร่งให้ความมั่นคั่ง และลดความเสี่ยงเรื่องการขาดหายไปของรายได้ในบางจังหวะชีวิตที่อาจทำให้สถานะการเงินของคุณสะดุดเนื่องจากสาเหตุใดๆก็ตาม แนวคิดที่คุณควรมี คือ : แนวคิดการมีรายได้หลายทาง
#บทที่12 เครดิตคือโอกาส
" ไม่มีเงิน แต่มีเครดิต เครดิสยังสร้างเงินให้กับเราได้ "
การจัดการสินเชื่อให้ดี ให้พร้อม เพื่อสร้างเครดิตทางการเงินให้กับตัวเอง
1. ก่อนใช้สินเชื่อทุกประเภท ต้องทบทวนความจำเป็น และ ความสามารถในการชำระหนี้ ให้มั่นใจว่าจะสามารถชำระคืนเจ้าหนี้ได้ตลอดอายุสัญญา
2. บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด ซึ่งเป็นสินเชื่อดอกเบี้ยสูง (16-25%/year) ควรชำระหนี้เต็มจำนวนทุกครั้งที่ใช้ ไม่ควรมีหนี้คงค้าง
3. ควรวางแผนการเงินเป็นประจำทุกเดือน(งบรายรับรายจ่ายล่วงหน้า) กรณีมีความจำเป็นต้องใช้เงินก้อน เช่น สินเชื่อสหกรณ์ สินเชื่อส่วนบุคคล ต้องวางแผนให้มันใจก่อนว่า เราสามารถผ่อนชำระคืนได้ทุกเดือนตามเงื่อนไข
4. ผ่อนชำระหนี้ทุกประเภทให้ตรงเวลา เพราะนอกจากจะช่วยรักษาเครดิต เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อในครั้งต่อๆไปแล้ว ยังลดโอกาศการเกิดต้นทุนเพิ่ม เช่น ดอกเบี้ยปรับ และค่าติดตามทวงถาม
5. หมั่นตรวจสอบเครดิตการเงินเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลประวัติการชำระหนี้ถูกต้อง รวมถึงไม่มีข้อมูลแปลกปลอมที่อาจทำให้เสียโอกาศในอนาคต
6. ตรวจสอบรายละเอียดการใช้จ่าย การชำระหนี้ และเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องไว้เป็นหลักฐานให้ครบถ้วนจนกว่าหนี้ดังกล่าวจะถูกชำระจนหมดไม่มีเหลือคงค้าง
#บทที่13 สร้าง Passive income ให้ตัวเอง
แนวคิดการสร้างกระแสเงินสดจากทรัพย์สิน หรือ Passive income นั้นเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากที่หนังสือ พ่อรวยสอนลูก เข้ามาวางขายในประเทศไทย
ส่วนหลักการในการสร้างทรัพย์สินให้มีกระแสเงินสดนั้นมีมากมาย เช่น การออมหุ้น , กองทุนปันผลต่างๆ , อสังหาให้เช่า หรือแม้แต่ค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ และยังมีวิธีแื่นอีกมากมาย แต่ถึงจะฟังดูเหมือนง่าย แต่ทำไมหลายคนถึงทำไม่ได้ นั่นก็เป็นเพราะ คนจำนวนไม่น้อยอดทนรอให้ทรัพย์สินที่สร้างขึ้นค่อยๆ ทำเงินได้ไม่ จึงเลือกทำงานที่ได้เงินแน่ๆ (เงินเดือน)
#บทที่14 วางแผนเกษียณรวยก่อนเกษียณ
โมเดลในการสร้างอิสรภาพทางการเงินในแบบของตัวเอง(Money Coach)
1. สร้างธุรกิจ (Business) ค่าลิขสิทธิ์ (Royalty) หรือ ลงทุน อสังหาฯ (Rental Property). ที่ให้กระแสเงินสด โดยใช้เงินตัวเองน้อยที่สุด (แนวคิด Other People's Money : OPM)
2. นำกระแสเงินสดที่ได้จากธุรกิจและอสังหาฯไปลงทุนต่อ โดยแบ่งส่วนหนึ่งสะสมลงทุนในตราสารการเงิน(Paper Asset) เช่น ตราสารหนี้ กองทุนรวม ฯลฯ อีกต่อหนึ่ง
สุดท้ายแล้ว การคิดและลงมือทำแบ่งแยกคนที่อยากมีชีวิตพุ่งทะยานไปข้างหน้ากับคนที่ชีวิตมีข้อจำกัดอยู่เสมอ
คนที่มีชีวิตพุ่งทะยานไปข้างหน้า เขามองหาโอกาสก่อนหาเงิน ส่วนคนที่ชีวิตอุดมไปด้วยข้อจำกัด มักทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามและมักใช้เงินทุนเป็นข้ออ้างเพื่อหยุดยั้งให้พวกเขาไม่ต้องคิดไม่ต้องทำอะไรต่อ
#บทที่15 ชีวิตคนเป็นผลของการ " เลือก "
ในแต่ละวันชีวิตเรามีแต่เรื่องให้ต้องตัดสินใจตลอด ตั้งแต่ตื่นเช้าจนถึงเข้านอน แต่ถ้าเป็นเรื่องการเงินที่ต้องตัดสินใจ ผมขอแนะนำดังนี้
1. ทุกครั้งที่ได้เงินมา : เลือกจ่ายให้ตัวเองก่อน
หลักการนี้เรียกว่า " Pay Yourself First " คิการหักเงินออมก่อน 10% เพื่อเพิ่มทรัพย์สินในช่องทรัพย์สินของเรา
2. ทุกครั้งที่ต้องใช้จ่าย : เลือกยึดสภาพคล่อง
เป็นหลัก
ทุกครั้งที่ต้องตัดสินใจจ่ายเงินออกไป หรือ กู้ยืมเงินมาใช้ ให้พิจารณาถึงผลที่จะตามมา จากการตัดสินใจนั้น ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้างสภาพคล่องจะเป็นบวกหรือลบ แล้วค่อยตัดสินใจว่าจะ ทำ หรือ ไม่ทำ
เรื่องการเงินไม่มีคำตอบที่ตายตัว และไม่มีคำตอบที่ใช้ได้กับทุกรูปแบบชีวิตหรือทุกคน คนแต่ลพคนต้องออกแบบชีวิตตัวเอง วางแผนการเงินของตัวเอง และตัดสินใจ " เลือก " วิธีการบริหารจัดการเงินในแบบฉบับของตัวเอง
จำเอาไว้ว่า ไม่ว่าคุณจะเรื่องจัดการเงินของคุณอย่างไร ตุณก็จะเป็นผลลัพธ์ทางการเงินในแบบที่คุณเลือก
#บทที่16 การเงินส่วนบุคคล
คุณสมบัติสำคัญ 3 ข้อ ที่คนประสบความสำเร็จทางการเงินมีอยู่เหมือนๆกันคือ
1. มีความรับผิดชอบทางการเงิน
: การให้ความสำคัญกับอนาคตทางการเงินของตัวเอง มุ่งมั่นที่จะมีชีวิตการเงินที่ดี มีการวางแผนการเงินในทุกช่วงของชีวิต
2. มีความรู้ทางการเงิน
: การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการบริหารจัดการทั้ง 4 ด้าน การหารายได้ , การใช้จ่าย , การออม และการลงทุน และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางการเงินกับชีวิตตัวเองได้อย่างเหมาะสมในทุกช่วงของชีวิต
3. มีวินัยทางการเงิน
: การนำความรู้ทางการเงินมากำหนดเป็นเป้าหมายและแผนการเงินของตัวเอง แล้วปฏึตาอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการเงินที่ดี
การเงินเป็นเรื่องส่วนบุคคล ที่แต่ละคนต้องรับผิดชอบการเงินของตัวเองให้ดี อย่าให้มีปัญหาทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น และในขณะเดียวกัน ก็อย่าให้คนอื่นมาก่อนปัญหาทางการเงินให้กับตัวเรา
#บทส่งท้าย ปูทางสู่ชีวิตการเงินอุดมสุขด้วยสุขภาพการเงินที่ดี
หลักการสุขภาพการเงินที่ดี (Money Fitness)
• สภาพคล่องดี
• ปลอดหนี้จน
• พร้อมชนความเสี่ย
• มีเสบียงสำรอง
• สอดคล้องเกณฑ์ภาษี
• บั้นปลายมีทุนเกษียณ
การมุ่งสู่ทุกความสำเร็จ จำเป็นต้แงมีพื้นฐานหรือเบสิคที่แข็งแกร่ง นักบอลระดับโลกขณะฝึกซ้อมพวกเข้ายังต้องฝึกเรื่องง่ายๆ เช่นการรับส่งบอล คนที่อยากมั่นคั่งก็ต้องเก่งและแม่นเรื่องการเงินพื้นฐานด้วยเหมือนกัน
ในบางบทผมอาจจะไม่ได้สรุปมาทั้งหมดแต่คิดว่าที่นำมาสรุปไว้นั้นมีความสำคัญและนำมาปรับใช้ได้จริงๆ ขอบคุณทุกท่านที่อ่านจนจบ
ขอบคุณครับ🙏
#money101 Money Coach
โฆษณา