23 ก.ย. 2023 เวลา 07:24 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Ep.5/n: Quality Investing - Maintenance Capex ยังใช้ได้กับการรักษาพนักงานไว้

เพิ่มเติมเรื่อง Maintenance Capex:
✨ไอเดียนี้ยังใช้ได้กับการบริหารจัดการพนักงาน Human Resource ได้ด้วยเหมือนกัน
>>> ✔ มุมมองเรื่องที่ 1 = การจ่ายเงินค่าสวัสดิการต่างๆให้กับพนักงานเพื่อMaintainหนักงานให้อยู๋กับบริษัทไปนานๆด้วยก็ได้
- เจ้าของบริษัทต้องมีการจ่ายเงินในการให้สิ่งเสริมต่างๆหรือโบนัสหรือวันหยุดหรือน้ำใจหรือการส่งเสิรมต่างๆ = เพื่อเป็นการMaintain เพื่อรักษา เพื่อรั้งใจพนักงานที่เก่งและสำคัญต่อบริษัทเอาไว้ให้อยู๋กันไปนานๆ
- เพราะว่า ต้นทุนค่าสวัสดิการส่วนเพิ่มจากค่าจ้างปกตินั้น คิดแล้วอาจจะเป้นตัวเงินที่ถูกกว่า ต้นทุนการหาพนักงานใหม่บวกกับต้นทุนการTrainingพนักงานใหม่บวกกับต้นทุนค่าเสียโอกาสเวลาพนักงานเก่าออกขาดคนทำงานไป นั่นเอง
[ เช่น ค่าแรงพนักงานปกติ 20,000บาท + เพิ่มสวัสดิการอื่นๆอีกประเมินว่า2,000-3,000บาท(ประมาณ 10-15%+/- >> ตัวอย่าง เค้กวันเกิด, เที่ยวoutingประจำปี, โบนัสผลประกอบการประจำปี, ของขวัญอายุงานครบ5ปี,อื่นๆ)
ซึ่งถ้าเทียบกับการที่ต้องเอาเงินไปจ่ายค่าหารพนักงานใหม่ที่ทำงานได้ดีเท่าคนเดิม ค่าTrainingพนักงานใหม่ที่ต้องเอาคนเก่ามาเสียเวลาสอนงานอีก ค่าเสียหายเวลาพนักงานใหม่เริ่มทำงานที่ต้องมีการผิดพลาดบ้าง ค่าคอมมิสชั่นHead hunting ค่าเสียโอกาสเวลาพนักงานขนาดช่วงตอนรอคนใหม่ ค่าเสียเวลาเวลาพนักงานใหม่เข้ามาแล้วอยู๋ไม่นาน
= พอมาดูต้นทุนในการหาและสร้างพนักงานใหม่ จนทำงานได้ดีและมั่นใจว่าจะอยู๋กับบริษัทไปได้นาน คงใช้พลังงาน ทรัพยากร และเงิน ไปไม่น้อยกว่าค่าสวัสดิการส่วนเพิ่ม 2,000-3,000บาทแน่นอน ]
Cr. ภาพจาก Easysunday.com
>>> ✔✔ มุมมองเรื่องที่ 2 = การแข่งขันในการจ้างพนักงานหรือการแย่งชิงพนักงาน แบรนด์และภาพลักษณ์และชื่อเสียงของบริษัทก็มีผลต่อการตัดสินใจของตัวพนักงานเองเหมือนกัน
>> ประเด็น คือ = บริษัทก็ควรมีการจ่ายเงินค่า Maintenance Capex เพื่อ Mainainตำแหน่งในการแข่งขันในตลาดแรงงานไว้ด้วยเหมือนกัน
เพราะว่า ความดังกว่าคู่แข่ง ภาพลักษณ์ที่ดีกว่าคู่แข่ง สังคมพนักงานที่ดีกว่าคู่แข่ง การบอกปากต่อปากของพนักงานในเชิงบวดที่ดีกว่าคู่แข่ง = สุดท้ายมันทำให้บิรษัทได้ประโยชน์สูงกว่าเวลาจ้างพนักงาน(เมื่อเทียบกับคู่แข่ง)
- ไม่ว่าจะในมุม: ถ้า2บริษัทเสนอจ่ายค่าแรงเท่ากัน 20,000บาท พนักงานที่เก่งคนนั้นก็มีโอกาสไปเลือกบริษัทดูแล้วแบรนด์ดีกว่าในวงการตลาดการจ้างงานช่วงนั้น
- หรือว่าจะในอีกคำพูดนึง: ถ้าจ่ายเท่ากันบริษัทที่แบรนด์แข็งกว่าก็จะได้คนที่เก่งกว่าไป บริษัทที่แบรนด์ด้อยกว่าก็จะได้คนที่ศํกยภาพด้อยกว่าไป
- ในอีกคำพูดนึง: ถ้าต้องการพนักงานที่เก่งเท่ากัน บริษัทที่ภาพลักษณ์แบรนด์พนักงานด้อยกว่าก็จะต้องจ่ายผลตอบแทนที่มากกว่าให้กับพนักงานคนนั้น (เมื่อเทียบกับบริษัทที่แบรนด์แข็งกว่า)
- เปรียบเทียบอีกอย่างก็คือ = บริษัทที่แบรนด์ในใจพนักงานแข็งกว่า จะมีอำนาจต่อรองในตลาดแรงงานได้ที่สูงกว่าคู่แข่ง หรือสูงกว่าStakeholderอื่นๆในตลาดพนักงานนั่นเอง
>> สุดท้ายข้อได้เปรียบในการจ้างพนักงานนี้ ก็จะส่งผลมาที่ผลประกอบการบริษัทและผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นที่ดีกว่านั่นเอง
ตัวอย่างเช่น:
** โดยให้สมมุติฐานว่า 2บริษัทคู๋แข่งกัน ทุกอย่างเท่ากันหมด ต่างกันที่ความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงาน **
- %SG&A to sale ต่ำกว่าคู่แข่งเพราะจ้างพนักงานได้ที่เรทต่ำกว่า,
- Sale/Asset(Asset turnover) สูงกว่าคู่แข่ง เพราะว่าทีมงานโดยรวมมีความเก่งมากกว่ามีศักยภาพมากกว่าเลยทำให้ชนะในการแข่งขันในการแย่งชิงความสำเร็จยอดขาย
- %Employee Turnover rate อัตราการลาออกของพนักงาน ต่ำกว่าคู่แข่ง ทำให้การทำงานและการขยายงานทำได้ต่อเนื่องและง่ายกว่า ความเสี่ยงเรื่องทีมงานต่ำกว่าคู่แข่ง
- %NPM สูงกว่าเพราะยอดขายก็ได้คนเก่งกว่ามาทำ ค่าใช้จ่ายในการจ้างคนก็ไม่ได้จ่ายสูงกว่า
- ROE ROA ก็จะสูงกว่าคู่แข่ง
ถ้าตัวอย่างในชีวิตจริง เช่น:
-ตัวอย่าง1: โรงงานเย็บผ้าOEM 2 ตั้งอยู่ตรงข้ามกัน (โรง1 เป็นโรงใหญ่ดูมั่นคงพนักงานเป็นร้อยคน, โรง2 เป้นโรงงานขนาดเล็ก ทำงานแบบในครัเรือนพนักงาน9-10คน)
- ในเคสนี้ ถ้าคนเย็บผ้าจะหางาน เขาก็คงจะไปสอบถามที่โรงที่ใหญ่กว่ากว่าอยู่แล้ว และถ้าโรง2ที่เล้กกว่าอยากจะหาคนมากๆ โรง2ก็คงจะต้องเพิ่มค่าจ้างให้สุงกว่าโรง1 เพื่อให้คนเย็บผ้าหันมาเลือกทำงานกับตัวเองบ้างนั่นเอง
-ตัวอย่าง2: ร้านกาแฟStarbuck กับ ร้านกาแฟno name - ถ้า2ร้านนี้ประกาศหาบาริสต้าเงินเดือน 20,000 บาท เหมือนกัน = คิดว่าร้านไหนจะได้บาริสต้าก่อนกัน หรือคิดว่าร้านไหนจะได้บาริสต้าที่เก่งกว่าไปก่อนกัน
- คำตอบโดยปกติแล้ว ก็คงจะเป็นร้าน Starbuck ได้บาริสต้าไปก่อน และ ได้คนที่เก่งกว่าไปก่อนด้วยนั่นเอง
ถ้าดูป้ายร้บสมัครงานแล้ว แบรนด์ไหนดูมีพลังดึงดูดพนักงานมากกว่ากัน?
- ตัวอย่างที่3: โรงพยาบาลกรุงเทพBDMS หรือ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ก็มีความสามาถในการดึงแพทย์ที่เก่งๆชั้นนำไปประจำที่เครื่อโรงพยาบาลมากกว่าโรงพยาบบาลระดับรองอื่นๆลงมา (เพราะอาจจะด้วยภาพลักษณ์, ผลตอบแทนที่ให้ได้, เครื่องไม้เครื่องมือที่เพียบพร้อมกว่า, ระบบทีมงานที่มืออาชีพซํพพอทกว่า,อื่นๆ)
- ตัวอย่างที่4: อาจจะมองในเรื่องของทำเลการเลือกเปิดออฟฟิศสำนักงานก็ได้
ทำไมบริษัทชั้นนำถึงต้องเลือกเปิดออฟฟิศทำงานที่อยู่ในย่านใจกลางเมืองหรือในย่านธุรกิจที่ค่าเช่าสูงกว่าในเขตรอบนอกหรือขานเมืองอื่นๆ - ส่วนนึงนั่นก็เป็นเพราะว่ามันช่วยอำนวยความสะดวกในการติดต่องานของธุรกิจเองส่วนนึง - อีกส่วนนึงที่มีผลก็คือเรื่องโอกาสในการหาพนักงานที่มีศักยภาพสูงเลือกเข้ามาทำงานได้ง่ายขึ้นกว่า การไปเปิดออฟิศในย่านชานเมือง หรือว่าไปเปิดอยู๋ฝั่งธนหรือปริมณทล หรือยิ่งไปเปิดอยู่ต่างจังหวัดที่ไม่ใช่เมืองหลวง
>>> ✔✔✔ มุมมองเรื่องที่ 3:
พนักงานก็เหมือนเป็น Operating Asset ของกิจการด้วยเหมือนกัน ไอเดียเดียวกับ Brand Awarenessในใจผู้บริโภคก่อนหน้านี้ (ซึ่งจะไม่ได้มีตัวเลขมูลค่าลงบันทึกไว้ในBalance Sheet เหมือพวกทรัพย์สินจับต้องได้ หรือวัดมูลค่าได้โดยทั่วไป)
ดังนั้น: ยิ่งเป็นธุรกิจที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางของพนักงานสูงๆในการดำเนินธุรกิจเป้นหลัก เช่น Investment Banking(คนIBในการทำดีลต่างๆ), บริษัท Consultant(ที่ทำงานจากความคิดและทักษะทีมงานอย่างเดียว), สำนักงานบัญชี, บริษัทเขียนซอฟแวร์, ทีมกีฬาต่างๆฟุตบอล บาส อเมริกันฟุตบอล นักแข่งรถ
- ธุรกิจพวกนี้จะเห้นได้ว่า ค่าตอบแทนต่อพนักงานที่เก่งๆมีศักยภาพ จะจ่ายค่าเหนื่อยกันสูงมากๆจนบางทีพนักงานรวยกว่าเจ้าของบริษัทไปซะอีกบางครั้ง
- ตัวอย่างเช่น ⚽ ค่าเหนื่อยนักฟุตบอลซุปเปร์สตาร์ โรนัลโด้ เมสซี่ เนย์ม่า อื่นๆ พุ่งขึ้นไป 300,000 400,000 500,000 usd/WEEK สูงมากจนคนงงกันว่าเป้นไปได้ยังไง
- ซึ่งนี่ก็เกิดจาก ด้วยNatureของอุตสาหกรรมกีฬาฟุตบอลที่ ความสามารถในการแข่งทีมไหนจะขนะ ความสมารถของพนักงาน(นักเตะ)มีผลมากๆถึงมากที่สุดมากกว่า ทรัพย์สินที่จับต้องได้ในBalanceSheetอื่นไปเยอะ(สนามบอล, ยิม, สระว่ายน้ำ, สต็อกกเสื้อกีฬา,อื่นๆ) >> นักเตะที่เก่งมากและเป็นแกนสำคัญของทีมจึงอยู๋ในสถานะที่มีอำนาจต่อรองเหนือกว่าเจ้าของบริษัทซะอีกนั่นเอง
- 🧔 ซึ่งอำนาจต่อตองค่าแรงในวงการฟุตบอลตอนนี้ก็เริ่มหมุนไปตามยุคสมัย ปัจจุบันก็มาถึงโค้ชแล้วที่เป้นAsset Human Resourceที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันขึ้นมาไม่ยิ่งหย่อนไปกว่านักเตะแล้ว
-โดยคนที่ตอดตามวงการฟุตบอล ก็จะเห็นได้ว่า โค้ชที่สามารถติดตั้งระบบการเล่นที่ดีได้เก่ง ก็สามารถทำให้ทีมยืนระยะได้แชมป์ขึ้นมา โดยที่ตัวผู้เล่นอาจจะไม่ได้เก่งกว่าคู่แข่งชัดเจนขนาดนั้นก็ได้ เช่น Pep Guadiola, Klopp
-หรือว่าทีมระดับกลางที่มีโค้ชที่วางระบบการเล่นได้ดีฏ้สามารถแข่งกับทีมใหญ่ที่ระบบการเล่นไม่ได้ดีอย่างสูสีแล้วนั่นเอง เช่น ไบรตันที่ชนะแมนยูล่าสุด (มูลค่านักเตะ 20ล้าน แข่งชนะ 500-600ล้าน แบบรูปเกมเหนือกว่าชัดเจน)
>> ซึ่งด้วยเหตุการณ์แบบนี้ ก็ทำให้เราเริ่มเห้น โค้ชฟุตบลเริ่มได้ค่าตอบแทนสูงขึ้นมาแบบนักเตะซุปเปอร์สตาร์กันหลายคนแล้วนั่นเอง ระดับ เป็นแสนEuro/WEEK เหมือนกัน
*** แต่ว่าตัวอย่างของการจ่ายค้างจ้างหนักงาน(อย่างนักฟุตบอลสูงมากขนาดนี้) อาจจะไม่ได้เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องการ จ่ายMaintenance Capexเพื่อรักษาอัตราผลตอบแต่ต่อผู้ถือหุ้นก็ได้
*** แต่ว่าเรื่องนักฟุตบอลหรือกีฬานี้ก็เป็นตัวอย่างที่ดีมากของการจ่ายเพื่อรักษาMaintenanceหรือพัฒนาGrowth ความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในการแข่งขันทางด้านแพ้ชนะทางกีฬา (ส่วนการแข่งขันทางด้านยอดขาย และกำไรสุทธิของแต่ละสโมสร ก็อาจจะต้องไปดูถึงีทมผู้บริษัทการตลาด ทีมผู้บริหารธุรกิจอีกทีว่าะจัดการ เอาการขนะจากกีฬามาสร้างผลประโยชน์คุ้มค่ากับการลงทุนให้ขีดความสามรถทางกีฬาสูงมากขนาดนี้ได้คุ้มรึเปล่านั่นเอง
ค่าตอบแทนแต่ละตำแหน่งสโมสรฟุตบอลในลีคอังกฤษที่ต่ำกว่า ระดับ Premier League
ผลตอบแทนนักฟุตบอลที่สูงที่สุดในปี 2020
ผลตอบแทนผู้จัดการทีมฟุตบอลที่สูงที่สุดในปี 2020
โฆษณา