Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Anontawong's Musings
•
ติดตาม
23 ก.ย. 2023 เวลา 08:12 • ความคิดเห็น
ทำมากได้น้อย-ทำน้อยได้มาก
ช่วงนี้ผมได้ใช้เวลาคิดทบทวนเรื่อง The Law of Diminishing Returns พอสมควร
บางคนแปลชื่อกฎนี้เป็นไทยว่า "กฎแห่งผลตอบแทนที่ลดลง"
ใครที่ไม่เคยได้ยินกฎนี้ สามารถดูภาพประกอบที่มีน้องเพนกวินเป็นผู้สอน
แกนนอนคือ input หรือแรงที่เราลงไป
แกนตั้งคือ output หรือผลลัพธ์ที่เราได้กลับมา
ในช่วงแรกจะเห็นว่ากราฟค่อนข้างชัน เราลงแรงไปหนึ่งหน่วย แต่ได้รับผลตอนแทนมากกว่าหนึ่งหน่วย (increasing returns)
แต่พอถึงจุดหนึ่ง ความชันของกราฟจะน้อยลง การเพิ่ม input ไม่ได้สร้าง output มากเท่ากับก่อนหน้านี้ (diminishing returns)
และยิ่งเราเพิ่ม input เข้าไปเรื่อยๆ มันจะถึงจุดที่กราฟทิ่มหัวลง กลายเป็นว่ายิ่งทำผลลัพธ์ยิ่งแย่ (negative returns)
2
ลองนึกถึงการกินพิซซ่า
เวลาที่เราหิวโซ แล้วมีพิซซ่าถาดใหญ่มาส่ง การได้กินหยิบพิซซ่าชิ้นแรกขึ้นมากินนั้นจะทำให้เรามีความสุขมาก (increasing returns)
แน่นอนว่าพิซซ่าชิ้นเดียวยังไม่อิ่มท้อง เราก็เลยกินชิ้นที่สอง ชิ้นที่สาม ชิ้นที่สี่ ซึ่งมันก็ทำให้เรามีความสุขมากขึ้นไปอีก แต่พิซซ่าชิ้นที่สี่ไม่ได้ทำให้ความสุขของเราเพิ่มมากขึ้นเท่ากับพิซซ่าชิ้นแรก นั่นแปลว่าเราอยู่ในโซนของ diminishing returns เรียบร้อยแล้ว
2
และถ้าเราโดนบังคับให้กินพิซซ่าจนหมดถาด พอถึงชิ้นที่ 6 เราจะเริ่มรู้สึกหนืดๆ และเมื่อถึงชิ้นที่ 8 เราอาจจะรู้สึกผะอืดผะอมไม่มีความสุขกับการพิซซ่าอีกต่อไป (negative returns)
1
The Law of Diminishing Returns นี้เอามาปรับใช้ในชีวิตจริงได้ในหลายสถานการณ์และในหลากหลายแง่มุม
.
หนึ่ง เรื่องการเรียน
ตอนที่ผมเรียนปริญญาตรี ผมจบด้วยเกรดเฉลี่ยค่อนข้างดี
แต่ระหว่างที่เรียนผมได้ทำกิจกรรมนักศึกษาค่อนข้างเยอะมาก เป็นสี่ปีที่ชีวิตเต็มไปด้วยสีสัน
ถามว่าผมสามารถทำกิจกรรมให้น้อยกว่านี้ได้มั้ย เพื่อจะได้มีเวลาทบทวนตำรามากขึ้น
คำตอบคือทำได้ แต่ต่อให้ผมไม่ทำกิจกรรมเลย และเอาเวลาทั้งหมดมาทุ่มเทให้กับการเรียน เกรดเฉลี่ยของผมก็คงดีขึ้นประมาณ 0.1 หรือ 0.2 เท่านั้น เพราะเมื่อเกรดเราสูงอยู่แล้ว การพยายามเพิ่มเกรดเฉลี่ยให้สูงขึ้นไปอีกมันคือการทำงานในโซนของ diminishing returns ที่ลงแรงไปมาก แต่ได้ผลตอบแทนกลับมาเพียงนิดเดียว
เมื่อมองย้อนกลับไป คิดว่าตัวเองตัดสินใจถูกที่เอาเวลาไปทำกิจกรรม เพราะมันคือสิ่งที่เราจดจำได้ และหลายอย่างก็มีประโยชน์กว่าเนื้อหาในตำราเล่มใด
2
.
สอง เรื่องการทำงาน
สิ่งหนึ่งที่หัวหน้าผมมักจะบอก คือ Done is better than perfect
1
งานหลายๆ อย่างไม่จำเป็นต้องทำให้เรียบร้อยไร้ที่ติ ทำได้ซัก 80-90% ก็โอเคแล้ว
ยกตัวอย่างเช่นการทำสไลด์ให้ดูดีประมาณ 80% อาจใช้เวลา 2 ชั่วโมง แต่ถ้าจะทำให้เพอร์เฟ็คต้องใช้เวลาเพิ่มอีก 2 ชั่วโมง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ควรทำหากสไลด์นั้นถูกใช้เพื่อการพูดคุยกันภายในบริษัทแค่ครั้งเดียว สู้เอาเวลาสองชั่วโมงนั้นไปทำงานชิ้นอื่นจะดีกว่า
1
แต่ถ้าเราจะทำอะไรที่ออกไปพรีเซนต์ลูกค้า หรือต้องส่งให้พนักงานทั้งองค์กรได้ใช้ การทำให้ได้ 80-90% อาจยังไม่พอ ต้องทำให้ใกล้เคียง 100% ให้มากที่สุด
.
สาม แบ่งเวลาให้ลูก
ผมเคยเขียนบทความ "10% ของงาน = 50% ของลูก"
2
เพราะหนึ่งชั่วโมงของงาน กับหนึ่งชั่วโมงของลูกไม่เท่ากัน
สมมติว่าเราทำงานนอกบ้าน และลูกเข้านอนตอนสามทุ่ม
ถ้าเราทำงานถึงหกโมงเย็น และกลับถึงบ้านตอนหนึ่งทุ่ม ลูกจะได้อยู่กับเราสองชั่วโมง
ถ้าเราทำงานถึงหนึ่งทุ่ม และกลับถึงบ้านตอนสองทุ่ม ลูกจะมีเวลาอยู่กับเราแค่ชั่วโมงเดียว
เราได้ทำงานมากขึ้น 1 ชั่วโมง ซึ่งคิดเป็นประมาณ 10% ที่เราจะได้งานเยอะขึ้น
แต่ลูกได้อยู่กับเราน้อยลง 1 ชั่วโมง ซึ่งเท่ากับ 50% ของเวลาทั้งหมดที่เขาจะได้อยู่กับเราในวันนั้น
1 ชั่วโมงของการทำงานเพิ่มขึ้น อยู่ในโซนของ diminishing returns
1 ชั่วโมงของการที่ลูกได้อยู่กับเรา อยู่ในโซนของ increasing returns
1
ดังนั้น 1 ชั่วโมงจึงมีค่าไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้มันไปกับโซนไหน
.
สี่ ผลตอบแทนมหาศาลของการเป็น Elite
โดยเฉลี่ยแล้วนักเตะใน Premier League ได้ค่าตอบแทน 60,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์หรือเดือนละ 10.5 ล้านบาท*
ส่วนเงินเดือนของนักเตะที่อยู่ลีกต่ำกว่านั้นได้แก่
EFL Championship เดือนละ 1.2 ล้านบาท (7,000 GBP/week)
EFL League One เดือนละ 8 แสนบาท (4,753 GBP/week)
EFL League Two เดือนละ 3.5 แสนบาท (2,000 GBP/week)
ทั้ง 4 ลีกรวมกันมีทั้งหมด 92 ทีม (20+24+24+24) สมมติว่าทีมชุดใหญ่มีทีมละ 25 คน แสดงว่ามีนักเตะทั้งหมด 2300 คน
ในอังกฤษมีคนเตะบอลได้ 11 ล้านคน*
ถ้าเราเก่งพอที่จะเป็นนักเตะ League Two แสดงว่าเราเก่งระดับ 2300 คนแรกใน 11 ล้านคน คิดเป็น 99.98th percentile ได้ค่าเหนื่อยเดือนละสามแสนห้า
แต่ถ้าเราอยากเก่งพอที่จะค้าแข้งในพรีเมียร์ลีกซึ่งมี 20 ทีม เราต้องเป็น 500 คนที่เก่งที่สุดใน 11 ล้านคน คิดเป็น 99.9955th percentile ได้ค่าเหนื่อยเดือนละ 10.5 ล้านบาท
Percentile ต่างกันนิดเดียว แต่ผลตอบแทนต่างกัน 30 เท่า
บทเรียนก็คือการไปให้ถึงระดับ elite ในแต่ละวงการหรือแต่ละวิชาชีพนั้นยากมาก เพราะการแข่งขันนี้อยู่ในโซน diminishing returns ล้วนๆ มีไม่กี่คนที่จะมีทั้งพรสวรรค์และพรแสวงจนไปถึงระดับท็อปของวงการได้ แต่คนที่ทำได้ก็จะได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าเป็นสิบเท่าโดยที่เราไม่จำเป็นต้องเก่งกว่าคนอื่นเป็นสิบเท่า
1
นักวิ่ง 100 เมตรที่เร็วที่สุดในโลกอาจจะเร็วกว่าคนอื่นเพียงเสี้ยววินาที แต่นั่นก็เพียงพอแล้วที่เขาจะมีรายได้มากกว่านักวิ่งอันดับรองเป็นสิบเป็นร้อยเท่า
ดังนั้น ถ้าคิดจะเอาจริงเอาจังในด้านใด ก็ลองตั้งเป้าที่จะไปให้สุดทาง แม้ระหว่างทางจะแห้งแล้งและไม่ค่อยมีอะไรให้เก็บเกี่ยวในเชิงผลตอบแทน (diminishing returns) แต่หากเราไปถึงปลายทางได้ก็น่าจะมีรางวัลใหญ่รออยู่
.
ห้า ทำมากได้น้อย -> ทำน้อยได้มาก
ลองสำรวจตัวเองว่าเราใช้เวลาอยู่ในโซน diminishing returns กับเรื่องใดบ้าง
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน การหาเงิน การแสวงหาความยอมรับ การเสพสื่อต่างๆ
และเรากำลังละเลยเรื่องอะไรบ้าง
การออกกำลังกาย การใช้เวลากับคนที่เรารัก การมีเวลานั่งคุยกับตัวเอง
สมมติว่าเราทำงานวันละ 10 ชั่วโมง แต่เราลดเวลาทำงานเหลือ 9 ชั่วโมง แล้วเอา 1 ชั่วโมงที่ได้คืนมานั้นไปออกกำลังกาย 20 นาที โทรหาพ่อแม่ 20 นาที นั่งคุยกับตัวเองอีก 20 นาที ผลตอบแทนจะคุ้มค่ามาก เพราะมันคือ "พิซซ่าชิ้นแรก" ที่อยู่ในโซน increasing returns
1
มองดูว่าเราใช้เวลาไปกับเรื่องอะไรที่ทำมากแต่ได้น้อย แล้วแบ่งเวลาส่วนนั้นไปทำในสิ่งที่เราไม่ค่อยได้ทำ แล้วมันจะเป็นการทำน้อยแต่ได้มากครับ
-----
* ขอบคุณข้อมูลจากเว็บ MansionBet และ The FA
15 บันทึก
19
3
16
15
19
3
16
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย