23 ก.ย. 2023 เวลา 13:29 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Ep.6/n: ค่าใช้จ่ายR&Dและการออกสินค้ารุ่นใหม่-ในมุมมองMaintainance & Growth capex

ทำไม มือถือ Apple Samsung ต้องมีการพัฒนาสินค้าและออกรุ่นใหม่ทุกปี?
ทำไม รถแต่ละแบรนด์ต้องมีการพัฒนาสินค้าและออกรุ่นใหม่ หรือ Minor Changeทุกปี?
>> นั่นก็เพราะว่า: คนเราจะไม่ซื้อมือถือมือหนึ่งที่ตกรุ่น หรือ รถมือหนึ่ง ที่ตกรุ่นแล้วนั้นเอง
>> ดังนั้นเพื่อให้ลูกค้าที่จะซื้อมือถือหรือซื้อรถในแต่ละปี ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าเราในปริมาณอย่างน้อยให้ได้ยอดขายเท่ากับที่ขายได้ปีก่อน
- บริษัทก็จำเป็นต้องจ้างทีมR&Dทุกปี เพื่อมาพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ที่ดีขึ้นหรือแปลกใหม่ขึ้นมาใหม่ตลอดเวลาทุกปี เมื่อถึงฤดูขายของสินค้า
- จุดประสงค์ที่1/2: เพื่อที่อย่างน้อยจะMaintainยอดขายปีนี้ให้ได้เท่าปีก่อน (บริษัทไม่ตกต่ำลง)
- จุดประสงค์ที่2/2: เพื่อจะได้ Growthยอดขายที่มากกว่าปีก่อน จากฐานลูกค้าที่มากขึ้น หรือว่าจะเพราะสินค้าปีนี้มันติดเทรนขายดีกว่าปีก่อน
>> ซึ่งต้นทุนR&D ส่วนที่สร้างผลลัพธ์เพื่อจุดประสงค์1/2(ทำให้ยอดขายยังได้เท่าปีก่อน) = ก็จะถือว่าเข้าหมวด "Maintenance Capex"
>> และ ต้นทุนR&D ส่วนที่สร้างผลลัพธ์เพื่อจุดประสงค์2/2(ทำให้ยอดขายส่วนเพิ่มได้จากปีก่อน) = ก็จะถือว่าเข้าหมวด "Growth Capex"
🚩 แต่ว่าเวลาที่เราเห็นค่าใช้จ่ายR&D ในงบการเงิน (หรือจากการให้สัมภาษจะทีมผู้บริหารต่างๆ)
- เราที่เป็นนักลงทุนคนนอก ก็คงจะไม่สามารถแยกได้หรอกว่า เวลาที่ทีมงานR&D เขาทำงานกันนั้น จะแยกสัดส่วนค่าใช้จ่ายR&D ไปเป็นเพื่อ Maintenance Capexกี่% หรือ ไปเป็นเพื่อ Growth Capexกี่%
🚩 ซึ่งเวลาที่ทีมงานR&Dทำงานพัฒนาสินค้ากันจริงๆ ในองกรณ์
- ทีมผู็ริหารก็อาจสามารถAssingงานหรืองบประมาณแยกส่วนไปให้ทีมR&Dแยกเป็นprojectๆก็ได้
- ว่าปีนี้ จะแบ่งงบR&D มา40% เพื่อมาทำProjectต่อยอดจากสินค้าSeriesเดิม ให้ออกรุ่นใหม่แล้วยังขายได้ดีเหมือนเดิมในปีนี้ (คือเป็นสัดส่วน 40%ของงบR&Dประจำปี จะเข้าหมวด Maintenance Capex)
- และ งบR&Dประจำปีที่เหลืออีก 60% ก็จะมาลงทุนใช้คิดค้นProjectสินค้ากลุ่มใหม่เลย หรือว่าเป้นสินค้าสำหรับลูกค้ากลุ่มใหม่เลยที่บริษัทยังไม่สามารถจับลูกค้ากลุ่มนี้ได้ในปัจจุบัน
(ก็แปลว่า 60%ของงบR&Dประจำปี จะเข้าหมวก Growth Capex)
🔴 !! ข้อสำคัญที่1: อย่าลืมว่าเรื่องของR&D มันไม่ได้ส่งผลสำเร็จได้เสมอไปนะ !!
= ผลลัพธ์อยู่ที่คุณภาพของกระบวนการและคุณภาพทีมงานด้วย ไม่ใช่ว่าจ่ายเยอะแล้วจะได้ผลลัพธ์ดี
- ไม่ได้หมายความว่าจ่ายเพื่อMaintenanceยอดเดิมแล้วจะสำเร็จMaintainยอดขายเท่าปีเก่าได้จริง
- และการลงทุนวิจัยหาสินค้าใหม่ๆเลยเพื่อที่จะGrowth ก็อาจจะได้สินค้าได้ไม่ตอบโจทย์ต่อเนื่องกันเลยซักชิ้นก็ได้
[ ยกตัวอย่างในวงการฟุตบอล
- ทีมManU ลงทุนซื้อตัวผู้เล่นในช่วง10ปีหลังสุดไปเกือบ1,000ล้านeuro แต่ว่าทีมผู้บริหารและทีมงานผู้จัดการทีม ใช้เงินซื้อตัวผู้เล่นที่ไม่ตอบโจทย์จริงๆ หรือว่าทีมผู้จัดการไม่เก่งพอในการใช้resourceผู้เล่นที่ซื้อมาได้
- ก็กลายเป็นว่า %งบที่คิดว่าใช้เพื่อMaintenace Capex ก็ล้มเหลว (Maintain ความสำเร็จจากยุคก่อนก็ไม่ได้)
- และก็ %งบที่คิดว่าใช้เพื่อGrowth Capex ก็ล้มเหลวตาม (ไม่สามารถทำทีมให้เก่งและได้แชมป์/ปี มากขึ้นกว่ายุคก่อนได้อีก)
** ดังนั้นคุณภาพเป้นเรื่องสำคัญตามปริมาณวงเงินได้ถูกจัดสรรมาด้วย ]
🔴🔴 !! ข้อสำคัญที่2: ถ้าบริษัทไหนที่ต้องใช้ สัดส่วนเงินR&Dและพลังงานกับเวลาของทีมงาน ไปกับMaintenance Capex ในสัดส่วนสูงมากๆ ในทุกๆปี(เช่น60-70% 70-80%) - บริษัทนั้นจะมีความยากมากขึ้นในการเติบโตยอดขายและกำไร
>> ไม่ว่าจะเพราะด้วยเหตุผลจาก:
- จาก Natureของธุรกิจ ที่เป็นProject-based Revenue (ที่ต้องสร้างโปรเจคขึ้นมาทดแทนยอดขายตัวเก่าตลอดเวลา)
- จาก business model ที่บริษัทเลือกใช้
- จากข้อจำกัดของฐานเงินทุนที่มีไม่พอไปเพิ่มGrowth Capex (แค่ลงในMaintenance Capexคงที่ยอดขายเท่าเดิมก็เงินหมดแล้ว เพระาปันผลไปหมดหรือว่ากู้เต็ม Debt-covernanceแล้วก็ตาม)
- หรือว่าจากความไม่รู้ของฝ่ายบริหารว่าควร เลือกจัดสรรเงินทุน แต่ละปีที่ทำกำไรมาได้ยังไงให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นที่สุด
- หรือจากเหตุอื่นๆก็ได้
>> นอกจากเงินที่เป้นสิ่งที่บริษัทแต่ละที่มีจำกัดแล้ว: พลังงานของทีมงาน, พลังความคิดของทีมงาน, เวลาของทีมงาน = ล้วนเป้นสิ่งที่มีจำกัด มีลิมิตในการดึงมาใช้ต่อวัน
- ดังนั้นถ้าบริษัทไหน ที่อยุ๋ในสถานะที่ต้องเอาพลังงาน,ความสามารถ,และเวลา[ส่วนใหญ่ !!!]ของทีมงาน ไปลงกับการเพื่อแค่Maintainขีดความสามารถในการแข่งขันหรือเพื่อแค่Maintainยอดขายและกำไรให้ได้เท่าเดิมในทุกๆปี
= มันก็คงจะเติบโตยาก หรือว่าต้องเพิ่มคนเพิ่มทรัพยากรต่างๆเพิ่มไปอีกเท่านึง ถึงจะเติบโตได้
(ซึ่งก็หมายความว่าธุรกิจนั้นอาจจะไม่สามารถมีEconomy of scaleจากเรื่องของ SG&A expense - แต่เรื่องeconomy of scaleจากGross marginก็อีกเรื่องนึงอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้)
โฆษณา