25 ก.ย. 2023 เวลา 00:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Ep.7/n: Quality Investing - ต้นทุนของแหล่งที่มาของเงินที่ไปจมกับเงินทุนหมุนเวียน

เวลาเราทำธุรกิจนอกจากการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรที่เป็นโครงสร้างหรือInfrastructureหรือIntangible Assetต่างๆแล้ว
เราก็ยังต้องมีเจียดเงินมาไว้ใช้หมุนเวียนในธุรจกิจประจำวันด้วย ซึ่งเงินที่ลงทุนไปในส่วนนี้เราเรียกว่า เงินทุนหมุนเวียน Working Capital
จะมีตัวหลักๆคือ
1. Inventory สต็อกสินค้า
2. Account Receivable ลูกหนี้การค้าที่เราไปให้เครดิตตอนขาย
3. อาจจะมีเงินสดส่วนที่พักไว้ใช้หมุนเวียนเวลาจ่ายค่าใช้จ่ายเงินสดประจำวันหรือประจำเดือนต่างๆ เช่น ค่าแรงพนักงาน, ค่าไฟ, ค่าจิปาถะ, ค่าน้ำมัน, ค่าอื่นๆ (ซึ่งอาจจะไม่ได้มีเหลือไว้เยอะอะไร ไม่ได้สำคัญเท่า2ตัวบน)
- ซึ่งสินทรัพย์ส่วนี้ จะให้ขยายความหน้าที่และความจำเป้นในการสร้างผลประโยชน์ของมันให้เห็นภาพชัดขึ้น ก็คือ
= เป็นสินทรัพย์ระยะสั้นที่มีหน้าที่เพื่อก่อให้เกิดการสร้างรายได้ให้กับบริษัท
ในเรื่องของ เงินทุนหมุนเวียน Working Capital ในที่นี้
เราก็จะโฟกัสกันในฟัง Asset จะมี2ตัว คือ
1. Inventory สต็อกสินค้า
= เป็นทรัพย์สินดำเนินงานที่จะสามารถหมุนเป็นเงินสดได้ทั้งหมดเลยภายในระยะเวลาสั้นๆ (แต่บางบริษัทก็อาจจะใช้เวลามากกว่า1ปีก็ได้ ถ้าบริหารไม่ดีหรือว่าด้วยNatureของBusiness modelหรืออุตสาหกรรม)
- ProcessในการทำเงินจากInventoryก็คือ: เงินสดถูกใช้จ่ายออกไปก่อนแล้วเปลี่ยนเป็นสต็อกสินค้า>>เพื่อที่จะสร้างการขายแล้วเปลี่ยนเป็น"เงินสดกลับมาได้มากขึ้น" กว่าตอนที่ซื้อเข้ามานั่นเอง
1
2. Account Receivable ลูกหนี้การค้า
= ก็เป็นทรัพย์สินดำเนินงานที่จะสามารถหมุนเป็นเงินสดได้ทั้งหมดเลยภายในระยะเวลาสั้นๆ ในไอเดียเดียวกับInventory (แล้วแต่ว่า เงื่อนไขการให้เครดิตกับลูกค้านาเท่าไหร่)
= จะเป็นเงินสดที่เรายอมให้ลูกค้าดึงจ่ายไปเราไปก่อนหลังจากรับสินค้าไปแล้ว ก็กลายเป็นลูกหนี้การค้า >> ซึ่งเราก็ต้องหาเงินสดชั่วคราวจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมมาใช้แทนชั่วคราวก่อนในการซื้อInventoryที่จะขายให้รอบต่อไป >> แล้วพอได้เงินจากลูกค้าก็ค่อยเอาเงินไปจ่ายแหล่งที่มาชั่วคราวนั้นคืนไป
- จุดประสงค์ของการที่บริษัทต้องยอมปล่อยเครดิตให้ลูกค้า(แล้วบริษัทต้องเพิ่มเงินชั่วคราวเข้าไปซื้อของเพิ่มก่อน) ก็เป็นไปเพื่อ = ให้ลูกค้ายอมซื้อของจากเรานั่นแหละ [เพื่อที่จะสร้างการขายแล้วเปลี่ยนเป็น"เงินสดกลับมาได้มากขึ้น" กว่าตอนที่ซื้อสต็อกสินค้า่เข้ามาเหมือนกันนั่นเอง]
??? แล้วทำไมบางบริษัทก็สามารถขายเงินสดได้เลย บางบริษัทต้องยอมเสียเปรียบให้เคราดิตลูกค้าก่อนกลายเป็นAccount Receivableตอนขายของ ???
= คำตอบก็คือ: อยู่ที่อำนาจต่อรองของบริษัทต่อลูกค้านั่นเอง (ขึ้นอยู่กับBusiness Modelด้วย)
- ซึ่งถ้าขายได้เงินสดเลย ยังไงมันก็ดีกว่าขายเงินเชื่อปล่อยเครดิตอยู๋แล้ว ทั้งในมุมมองเชิงcommon sense และ ในตัวเลขการเงินที่แสดงประสิทธิภาพการดำเนินงานก็แสดงให้เห็นได้ด้วยเหมือนกัน ว่า ROAหรือROIC(รวมทั้งอาจจะROEด้วย)ของขายเงินสดปกติแล้วก็จะสูงกว่าขายเงินเชื่อ(เพราะการขายเงินเชื่อเราต้องเพิ่มเงินหมุนเวียนส่วนเพิ่มชั่วคราวขึ้นมาตลอดเวลานั่นเองกลายเป็นAssetเพิ่มจากLไม่ก็Eq ซึ่งไม่ว่าจะขายสดหรือขายเชื่อกำไรสุทธิมันก็เท่าเดิมนั่นแหละจริงๆต้องหักดอกเบี้ยด้วยถ้าเงินชั่วคราวใช้กู้มา)
>>> ซึ่งแหล่งที่มาของเงินสดที่จะเอามาจมใน InventoryและAccount Receivable = ก็จะมีแหล่งที่มาจาก 4 ทาง:
(ซึ่งแต่ละทางมีต้นทุนเงินทุนไม่เท่ากันด้วยนะ **ตัวนี้สำคัญด้วย**)
1. จาก Account Payable [Liability ที่ไม่มีต้นทุน ไม่ใช่Invested Capital] = เจ้าหนี้การค้าSupplierให้เครดิตจ่ายเงินซื้อInventoryนั่นเอง
[แหล่งที่มาอันนี้ดีสุด😊: ไม่มีต้นเงินเงินทุนเลย ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย😊]
2. จาก เงินกู้ยืมต่างๆ [Liabilityที่มีนต้นทุนดอกเบี้ย - Invested Capital] = เช่น เงินกู้เบิกเกินบัญชีODค่อนข้างจะเหมาะสมกับการเอามาใช้กับเงินทุนที่มาอุดชั่วคราวอย่างงี้ หรือ จะใช้สัญญาตั๋วเงินระยะสั้นก็ได้
(แต่ถ้าเป็นการกู้เงินสัญญษยาว3-4ปี 5ปี ก็อาจจะแล้วแต่นโยบายการบริหารกระจายความเสี่ยงMaturityของแต่ละบริษัท)
[แหล่งที่มาอันนี้ก็จะใช้กันทั่วไป ไม่ดีไม่แย่ เป็นNormของการทำธุรกิจ👌 **แต่ว่ามันดีสู้Account Payableไม่ได้อยู่ดี** - ซึ่งจะมีต้นทุนเงินทุน ก็คือต้องมีจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้นั่นเอง👌]
3. จาก Retained Earnings กำไรสะสมที่ได้มาแต่ละปี [เป็น Invested Capital - Equity ต้นทุนจะสูงสุด]
= จะเป็นการเอาเงินสด จากกำไรสุทธิปีก่อนที่เก็บไว้มาreinvestกลับในBookvalueนั่นแหละ มาใช้เพิ่มInventoryกับรองรับการเพิ่มขึ้นของA/Rเวลาขยายสาขาหรือขยายกิจการที่ใหญ่ขึ้นกว่าปีก่อนๆแต่ละปีๆไป
[ซึ่งแหล่งที่มาจากการReinvestกำไรแต่ละปี ก็เป็นสิ่งที่ต้องใช้ควบคู่กับเวลาขยาธุรกิจอยู่แล้ว แบบขยายไปเรื่อยๆตามศักยภาพที่จะreinvestเติบโตไปได้ ไม่ได้เร่งลงทุนโตเกินศักยภาพที่จะหาเงินมาเพิ่มจากกำไรที่ทำได้แต่ละปี👌
- แล้วก็จะใช้เงินกู้ควบคู่กันไปตามสัดส่วนD/E ratioที่ตั้งไว้]
- ต้นทุนเงินทุนจากEquityมันจะสูงที่สุด 😢
4. จาก เงินเพิ่มทุน Equity [เป็น Invested Capital - Equity ต้นทุนจะสูงสุด]
= อันนี้ทางเลือกสุดท้ายที่คิดจะใช้ ถ้าIRR ROIC ROA ROEของดีลที่จำเอาเงินเพิ่มทุนไปทำจริงๆ ก็เป้นทางเลือกสุดท้าย
- ถ้าบริษัทค่อยๆขยายธุรกิจหรือวงเงินตามธุรกิจตามศักยภาพที่เอากำไรที่ทำได้เพิ่มแต่ละปีมาReinvest มันก็ไม่ต้องมาถึงการเพิ่มทุนEquityใหม่มาเพิ่ม
- แต่ถ้าจะมาถึงเคสนี้ก็คือว่าบริษัทต้องเห็นโอกาสหรือความจำเ)็นมากจริงๆที่จะต้องเร่งขยายธุรกิจทันทีเกินศักยภาพเงินทุนปัจจุบันที่มีอยู่ในปีนั้น เลยต้องของเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นเข้ามาขยายธุรกิจให้ใหญ๋ทันทีโดยไม่อยากรอเงินกำไรมาต่อยๆreinvesแล้วค่อยๆขยายแต่ละปีนั่นเอง
ซึ่งเหตุผลที่จะทำแบบนั้นก็อาจจะมีหลายอย่างทั้งดีและไม่ค่อยดี เช่น
>> รีบขยายสาขาให้ทั่วประเทศทันทีตอนนี้ เพระาจะได้แย่งMarket Shareมาไว้ก่อนเป็นFirst mover (ไม่งั้นถ้าคู๋แข่งได้ลูกค้าไปแล้วอาจจะแย่งกลับมายากกว่าในมุมมองของการแข่งขัน) อันนี้ก็กลางๆ แต่ถ้าROA ROE(หลังจากmixราคาเพิ่มทุนและการเอาไปใช้) ยังได้สูงก็อาจจะคุ้ม 🧐🧐
>> หรือ เกิดปัญหาสภาพคล่องREfinanceเงินกู้ไม่ได้ ต้องเพิ่มทุนมาใช้อุดความต้องการเงินชั่วคราวก่อนแทน **อันนี้แย่มากๆ เพราะว่าความต้องการworking cap.ชั่วคราวไม่ควรจะเพิ่มทุนไปจ่ายเลยจริงๆ**
แสดงว่าบริษัทเกิดปัญหาบางอย่างให้ตลาดหุ้นกู็หรือธนาคารไม่เชื่อมั่นที่จะปล่อยเงินกู้REfinanceใชช่วงนั้น หรืออาจจะเกิดจากการใช้เงินทุนที่ผิดพลาด Maturity mismatch กับ Liquidity mismatchก็ได้ 😰😰😱😱🤢🤢🥵🥵
!!!! ซึ่งต้นทุนเงินทุนจากEquity จากข้อ3และ4 = มันจะสูงสุดของแหล่งเงินทุนแล้ว - สูงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้ (แต่ว่ามันจะไม่ได้อยู๋ในรูปของการจ่ายเงินสดออกไปและไปหักในกำไรสุทธิให้เห็นๆ - มันจะไปอยู๋ในรูปของผลตอบแทนคาดหวังของผู็ถือหุ้นตามแต่ละบุคคลเมื่อเทียบกับความเสี่ยงของธุรกิจของบริษัทนั้นๆเอง - ซึ่งต้นทุนเงินทุนนันนี้มันอาจจะไปส่งผลต่อผู้ถือหุ้นในรูปของ ความถูกแพงราคาตลาดหุ้นP/BV หรือ PE ถ้ากำไรที่reinvestในbookvaleuถูกเอาไปใช้ลงทุนได้IRRต่ำกว่าต้นทุนเงินทุนKeของหุ้นนั่นเอง !!!!
>>> ดังนั้นสรุปเลยก็คือ Working Capital ที่ใช้ในการทำงานจริงปกติแล้วจะเป็นแบบนี้:
- Working Capital ที่เอาเงินสดไปจม = Inventory + Account Receivable
- แหล่งที่มาของเงินจาก Liability ที่ไม่มีต้นทุน = Account Payable
Netกันออกมา เป็น "Net Working Capital" = Inventory + A/R - A/P
= เงินทุนที่มีต้นทุน ที่บริษัทต้องหามาจ่ายเงินสดไปจมไว้ก่อนเพื่อรอให้หมุนเปลี่ยนกับมาเป้นเงินสดที่มากขึ้นกว่าเดิมในอนาคตระยะสั้น
ดังนั้น ต้นทุนของ Net Working Capital ก็จะมาจาก 2 ส่วน:
1. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
2. ต้นทุนผลตอบแทนคาดหวังของผู้ถือหุ้น ที่เอาเงิน Retained Earningไปใช้
>> ถ้าNet Working Capital เป็นบวก = ก็คือบริษัทต้องหาเงินทุนของตัวเองลงไปจมก่อน (ไม่ว่าจะกู้มา หรือ เงินจากEquityตัวเอง)
>> ถ้าNet Working Capital เป็นลบ = ก็คือจริงๆแล้วสต็อกสินค้าที่ขายได้อยู่ทุกวันกับA/Rเครที่ปล่ยอให้ลูกค้า บริษัทไม่ต้องหาเงินทุนด้วยตัวเองมาจมไว้เลยแม่แต่บาทเดียว - เพราะว่าSupplierเขายอมให้เราดึงเครดิตจ่ายเงินนานมากพอจนเราเอาเงินสดที่ได้จากการขายInventoryและเงินสดที่ได้หลังจากลูกค้าจ่ายเงินเครดิตมาจ่ายSupplierได้เลย
เช่น สั่งของมาขายหมดภาย10วัน แล้วเราปล่อยเครดิตลูกค้า15วัน แล้วsupplierให้เครดิตจ่ายนูนเลย60วัน = นั่นแปลว่าวันที่25เราก็ได้เงินสดที่ได้มากจากการขายของรอบแรกมาแล้ว แล้วเราก็เอาเงินนั้นนั่นแหละมาจ่ายsupplier ซึ่งก็เห็นแล้วว่าเราไม่ต้องเอาเงินเรามาใช้เลยซํกบาทในprocessนี้เพระาตอนซื้อของเข้าเขาให้เราไปจ่ายนู้นเลยวันที่60 ให้เอาของมาขายก่อนได้ฟรีๆก่อนเลย
>>> ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว บริษัททั่วไปก็จะมี Net Working Capital = เป็นบวกนั่นแหละ คือต้องหาเงินไปจมก่อนเป้นระยะเวลาสั้นๆช่วงเวลานึง
>>> แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า ผู้บริหารบริษัท ตัดสินใจการจมเงินไปกับ Net Working Capital ได้ดีหรือไม่ดี ต้นทุนสูงหรือไม่สูง (เมื่อเทียบกับคู๋แข่ง หรือมีตัวอะไรชี้วัดเป้นมาตรฐานให้เทียบกัน) ???
>>> ตัวที่ใช้เทียบ1 ก็คือ %Net Working Capital/ Revenue
- ซึ่งระดับ%เงินทุนหมุนเวียนต่อยอดขายนี้ ก็สะท้อนให้เห็นถึง "อำนาจต่อรองของบริษัท" ที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
- บริษัทที่มีอำนาจต่อรองสูงที่มีอำนาจในการกำหนดเงื่อนไขกับstakeholders ก็จะมีระดับ%NetWCที่ดี ที่ต่ำ (แต่ก็จะต้องศึกษาไปเป็นเคสๆอีกที อันนี้คือพูดในเชิงทฤษฎรภาพรวม)
- [ในหนังสือบอกว่า] บริษัทในยุโรป ส่วนใหญ่มี %NetWC/sale 16%
** จากการศึกษาของผู็เขียนเอง:
Rojukiss มี%NetWC/Sale =30-35%
DDD มี%NetWC/Sale = แต่ก่อนตอนที่ขายดี 15-20% / ตอนแย่ปี2020-23=45%
>>> ตัวที่ใข้เทียบ2 ก็คือ Cash Cycle Days
= Inventory days + A/R days - A/P days
- อันนี้ก็ใช้ดูจำนวนวันไปเลย เราก็จะเห็นเงื่นไขตามวันแบบในสัญญาที่ตกลงดันโดยเฉลี่ยทุกเจ้าออกมาของแต่ละitemเลย ก็จะให้ภาพในเชิงวันที่จะรอจ่ายหรือรอขายออกหรือรอได้รับเงิน มันหักล้างกัน
- ตัวเลข เป็นวัน มันก็จะมากหรือน้อย คล้องจองกับ %NetWC/Sale ที่มากหรือน้อยนั่นแหละ
ดังนั้นการวิเคราะห์ต่อมา:
??? ว่าบริษัทเลือกแหลง่ที่มากของเงินทุนได้เหมาะสมรึเปล่า ???
= เราก็ดูว่า%NetWC/Sale หรือ Cash Cycle Days มันสูงรึเปล่า?
- ถ้าการใช้%Net WC = มันสูงมาก (หรือ Cash Cycle Daysมันสูงมาก):
บริษัทควรเลือกใช้แหล่งที่มาของเงินทุนที่เอามาจมที่ต่ำที่สุดที่เป็นไปได้ก่อน ซึ่งไล่ตามสเต๊ปนี้:
1 ขอเครดิตsupplier ยาวขึ้นได้รึเปล่า หรือ วงเงนมากขึ้นได้รึเปล่า (ไม่มีต้นทุนดอกเบี้ย)
2 เงินกู้ระยะสั้น (ดอกเบี้ยต่ำสุด)
3 เงินกู้ระยะยาวขึ้นมา (ดอกสูงขึ้นมา)
4 จากลด%จ่ายปันผลลง ดึงเงินกำไรกลับมาreinvestในbookvalue equity (ต้นทุนเงินสูงสุด)
5 จากเพิ่มทุนEquity (ต้นทุนสูงสุดๆ)
- ถ้าการใช้%Net WC = มันต่ำ หรือ ติดลบอยู่แล้ว:
= เรื่องการเลือกใช้แหล่งที่มากก็ไม่ต้องไปสนมากมันอะไรมากนัก เพราะมันไม่มีผลอะไรอยู่แล้ว
เพราะมันมีแต่ผลดีต่อบริษัทอยู่แล้ว ที่จะเอาเงินสดที่ไม่ต้องจมไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นเพิ่มเติมได้มากขึ้นกว่าเดิม เช่น
- เป็น Maintenance Capex
- เป็น Growth Capex
- หรือจะปันผลออกมาให้ผู้ถือหุ้นไปเลยก็ได้
>>✨✨ ดังนั้น: บริษัทที่จะขยายตัวเพิ่มยอดขาย โดยใช้เงินทุนหมุนเวียนน้อยกว่า (ก็คือ%WC/Saleต่ำกว่านั่นแหละ) = นั่นก็จะเป็นบริษัทที่น่าสนใจมากกว่าคู่แข่งนั่นเอง(ในเชิงคุณภาพ - แต่จะซื้อจะขายต้องดูราคตลาดอีกทีนะ)
- พูดอีกอย่างก็คือ ถ้ามีเงินสดเหลือไว้เท่ากันในการขยายNetWCเพื่อเติบโต บริษัทที่มี%NetWC/sale น้อยกว่า จะมีCapabilityหรือมีเพดานยอดขายส่วนเพิ่มที่มากว่านั่นเอง (ใข้เงินเท่ากัน แต่จะมีความสามารถที่จะโตได้มากกว่า)
ดังนั้น ที่จะวิเคราะห์ต่อมาได้อีกที่ให้ประโยชนืก็คือ:
??? ในอนาคต บริษัทจะสามารถลด %NetWC/Sale หรือ Cash Cycle Dayลงได้รึเปล่า??? (จะมีอำนาจต่อรองที่ดีขึ้นได้รึเปล่า)???
= ก็คือเราต้องรู้ว่า ตัวเลขทั้ง 3 ตัวนี้มันเปลี่ยนแปลงไปได้ยัง
1. Days Sales in Inventory (DSI) (%Inv./sales):
- ถ้าทำให้ต้นทุนสินค้าต่อชิ้นต่ำลงได้ ก็จะทำให้ Inventory daysลดลงได้ (เพราะได้สต็อกสินค้าราคาถูกลงก้ใช้เงินไปจมลดลง แต่สินค้าคุณภาพเดิมนะ - มุมมองPrice)
- อาจจะลดจำนวนชิ้นที่จะสต็อกสินค้าลงได้ เพราะว่าต่อรองให้supplierเร่งผลิตสินค้าให้ถี่ขึ้นได้หรือมาส่งถี่ขึ้นได้ ก็ทำให้ Inventory dayลดลงได้ (แต่สินค้าต้องไม่ขาดช่วงขายนะ ประสิทธิภาพการขายต้องเท่าเดิม - มุมมอง Quantity)
** อำนาจต่อรองกับsupplierดีขึ้น**
2. Account Receivable Days (%AR/Sales):
- ตัวนี้ส่วนใหญ๋แล้วจะขึ้นอยู๋กับBusiness Modelตั้งแต่แรกเลย เปลี่ยนยาก
- ถ้าเป็นธุรกิจขายเงินสด ก็เงินสดอยู๋แล้ว
- ถ้าต้องขายปล่อยเครดิต30วัน 60วันให้ลูกค้าเก่าก็คงไปลดเครดิตไม่ได้
- นอกเสียจากมีการปรับbusiness modelเปลี่ยนกลุ่มลูกค้า ตัวAR Days ก็อาจจะเปลี่ยนลดลงได้นั่นเอง คือได้เงินเร็ซขึ้นก็ยิ่งดี
** อำนาจต่อรองกับลูกค้า ค่อนข้างขึ้นอยู๋กับbusiness model เปลี่ยนแปลงทีหลังยาก**
3. Account Payable Days (%AP/Days):
- ถ้าสั่งเยอะแล้วขอเครดิตจ่ายให้Supplierได้นานขึ้น จาก30วันเป้น45วัน 60วันก็ยิ่งดี AP Days ก็จะยิ่งมากขึ้นก็จะยิ่งดี (มุมมอง Quantity)
- หรือว่าถ้าSupplierให้วงเงินเครดิตมากขึ้นได้จาก 100ล้าน(แล้วจ่ายเงินสด100ล้าน) = เป็นเครดิตเต็ม200ล้านบาทได้เลย เช่น ไม่ต้องมัดจำ50% (แต่จำนวนวันเท่าเดิม30วัน) นี่ก็ช่วยให้ AP Days มันมากขึ้นเหมือนกัน (มุมมอง Price)
*** เงินสดที่ต้องมาจมชั่วคราวกับWCเราจะน้อยลง เหลือเป็นเงินสดส่วนเกินแทนนั่นเอง
ตัวอย่างของบริษัทที่อำนาจต่อรองเรื่องNet Working Cap ดีมาก:
- CPALL = NEt Working Cap. ติดลบ (ขายเงินสด ซื้อเครดิต ขายสินค้าหมดไวมากหมดไวกว่าAP days)
- M mk suki = NEt Working Cap. ติดลบ (ขายเงินสด ซื้อเครดิต ขายสินค้าหมดไวมากหมดไวกว่าAP days)
Cr. Main Idea จากหนังสือ Quality Investing - การลงทุนที่ดีที่สุด คือการลงทุนที่มีคุณภาพ
โฆษณา