26 ก.ย. 2023 เวลา 00:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Ep.8/n: Quality Investing - การจัดสรรเงินลงทุน

ผู้บริหารที่ดีและเก่งจะทำให้บริษัทเติบโตมียอดขายเติบโตและกำรเติบโตตาม
/ แต่ผู็บริหารที่เก่งเรื่องการจัดสรรเงินทุนให้มีประสิทธิภาพด้วย - จะทำให้ผู้ถือหุ้นได้ผลตอบแทนคุ้มค่าสูงที่สุด
การจัดสรรเงินลงทุน:
บริษัทจะมีแหล่งที่มาในการมาใช้จ่ายและซื้อทรัพย์สินต่าง มาจาก 2 ส่วนเท่านั้น:
>> ซึ่งอย่างที่เกรื่นไว้Ep7 - แหล่งที่มาของเงินทุนทั้ง2แหล่งนี้ "มีต้นทุนเงินทุน"ผูกติดมาคู๋กันเสมอแน่นอน
1. Liability หนี้สิน - ต้นทุนเป็นดอกเบี้ยจ่าย
2. Equity เงินทุนส่วนของผู็ถือหุ้น - ต้นทุนคือผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นคาดหวังจะได้จากบริษัทนี้ (ซึ่งแต่ละคนอาจจะคาดหวังกับบริษัทนี้ไม่เท่ากันก็ได้ และ แต่ละบริษัทก็ควรจะมีผลตอบแทนคาดหวังในใจผู้ถือหุ้นไม่เท่ากันด้วยตามความเสี่ยงธุรกิจกับกิจการ)
??? แล้ว การจัดสรรเงินลงทุน มันเกี่ยวอะไรกับ ต้นทุนของแหล่งที่มาของเงินทุนหละ ???
- เพราะว่าเงินทุนจากLiability และ Equity มันมีต้นทุน - ดังนั้นเวลาเราเอาเงินนั้นไปใช้ เงินนั้นก็ต้องสร้างผลตอบแทนกลับมาที่มากกว่าต้นทุนแหล่งที่มาของเงินนั้นด้วยนั้นเอง (และมากกว่ายังไม่พอ (ในมุมมองของผู็ถือหุ้นแล้ว)ผลตอบแทนหลังจากหักดอกเบี้ยเงินกู็แล้วส่วนที่เหลือก็ต้องมากพอคุ้มค่าต่อผู้ถือหุ้นเพียงพออีกด้วย)
- ดังนั้นสรุปก็คือ: ผู้บริหาร "ต้องจัดสรรเงินลงทุน" ไปกับตัวเลือกที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดก่อนเสมอ
- และ ถ้าตัวเลือกที่มีหรือที่เหลือนั้นมันให้ผลตอบแทนคาดหวังต่ำกว่าต้นทุนเงินทุนก็ไม่ควรใช้เงินไปกับดีลนั้นหรือตัวเลือกนั้น(ไม่ว่าจะต่ำกว่าต้นทุนดอกเบี้ยถ้าใช้เงินกู้ หรือ ต่ำกว่าผลตอบแทนคาดหวังถ้าใช้เงินทุนจากเงินผู้ถือหุ้นตรงๆ) เพราะว่าถ้าผลตอบแทนมันต่ำกว่าต้นทุนเงินทุน นั่นแปลว่าการลงทุนมันจะทำให้ขาดทุนหรือทำลายมูลค่าเงินส่วนผู้ถือหุ้นนั่นเอง
เช่น
- บริษัทค้าปลีกขายของชำ ต้องการขยายสาขาใหม่1สาขา โดยจะต้องใช้เงินลงทุนGrowth Capex และ เป็นWorking Capitalส่วนเพิ่มในสาขาใหม่ จำนวนรวม 10ล้านบาท
- เอาเงินลงทุนมาจากการกู้เงินจากธนาคาร ดอกเบี้ย10%/ปี (ดอกเบี้ยจ่ายปีละ1ล้านบาท)
- ดังนั้น เจ้าของรา้นก็ต้องประเมินผลตอบแทนจากสาขาใหม่ว่า มันจะขายดีแล้วมีกำไรต่อปีได้ดีขนาดไหนนะถ้าลงเงินไป10ล้านบาท เฉลี่ย10ปีข้างหน้าแล้วเราจะได้กำไรเป็นเงินสดตอบแทนกลับมาปีละประมาณกี่% >> ซึ่งนี่ก็คือกระบวนการคิดว่า "ผลตอบแทนคาดหวังที่จะได้จากเงินลงทุน"
- ถ้าเจ้าของประเมินแล้วว่า สาขาใหม่ ทำเลตรงนี้ เปิดไป10ปีน่าจะได้ กำไรก่อนหักดอกเบี้ยกลับมาปีละ 1.5ล้านบาท >> เทียบเป็นผลตอบแทนก่อนหักดอกเบี้ยจากเงินลงทุน = 15%/ปี (1.5ล้าน/10ล้าน)
- ซึ่งถ้าหักดอกเบี้ย10%แล้ว ก็จะเหลือผู็ตอบแทนหลังหักดอกเบี้ยต่อเงินลงทุน 0.5ล้านบาท = 5%/ปี
= นี่เป็นการคิดแบบง่ายๆให้พอเห็นภาพ ซึ่งก็แปลว่า การจัดสรรเงินลงทุน10ล้านบาทครั้งนี้ไปขยาสาขา น่าจะเป็นการตัดสินใจจัดสรรเงินทุนที่คุ้มค่าต้นทุนเงินกู้ และเป็นดีลที่มีประโยชน์ต่อบรษัทและผู้ถือหุ้น
- !!กลับกัน!! แต่ถ้าเหตุการณ์จริงมันไม่เป็นไปตามแผนหละ กลายเป็นสาขาใหม่มันขายไม่ได้ดีแบบที่คิดไว้ไม่ปัง
- กลายเป็นว่า เปิดสาขาใหม่ไป10ปี ทำได้จริงคือ กำไรห่อนหักดอกเบี้ยปีละประมาณ 0.8 - 1ล้านบาท/ปี >> เทียบเป็นผลตอบแทนก่อนหักดอกเบี้ยต่อเงินลงทุน = 8-10%/ปี
- ซึ่งเรามาเทียบกับต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู็ที่10%/ปี >> กลายเป็นว่ากำไรหลังจากหักดอกเบี้ยแล้วจะ (ขาดทุน 0.2 ล้าน - เสมอตัวไม่มีกำไร ในแต่ละปี) >> คิดเป็นผลตอบแทนหลังหักดอกเบี้ยต่อเงินลงทุน = -2% ถึง 0%
= ซึ่งในเคตสนี้เท่ากับผู็ถือหุ้น จะได้ผลประโยชน์คือ ไม่ขาดทุน-2%/ปี ก็เสมอตัวไม่มีกำไรจากสาขาใหม่นี้ - ซึ่งแสดงใ้เห็นถึงความไม่คุ้มค่าของการจัดสรรเงินลงทุนในเคสนี้นั่นเอง เพราะลงทั้งเงิน ทั้งแรงงาน ความคิด ทั้งเวลา แล้วได้ผลตอบแทนกลับมา -2% - 0% ดูแล้วยังไก็ไม่คุ้มค่าเลย
>>> ซึ่งถ้าจะให้เห็นภาพจริงๆ อีกเคสนึง
ถ้าร้านขายของชำนี้ เรียกเอาเงินมาจากผู้ถือหุ้นมาเพิ่ม10ล้านบาท (แทนที่จะกู้เงินมา)
- เราก็จะต้องเอา %ผลตอบแทนต่อเงินลงทุนจากสาขาใหม่ นี้มาเทียบกับ ผลตอบแทนคาดหวังของผู้ถือหุ้นที่คิดต่อบริษัทนี้อีกด้วย เช่น
- ผู้ถือหุ้นA คาดหวังผลตอบแทนจากการเป็นผู้ถือหุ้นบริษัทร้านขายของชำนี้ ปีละ12%/ปี เขาถึงจะพอใจ
- ถ้าเจ้าของประเมินแล้วว่า สาขาใหม่ ทำเลตรงนี้ เปิดไป10ปีน่าจะได้ กำไรสุทธิกลับมาปีละ 1.5ล้านบาท (เคสนี้ไม่ใีดอกเบี้ยจ่ายแล้ว) >> เทียบเป็นผลตอบแทนต่อเงินลงทุน = 15%/ปี (1.5ล้าน/10ล้าน)
- เอาผลตอบแทนที่ได้15% เทียบกับ ต้นทุนเงินทนุของผู็ถือหุ้น(ก็คือผลตอบแทนคาดหวังนั่นแหละ)ที่ 12% = ผลตอบแทนมากกว่าต้นทุนเงินทุน 😊😊
= เคสนี้การที่บริษัทเพิ่มทุนผู็ถือหุ้นไปขยายสาขา เป็นการจัดสรรเงินลงทุนที่สร้างมูลค่าเพิ่มจ่อผู้ถือหุ้นได้คุ้มค่าต้นทุนเงินนั่นเอง
>>> ซึ่งในทุกๆดีลการใช้เงินลงทุนไปกับตัวเลือกไหนก็ตาม [จะต้อง] เป็นแบบนี้เท่านั้นถึงจะสร้างมูลค่าให้ผู้ถือหุ้นได้นั่นเอง
- ถ้าต้นทุนเงินมา7% เราก็ไปหาตัวเลือกที่ส้รางผลตอบแทนที่9-10%ก็ยังผ่าน
- ถ้าต้นทุนเงินมา 12% เราก็ต้องไปหาดีลที่จะทำกำไรได้ดีขึ้นไปที่ 15-16% (ถ้าไปเลือกดีลแบบแรก9-10% ในเคสต้นทุนที่12% จะถือว่าตัดสินใจผิด ทำแล้วกลายเป็นหักต้นทุนเงินแล้วจะขาดทุนทำลายมูลค่าเงินผู้ถือหุ้น)
** สรุปคือถ้ายิ่งได้ต้นทุนเงินมาแพง ก็ยิ่งต้องหาโอกาสการลงทุนที่ทำผลตอบแทนสูงตามไปนั่นเอง ถือจะคุ้มค่าได้
>>>> หรือว่าจะเทียบประสิทธิภาพ ในการจะเลือกจัดสรรเงินลงทุนในอีกแนวทางนึง ก็คือ
= ดูว่าROE ROA IRR ของตัวเลือกที่จะเอาไปใช้นั่นมันได้เท่าไหร่
- แล้วก็เอาไปเทียบกับROE ROA IRR ของ Existing Operationที่บริษัทมีอยู๋ ณ ปัจจุบันก็ได้
- ถ้าดีลลงทุนใหม่มันทำให้ EXisting OperationยังMaintainได้ ROEสูงเท่าเดิมอยู๋กับลงไป
- ถ้าสาขาใหม่มันยังให้ ROE ได้สูงใกล้เคียงเดิมกับสาขาเก่าที่เปิดไว้อยู๋ ก็ลงเงินไปได้
- ถ้าดีลธุรกิจbusiness modelใหม่หรือการจ่ายเงินไปซื้อบริษัทอื่น มันให้ROEได้เท่าเดิมหรือสูงกว่าธุรกิจเดิมก็ลงเงินไปได้อยู่
-- สุดท้ายถ้าตัวเลือกที่จะเอาเงินไปใช้ในธุรกิจแล้วตอนนี้มันยังไม่มีโอกาสที่ให้ROEสูงเลย มีแต่ROEต่ำๆ 3-4% หรือดูแล้วต่ำว่าต้นทุนเงินทุนด้วย >> บริษัทก็ควรจะเอาเงินนั้นไปจ่ายคืนเงินกู้(ที่ดอกเบี้ยอาจจะ6-7%) หรือว่าจะจ่ายเป็นปันผลกลับออกมาให้ผูือถือหถ้นไปหาลงทุนเองไปเลยนั่นเอง
** แต่จริงๆแล้ว การตัดสินใจเราต้องดูความเสี่ยงของตัวเลือกนั่นเทียบกับผลตอบแทนด้วยถึงจะครบองค์ประกอบในการตัดสินใจ [Risk-adjusted-Return]
คือ ROE ROA IRR เทียบกับ Ke ผลตอบแทนคาดหวังของผู้ถือหุ้นประมาณนั้นนั่นแหละ (ก็เป็นอีกคำพูดในของการเทียบกับต้นทุนเงินทุนของผู้ถือหุ้นนั่นเอง)
เช่น
- ถ้าธุรกิจเก่ามันเสี่ยงสูง ผู้ถือหุ้นต้องคาดหัวงผลตอบแทนKe12% ดังนั้นROEของกิจการก็ต้องRequireที่ อาจจะ12-13%ขึ้นไป ถึงจะยอมลงทุนด้วย
- แต่ถ้าบริษัทไปเจอโอกาสลงทุนกับธุรกิจใหม่ที่ความเสี่ยงธุรกิจมันต่ำกว่าหละ ดังนั้นผลตอบแทนคาดหวังของผู้ลงทุนต่อธุรกิจใหม่นี้ก็จะต้องน้อยลงอาจจะเหลือ Ke9% >> ดังนั้นในเคสนี้ ถ้าธุรกิจใหม่มันให้ROEลงมากว่าธุรกิจเดิมเหลือ 10% มันก็เป็นดีลที่ผู้ถือหุ้นก็ยังคุ้มค่าอยู๋นั่นเอง เพระาRisk-adjusted-Returnมันยังคุ้มค่าอยู่นั่นเอง(ต้องมองทั้งมุมreturnและriskคู่กัน)
[จากหนังสือ]
ตัวเลือกที่บริษัทจะตัดสินใจ จักสรรเงินลงทุนในแต่ละปี ก็จะมี 5 อย่าง:
(เพิ่มอย่างที่ 0 จากผู้พิมพ์เอง)
0. ลงทุน Maintenance Capex (Restricted capex เลย ยังไงก็ต้องจ่าย เพื่อMaintainROEให้ยังสูงอยู่ๆ และเพื่อให้ธูรกิจยังไม่ล้มหายตามจากไป)
1. ลงทุนเพื่อเติบโต Growth Capex
- Key คือ ดีลเพื่อGrowthนั้น ก็ต้องให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าต้นทุนเงินทุนด้วยอยู่ดี(ไม่ว่าจะจากใช้เงินกู็ หรือ จากใช้เงินEqutiyมาลงทุนGrowth Capex)
2. ลงทุน การโฆษณาและการโปรโมท(A&P) และ การวิจัยและพัฒนา(R&D)
- หมวดนี้เป็นเงินลงทุน หมวดพิเศษ
- ที่จะส่งผลพร้อมกันทั้ง เป็นMaintenance Capex และ Growth Capex ไปพร้อมกันๆเลย (อาจจะมองแยกเป็นสัดส่วนตามพลังแต่ละอันก็ได้)
- แต่ส่วนใหญ๋แล้วมันจะให้senseของ %growth capexมากกว่าอยู่
- A&P มันจะสร้างสินทรัพยืที่มองไม่เห็นขึ้นมาอยู๋ตลอดนั่นก็คือ Brand Awarenessในใจผู้บริโภค
- R&D ก็บางทีจะเป็นทรัพย์สนิที่มองไม่เห็นของความรู้และงานวิจัยที่รองวันสำเร็จเป็นProduct championในวันนึงข้างหน้า
** จุดสำคัญ: ค่าใช้จ่ายA&D กับ R&D ในทางบัญชีแล้วเราจะเห็นตัวเลขว่ามันจ่ายแล้วหมดไป ไม่ได้สร้างทรัพย์สินอะไรสะสมไว้ได้ในบริษัท
(แต่จริงๆแล้วมันเป็นค่าใช้จ่ายopex ที่สร้างมุลค่าที่มองไม่เห้นสะสมไว้ในบริษัทเพื่อช่วยสร้างยอดขายไม่ทางงใดก็ทางหนึ่ง หรือไม่เวลาใดก็เวลาหนึ่ง อยู่ตลอดเวลานั่นเอง)
(ในทางตัวเลขจะมองไม่เห็น แต่เราจะเห็นในทางคุณภาพในMental Model ในความเข้าใจธุรกิจในสมองนั่นเอง)
3. ลงทุน M&A เข้าซื้อและควบรวมกิจการ
- อันนี้ก็สามารถเป้นพร้อมกันได้ทั้ง Maintenance Capex และ Growth Capex
- แต่ส่วนใหญ๋แล้วมันจะเป็นไปเพื่อ Growth Capex มากกว่าอยู๋เยอะ
- อันนี้ก็ต้องให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าต้นทุนเงินทุนด้วยอยู่ดี(ไม่ว่าจะจากใช้เงินกู็ หรือ จากใช้เงินEqutiyมาลงทุนนั่นเอง)
4. ลงทุน เพิ่มในเงินทุนหมุนเวียน Working Capital
- ถ้าเอามาใช้เพิ่มWorking Capital ส่วนใหญ๋แล้วก็จะเป็นไปเพื่อเข้าหมวด(ในไอเดีย) Growth Capexนั่นแหละ
(เป็นในไอเดียเพื่อิGrowth แต่ในทางวิชาการตัวเลขการเงินแล้วเราจะไม่ได้ใช้คำว่าเป็น Growth Capex เพระา capexมันจะใช้การการลงทุนจ่ายซื้อพวกสินทรัพย์ระยะยาวสินทรัพย์ถาสรอะไรพวกนั้นเป็นหลัก)
5. เป็น จ่ายเงินปันผล และ ซื้อหุ้นคืน ส่งผลตอบแทนคืนต่อผู้ถือหุ้นโดยตรง Dividend&Stock Buyback
- อันนี้อย่างที่บอก จะเป็นตัวเลือกสุดท้าย ถ้าตัวเลือกที่จะทำธุรกิจตอนนั้นมันไม่มีอะไรคุ้มค่าบริษัทก็ควรจ่ายเงินคืนผู้ถือหุ้นตอบแทนออกมา
(อาจะไปทู่ซี้ดึงดันจะลงทุนกับดีลผลตอบแทนต่ำๆ หรือ อย่าไปกั๊กเิงนสดเก็บไว้ในบริษัทโดยไม่ทำอะไรเยอะๆเพราะเงินสดมันได้ดอกเบี้ยแค่0.5%-1% มันน้อยกว่าต้นทุนเงิน มันเสียโอกาส แม้ว่าเงินสดมันจะไม่มีความเสี่ยงก็ตาม)
- แต่ก็ต้องระวังบริษํทที่จ่ายเกินกำไรแต่ละปี จนไปดึงเอาส่วนของผู็ถือหุ้น Retained Earningออกมาจ่ายให้ Equityมันลดลงไปเรื่อยๆ - วิธีการนี้มันจะทำให้Equityต่ำเกินBusiness modelจริงๆ และทำให้ LeverageD/Eสูงกเกินจริง และทำให้ ROEสูงเกินจริงตาม
- ซึ่งการทำให้ROEสูงด้วยวิธีนี้ มันจะทำให้Financial Riskของบริษัทสูงขึ้นนะ ฐานนะการเงินของบริษัทเปราะบางขึ้นในทันที เท่ากับว่าKeก็จะสูงขึ้นอย่งารวดเร็ซตาม ROEที่สูงของแบบพิเศษOverนั่นเอง สุดท้ายเมื่อถ้ามองในมุมมอง Risk-adjusted-Returnแล้วการทำแบบนี้ก็ไม่ได้สร้างมูลค่าต่อผู้ถือหุ้นที่ยังถืออยู่นั่นเอง
(บางทีอาจจะเป็น Signal ของการที่ผู้ถือหุ้นใหญ๋ตั้งใจดึงเงินออกจาบริษัทเพื่อจะExitก็ได้ แต่โอกาสน้อยมาก จำไว้นิดๆก็พอ)
Bonus 6. ใช้จ่ายคืนเงินกู้ที่มีดอกเบี้ย
- ถ้าจ่ายปันผลกับ stock buybackจนถึงลิมิตพอใจแล้ว ยังมีเงินสดที่ไม่ได้ใช้เหลืออีก ก้ฌอาไปจ่ายคืนเงินก็ที่มีดอกเบี้ยซะ
- ถ้าเทียบกันที่ผลตอบแทนแล้ว จ่ายคืนเงินกู็อาจจะให้ผลตอยแทนต่ำสุด เลยมาไว้เป็นสตัวเลือกสุดท้าย
- เพราะต้นทุนดอกเบี้ยเงินกู้บริษํทมันอาจจะประมาณ 5-9% แล้วแต่บริษัท
- นั่นเท่ากับว่า ถ้าดอกเบี้ย5% เราไปจ่ายคืนเงินกู็เราก็ได้ผลตอบแทนนั้น5%นั่นเอง ซึ่งก็ไม่สูงนั่นเอง
** ซึ่งไว้สุดท้ายเพราะเงินกู้ที่ดอกเบี้ยต่ำเอาไปใช้สร้างผลตอบแทนสูงมันสร้างมุลค่าให้กับบริษัทอยู่แล้วนั่นเอง **
Cr. Main Ideaจากหนังสือ Quality Investing การลงทุนที่ดีที่สุดคือการลงทุนที่มีคุณภาพ
+ เสริมเนื้อหาโดยแอดมิน
โฆษณา