27 ก.ย. 2023 เวลา 00:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Ep9-Quality Investing-%GPM มันสะท้อนความสามารถเชิงคุณภาพที่สำคัญมากๆของกิจการ

%Gross Profit Margin หรือ %อัตรากำไรขั้นต้น
ก็คือส่วนต่างระหว่าง "ราคาขาย" กับ "ต้นทุนของสินค้า"
- ทุกๆคนก็รู็ว่ายิ่งขายได้ราคามากขึ้นก็ยิ่งดีเพราะจะยิ่งมีกำไรมากขึ้น (ในความหมายก็คือได้กำไรขั้นต้นสูงขึ้น)
ซึ่งอัตรากำไรขั้นต้นมันจะแตกต่างกันไปในแต่ละอุตสาหกรรมแต่ละบริษัทแต่ละสินค้า:
- บริษัทแต่ละอุตสาหกรรม: ก็จะมีค่าเฉลี่ย%อัตรากำไรขั้นต้นที่ต่างกัน
- บริษัทต่างๆในอุตสาหกรรมเดียวกัน: ก็ยังมี %อัตรากำไรขั้นต้นที่ต่างกันได้ด้วย
- แต่ละตำแหน่งในValue Chainของอุตสาหกรรมนึงๆ: บริษัทในตำแหน่งที่ต่างกันนั้นก็จะมี %อัตรากำไรขั้นต้นที่ต่างกันด้วย
- สินค้าแต่ละตัวในบริษัทเดียวกัน: ก็ขายได้%อัตรากำไรขั้นต้นที่ต่างกันด้วย
- ในบริษัทเดียวกัน เวลาเมื่อ5ปีก่อน กับปีนี้ กับอีก5ปีข้างหน้า: %อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทหรือของสินค้าตัวเดียวกันนั้น อาจจะไม่เท่ากันก็ได้
(บางทีอาจจะเปลี่ยนทั้งอุตสาหกรรม, บางทีอาจจะเปลี่ยนเฉพาะสินค้าบางตัว, บางทีอาจจะเปลี่ยนเฉพาะบางบริษัท สามารถเป็นไปได้หมด)
??? คำถาม ???
แล้ว %อัตรากำไรขั้นต้น มันมีปัจจัยหรือเหตุการณ์อะไรเป็นตัวกำหนดหรือชี้นำว่า บริษัทจะสามารถตั้งราคาขายเก็บส่วนอัตรากำไรขั้นต้นได้เท่าไหร่ ???
>>> คำตอบ = สามารถรวบคำตอบใหญ่ๆได้2-3อย่าง (อาจจะค่อยๆเพิ่มมากอีก<<<
1. ระดับอัตรากำไรขั้นต้น มันแสดงถึง: ระดับ"คุณค่า" ที่ลูกค้ายินดีที่จะจ่ายให้กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบมาเป็นสินค้าจนมาจบที่การให้แบรนด์กับสินค้าตัวนั้นนั่นเอง
(ซึ่ง ตัวคุณค่าของแต่ละธุรกิจแต่ละบริษัท มันก็แตกต่างกันไปในแต่ละบริบทนั่นเอง ว่าKey Value Factorที่ลูกค้าของบริษัทให้ความสำคัญคืออะไร ก็ต้องไปทำความเข้าใจดู)
[ส่วนคำว่าลูกค้า: ถ้าเป็นB2B ลูกค้าก็หมายถึงบริษัทในSupply Chainที่สูงกว่า, ถ้าเป็นB2C ลูกค้าก็หมายถึงผู้บริโภคขั้นสุดท้ายโดยตรง]
2. ความสามารถในการยืนหยัดรักษา %อัตรากำไรขั้นต้น ที่สูงต่อเนื่องนานหลายปีและสูงต่อไปในอนาคตได้ = แสดงถึง: ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนของบริษัท(เมื่อเทียบกับคู่แข่ง)
-ก็เหมือนกับว่าทำไม น้ำโคล่าแบรนด์Coke ก็ทำมาจาก โซดา+น้ำตาล+สารรสชาติ เหมือนกับน้ำหวานแบรนด์อื่น เช่น Est. BigCola
- แล้วทำไม Cokeถึงขายได้ราคาแพงกว่าแบรนด์รองอื่นๆ
- หรือถ้าขายราคาเท่ากัน Coke ก็จะขายได้จำนวนดีกว่ามากอยู่ดี
- นี่คือสถานการณ์ ที่สุดท้ายแล้วทำให้Cokeสามารถตั้งราคาขายให้%GPMสูงกว่าแล้วยังขายได้ดีอยู่นั่นเอง
>>>แล้วในการลงทุนชีวิตจริงเราจะดูและวิเคราะห์ตัวเลขอัตรากำไรขั้นต้น ให้มองเห็นถึงความยอดเยี่ยมเชิงคุณภาพของบริษัทได้ยังไง:
= เราจะใช้วิธีดูตัวเลข%GPM แล้วตีความย้อนกลับเพื่อให้เห็ยถึงคุณภาพต้นทางที่เป็นที่มาของผลลัพธ์%GPMนั่นเอง
(เพราะในชีวิตจริง เราจะเห็น%GPM โชว์ให้ดูทุกไตรมาตร ทีปีอยู่แล้ว - เราก็ตีความว่ามันสะท้อนคุณภาพอะไรต้นทางที่มาของผลลัพธ์ตัวเลขนั่นเอง)
[*** แต่ว่าจริงๆเราก็สามารถเข้าใจเชิงคุณภาพจากการเข้าใจธุรกิจได้พอประมาณอยู๋แล้วนะ ไม่ต้องตีความตัวเลขกลับก็ได้แล้วแต่ความถนัด - แต่ยังไงผลลัพะ์มันก็ต้องมีตัวเลขมายืนยันคุณภาพให้เห็นอยุ๋ดีนั่นแหละ]
>>> เราสามารถดูคุณภาพของบริษัท ผ่านการดูย้อนกลับของตัวเลข%GPM ได้ประมาณ5เรื่อง(อาจจะได้มากกว่านี้ก็ได้):
1. ระดับ%GPM = สะท้อนถึง ระดับ"คุณค่า" ที่ลูกค้าได้ยอมจ่ายให้กับกระบวนการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบเป็นสินค้าของบริษัท
(ถ้าเป็นพวกทำธุรกิจช่องทางการขาย คุณค่านั้น ก็คือ อาจจะเป็นความสะดวกเรื่องทำเล+เวลา+ของครบ+ของไม่มีตำหนิ หรืออะไรประมาณนั้นที่เป็นในเชิงบริการ)
2. ระดับ%GPM = สะท้อนถึง ระดับการใช้สินทรัพย์(ต้นทุนสินค้า)ในการสร้างยอดขาย ว่าใช้มากหรือใช้น้อย
3. การที่สามารถยืนหยัดคง %GPM ไว้ได้สูงต่อเนื่องมาและต่อไปในอนาคต = สะท้อนถึง บริษัทมีความได้เปรียบทางการแจ่งขัน"อย่างยั่งยืน"
- เพราะว่า %GPMเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกับROE ROAที่สูง
- ดังนั้น ถ้าบริษัทไหน(หรืออุตสาหกรรมไหน) ทำROE (อาจจะรวมถึง%GPMด้วย)ได้สูงมายาวนาน
- แน่นอนว่า ความกำไรดีนี้ต้องดึงดูดผู้เล่นอื่นเข้ามาแย่งกำไรดีส่วนี้ไปแน่นอน การแข่งขันก็จะมากขึ้น สุดท้ายคนขายก็จะแข่งกันลดกำไรตัวเองลง Race to Bottom เป็นปกติ
- ดังนั้นถ้า บริษํทไหนเจอแบบนี้แล้วยังยืดหยัด%GPMได้สูงอยู่ แปลว่าเขาต้องมีอะไรเก่งกว่าคู็แข่งจริงๆ ถึงไม่ต้องไปแข่งในการแข่งRace to Bottom แล้วยังตั้งราคาขายที่กำไรเยอะแล้วลูกค้าก็ยังซื้ออยู๋เหมือนเดิม
4. การดู%GPM แยกออกมาจากการดู %NPM อย่างเดียว = ช่วยทำให้เราแยกแยะ "ระดับความได้เปรียบทางการแข่งขันระยะยาวของบริษัทที่สะท้อนผ่าน%GPM" ออกจาก "ความสามารถของผู้บริหารในช่วงนึงๆหรือออกจากเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายดำเนินการ ที่ทุกอย่างนี้มันสะท้อนผ่าน%NPM"
- ซึ่งถ้าเราไปดูแต่%NPM เราจะดูแยกแยะความดีความแย่ในเขิงคุณภาพแต่ละอย่างไม่ออกเลย เพราะมันเป็นตัวสุดท้ายที่รวมผลของคุณภาพทุกอย่างมาหมดแล้ว
- เช่น: บางทีสำหรับธุรร้านค้าปลีก ช่วงที่มีการขยายสาขาเร็วๆมากๆ อาจจะทำให้โครงสร้างต้นทุนดำเนินงานสูงขึ้นมาก ซึ่งไปส่งผลให้%NPMลดลง(ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถหรือกลยุทธ์ของผู้บริหารในช่วงเวลานั้นๆ)
- ถ้าเราไปโฟกัสเฉพาะ%NPMก็อาจจะทำให้เราพลาสไปว่าบริษํทมันไม่ได้แล้ว %กำไรลดลง (อาจจะคิดไปว่าความสามารถในการแขจ่งขันลดลงรึเปล่า อะไรแบบนี้)
- ซึ่งแต่ถ้าเราดูลึงลงไปที่ %GPM ถ้ามันยังสูงเท่าเดิมอยู๋ ก็จะทำให้เราเข้าใจได้ว่า ออข้อได้เปรียบในการแข่งขันในใจผู้บริโภคมันยังเหมือนเดิมอยู๋นะเพระาไม่ต้องขายลดราคาอะไรเพระาได้%GPM
- แต่ที่%NPMมัดลดลงเป็นเพราะจากเรื่อง ค่าใช้จ่ายดำเนินงานมันเพิ่มขึ้นสูงไวกว่ายอดขายสาขาใหม่ที่เพิ่มเริ่มเข้ามาชั่วคราวเฉยๆนั่นเอง
- ก็เลยสรุปว่า อย่าให้เรื่องโครงสร้างต้นทนุดำเนินงานที่สูงขึ้นในกระยะสั้นที่ส่งผลให้%NPMลดลง มันมาปกปิดตาเราจาก"ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันระยะยาวที่สะท้อนผ่าน%GPM" นั่นเอง
5. ระดับ%GPMที่สูง จะยิ่งส่งผลประโยชน์ต่อบริษัทแบบทบต้นไปอีกในเรื่องอื่นๆด้วย = มันจะไปช่วย [สร้าง และ ขยาย] ข้อได้เปรียบในการดำเนินงานของบริษัทเพิ่ม: เช่น
- %GPMที่สูงกว่า = ก็ทำให้ Operating Leverageก็สูงกว่าตาม (เพราะSG&A expense จะมีความเป็นFix costผสมอยู่เยอะอยู่แล้ว) >> ทุกการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น ก็จะทำให้ลงเป็นกำไรสุทธิได้มากกว่าและสร้างมูลค่าต่อบริษัทได้มากกว่า
** ไอเดียเดียวกับพวกที่ ดู%Utilization rate แหละ**
- %GPMที่สูง = ส่วนต่างที่มากนี้จะช่วยเป็นกันชนให้กับบริษัทไม่ขาดทุนง่ายๆ เวลาที่เจอเหตุการต้นทุนวัตถุดิบหรือสินค้าสูงขึ้นชั่วคราว (และ + ช่วยให้มีงบส่วนต่างไปงทุนหาวิธีที่จะรับมือได้ค่อลงตัวกว่าบริษัทที่ %GPMบางๆด้วย)
- %GPMที่สูง = ก็จะมีส่วนต่างเอาไปลงงบวิจัยและพันาR&Dสินค้าใหม่(มีงบใช้Maintenance&Growth Capexมากขึ้น) เพื่อจะมาเป็นProduct chmpionตัวต่อไปได้เยอะขึ้นด้วย เพิ่มโอกาสในการเจอของที่ตรงเป้าได้มากขึ้น
(แต่จริงๆเรื่องหัวข้อนี้ มันก็วนเป็นลูปนั่นแหละ เหมือนไก่กับไข่ อันไหนเกิดก่อน: ที่บริษัทขายสินค้าบริการที่%GPMสูงได้ หลายๆเคสก็มากจากผลสำเร็จของR&Dprojectที่ผ่านมาก่อนแล้วก็มาเก็บกินบุญเก่า%GPMสูงๆนั่นเอง - ซึ่งบริษัทก็ต้องลงุนทำR&Dต่อไปเพื่อจะหาของใหม่มาทดแทนเมื่อสินค้าเก่ามันจบรอบไปแล้วนั่นเอง)
- %GPMที่สูง = ก็จะมีส่วนต่างเอาไปลงงบโฆษณาสินค้าและแบรนด์มากขึ้น(งบA&P)(อย่างที่บอกEPก่อนหน้า งบโฆษณามันก็มีคุณค่าในเชิง Maintenance&Growth Capexด้วย) >> เพื่อในสินค้าและแบรนด์ยังคงอยู่ในใจลูกค้าคนเดิมเพื่อให้กลับมาซื้อเท่าเดิมอยู่(Maintenance Capex) + เพื่อให้ลูกค้าใหม่รู็จักสินค้าและแบรนด์มากขึ้นเพื่อให้ได้ยอดขายเพิ่มขึ้นจากคนเก่าซ์้อมากขึ้นและคนใหม่ที่ไม่เคยซื้อก็มาซื้อ(Growth Capex)
** เราเลยเห็นว่า พวกบริษัทที่จ่ายค่าโฆษณาสูงสุดประจำปี (ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิงพิมพ์, โทรทัศน์, โฆษณาดิจิตอล, โฆษณาป้ายต่างๆ) ส่วนใหญ๋ก็จะเป็นพวกแบรนด์สินค้าFMCGพวกนี้แหลที่%GPMสูงๆ ที่ลงงบโฆษณากันเยอะสูงติดTopบ่อยๆ**
🎉🎉🎉 ดงันั้น ต่อจากนี้: เวลาดูงบการเงินของบริษัทแล้วเห็นอัตรากำไรขั้นต้น %GPM
- เราก็จะไม่ได้มองมันเป็นแค่ตัวเลข% ปกติแล้ว
- เราจะเริ่มมองเห็นคุณภาพของบริษัทส่วนต่างๆที่กำลังเกิดขึ้นตลอดเวลาในธุรกิจจริงๆ ซึ่งเป็นสารตั้งต้นที่มากของ %อัตรากำไรขั้นต้นที่เราเห็นในงบการเงิน แต่ละไตรมาตรนั่นเอง
- เราจะเข้าใจว่าทำไมบริษัทนี้ถึงมี%GPMสูงกว่าอีกบริษัทนึง
- เราจะเข้าใจว่า ทำไมตอนนี้%GPMมันถึงต่ำกว่าปกตินะ แล้วในอนาคตจริงๆมันจะต้องสูงกว่านี้นะ
อะไรประมาณนี้
-อย่ามองตัวเลข %GPM ในเชิงตัวเลข เราจะมองไม่เห็นอะไรเลย
-จงมองตัวเลข%GPM ในเชิงคุณภาพธุรกิจที่ดำเนินอยู๋เบื้องหลังตัวเลขนั้นเสมอ
>> แล้วเราจะตาสว่างมองเห็นความเป็นไปของธุรกิจจริงๆ
Cr. Main Ideaจากหนังสือ Quality Investing การลงทุนที่ดีที่สุดคือการลงทุนที่มีคุณภาพ
+ เสริมเนื้อหาโดยแอดมิน
โฆษณา