30 ก.ย. 2023 เวลา 17:43 • หุ้น & เศรษฐกิจ

Ep10-Quality Investing- บท1.3 บ่อเกิดของการเติบโต - 2การเติบโตในมุมตัวเลขการเงิน

ในบทความนี้จะแยก บ่อเกิด(ต้นตอ)รวบกลุ่มใหญ่ๆที่บริษัทจะสามารถเติบโตเพิ่มยอดขาย(และกำไร)ได้
[จากหนังสือ] จะแบ่งบ่อเกิดของการเติบโตยอดขายออกเป็น 5 อย่าง:
>> กลุ่มแรก: การเติบโตที่เกิดจากสภาพหรือสภาวะตลาดโดยรวมพามา
แบ่งเป็น 2 อย่าง:
1. การเติบโตยอดขาย ที่เป็นไปตามวัฎจักรเศรษฐกิจ [Growth from Cyclical Market]
2. การเติบยอดขาย ที่เกิดจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่นำพาไป [Growth from Structural Changes in Market]
>> กลุ่มสอง: การเติบโตที่เกิดจากฝีมือของตัวผู้บริหารบริษัทเอง
แบ่งเป็น 3 อย่าง:
3. การเติบโตยอดขาย ที่มาจาก การเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ [Growth from Gaining Market Share]
4. การเติบโตยอดขาย ที่มาจาก การขยายไปภูมิภาคใหม่ [Growth from Geographic Expansion]
5. การเติบโตยอดขาย ที่มาจาก ความสามารถในการสร้างสินค้าบริการที่มีดีไซน์และสร้างสรรค์ + ที่ทำให้เพิ่มราคาขายได้ + ที่ทำให้เพิ่มจำนวนการขายได้
[Growth from Pricing, Mix, Volume of Products]
*** เราพัก 5 บ่อเกิดของการเติบโตเอาไว้ตรงนี้ก่อน **
ก่อนอื่น เรามีเข้าใจความหมายของคำว่าบริษัทที่เติบโต Growth Stock หรือ ก็คือการเติบโตจาก5บ่อเกิดด้านบนั่นแหละ
- ว่าการเติบโตมาหมายถึงยังไงในทางการเงิน
- ว่ามันเติบโตที่ตัวเลขอะไร
- แล้วลิมิตของการเติบโต/ปี มันมีลิมิตรึเปล่า และ อะไรเป็นตัวลิมิตปริมาณการเติบโต/ปีของบริษัทนั้นๆ
*** ส่วนเรื่องการเติบโตแล้วมันสร้างคุณค่าให้บริษัทรึเปล่า ค่อยพูดอีกทีนึง ยังไม่พูดถึงในตอนนี้***
✨✨✨บริษัทที่เติบโตได้ จะหมายถึง (อาจจะมีได้2รูปแบบใหญ่ๆ)✨✨✨
การเติบโตของรายได้หรือการเติบโตของกำไรที่มาจาก 2 รู)แบบใหญ่ๆนี้:
>>> การเติบโตรูปแบบที่ 1:
กำไรเติบโตจาก "ประสิทธิภาพการดำเนินงาน หรือ ประสิทธิภาพการทำกำไร" ของ Existing Operation (Operationส่วนเดิมที่มีอยู่แล้ว) มันดีขึ้นกว่าเดิม
- สั้นๆก็คือ ROE, ROA ของ Operationส่วนเดิม มันสูงขึ้นนั่นเอง (เพราะประสิทธิภาพการทำกำไรในมุมมองนักลทุนแล้วเราใช้อัตราส่วนที่สำคัญที่สุดก็คือ ROE นั่นเอง (จะดูROAด้วยก็ได้นะ มันก็อยู๋ในROEนั่นแหละ)
ROE = Net Profit / Equity
ในที่นี่เราเน้นเรื่องการเติบโตของบริษัท ซึ่งก็จะเน้นเรื่องROEที่สูงขึ้นจากการเติบโตของบริษัท
- ดังนั้น ในหัวข้อนี่เราจะโฟกัสที่ ROEสูงขึ้น ขากการที่ Net Profit สูงขึ้นตัวเดียว
(การที่ ROEสูงขึ้น จากการที่บริษัททำการลดEquityลงนั้น ไม่ถือเป็นROEที่สูงขึ้นจากเรื่องการเติบโตของบริษัท มันจะเป็นการทำให้ROEสูงขึ้นจากFinancial Technique ซึ่งมันทำเพื่อแค่รีดเงินออกมาจากบริษัทแค่ชอตเดียวแต่เงินนั้นไม่ได้มากจากบริษัทมันขายเติบโตขึ้นนะ มันไม่ใช่การเติบโต)
- ซึ่ง ROEของOperationgเดิมจะสูงขึ้นได้จากเรื่องอะไรบ้าง(ในเคสของการเติบโตของบริษัท)
[เราก็มองแยกร่างROE ออกเป็น 3 องค์ประกอบของมัน จากDu-Pont Formula]
1.1 Asset Turnover[Revenue/Asset] สูงขึ้น (เน้นว่าในส่วนของ Existing Operationนะ)
- ในที่นี้เราจะ นับเฉพาะ การเพิ่มขึ้นของRevenueนะ ที่ทำให้ROEสูงขึ้น
- ซึ่งการที่Operationส่วนเดิม จะทำให้ยอดขายสูงขึ้นได้โดยที่ไม่เพิ่มAssetอะไรเลยนั้น ก็แปลว่า ต้องมีอะไรที่ดีขึ้นมา เช่น ขายของได้หมดสต็อกเร็วขึ้น จาก30วันเป็น 25วันหมด, หรือ ขายของหรือบริการแบบเดิมแต่ได้ประกาศเพิ่มราคาสูงขึ้นได้(โดยที่จำนวนQuantityไม่ลดลง แบบพวก Starbuck, Rolex, iPhone, หลุยวิตอง)
[เราจะแยกการลดลงของAsset ออกไปจากหมวดนี้ เพราะถึงแม้จะทำให้ROEของExistingOperationจะสูงขึ้น - แต่มันไม่ได้ทำให้ บริษัทในภาพรวมมีกำไรที่เป็นตัวเลขรวมสูงขึ้น คือไม่ได้ทำให้บริษัทมันโตขึ้น
**แต่ว่าถ้าในมุมมองผู็ถือหุ้น กำไร/หุ้น EPSในปีต่อๆไป ก็อาจจะได้มากขึ้นต่อปีก็ได้ สำหรับคนที่ยังถือหุ้นอยู่หลังจากบริษัทLean Assetที่ไม่ได้ใช้งานออกมากลายเป็นFreeCashFlow แล้วใช้เงินสดนั้นซ์้อหุ้นคืน
** แต่ถ้าใช้FCFนั้นปันผลออกมา ผู็ถือหุ้นก็จะได้เงินพิเศษเป็นOne-timeก้อนใหญ่ทีเดียว แต่ปีต่อๆไปก็ได้EPSเท่าเดิม]
1.2 %Net Profit Margin [Net profit/Revenue] สูงขึ้น:
- อันนี้ก็ตรงตัวเลย สามารถทำอัตรากำไรได้มากขึ้น ไล่มาตั้งแต่บรรทัดบนจนได้ล่างเลย
- Gross Margin% สูงขึ้น [เพิ่มราคาสินค้าเดิมได้ หรือเพิ่มราคาสินค้ารุ่นใหม่ได้ที่ตอบโจทย์กว่าหรือมีแบรนด์ หรือ อำนาจต่อรองราคาสินค้าหรือวัตถุดิบลงมาได้เพราะมียอดสั่งซื้อที่มากขึ้นจากการขายที่มากขึ้น]
- Selling Expense/Revenue% ลดลง [ได้ Economy of scaleจากค่าโฆษณา จากค่าเช่า,จากการขนส่ง,จากค่าพนักงานหน้าร้าน,จากค่าพรีเซนเตอร์,อื่นๆ ที่ยอดขายเพิ่มแล้วค่าใช้จ่ายพวกนี้ไม่ต้องเพิ่มเท่าไหร่)
- Admin Expense/Revenue% ลดลง [ก็ได้ Economy of scaleเหมือนกัน จากค่าพนังกานส่วนกลาง, ค่าผู้บริหาร, ค่าที่ปรึกษา, ค่าซอฟแวร์, ค่าอื่นๆ)
- Interest Expense/Revenue% ลดลง
- และอาจจะเรื่องอื่นๆ
** ซึ่งสรุปก็คือ %NPM จะสูงขึ้นได้จาก ความสามารถในการขายของราคทสูงขึ้น หรือ อำนาจต่อรองต้นทุนสินค้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ หรือ การใช้จ่ายสร้างประสิทธิภาพได้ดีขึ้น (ซึ่งบางทีมันก็จะเป็นงูกินหางกับ ยอดขาย - ยิ่งยอดขายมากขึ้นได้แบบมีประสิทธิภาพ เราก็จะได้ประโยชน์จากค่าใช้จ่ายFixed Cost ไปโดยปริยายอยู๋แล้วแบบEconomy of Scale)
1.3 Financial Leverage[Asset/Equity] สูงขึ้น:
- ในเรื่องนี้ถ้าไม่แยกแยะให้เข้าใจเป็นเคสๆเป็นหมวดหมู่ให้ดีๆ อาจจะทำให้เข้าใจแบบปั่นป่วนรวมๆกันแยกไม่ออกได้ !!
- ในเรื่อง Financial Leverage ที่สูงขึ้นที่ให้ให้มีการเติบโตในส่วนExisting Operation
= หลักๆแล้วมันจะเกี่ยวกับ การใช้ไปเพื่อเพิ่ม Net Working Capital เวลาขายของจากExisting Operationได้มากขึ้นนั่นเอง (คือใช้LeverageไปกับพวกAssetเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น เช่น สต้อกสินค้ามากขึ้น, ขายของได้มากขึ้นแต่ต้องปล่อยเครดิตลูกค้ายาวๆต้องหาเงินระยะสั้นชั่วคราวมาเติมอุดหมุนก่อนจนกว่าจะได้เงินจากลูกค้ามา แล้วก็หมุนไปเรื่อยแบบนี้ไม่มีวันจบ)
*** แต่ถ้าเป็น Financial Leverageที่ใช้ไปกับ Fixed Asset หรือ Long-Term Asset ปกติและส่วนใหญ่แล้ว = มันจะไปเข้ากับเรื่องการลงทุนขยายธุรกิจส่วนใหม่เพิ่มเติมเลยนั่นเอง (จะไปเข้าการเติบโตรูปแบบที่2: การลงทุนเพิ่มให้ธุรกิจใหญ่ขึ้น)
>>> Financial Leverageที่สูงขึ้น = [โดยconcept] ก็คือการที่ Liability มากขึ้นนั่นเอง
ซึ่ง Liability ก็จะแยกออกเป็น 2 ประเภท:
(ซึ่งการใช้เพิ่มNet Working Cap.เงินหมุนเวียนระยะสั้น ก็สามารถเลือกใช้ Liabilityได้ทั้ง2แบบนะ - แต่ว่าแบบNon-Interest Liability จะสร้างคุณค่าต่อผู้ถือหุ้นได้สูงกว่านั่นเอง)
1.3.1 Interest-Bearing Liability = หนีสินที่มีดอกเบี้ย ก็คือพวก เงินกู้ธนาคาร, หุ้นกู้ต่างๆ ซึ่งมีต้นทุนดอกเบี้ยจะกู้สั้นกู้ยาวก็อยู๋ในหมวดนี้หมด
- ธุรกิจส่วนทำงานเดิมเราก็สามารถใช้เงินกู้เพื่อมาเพิ่มยอดขายได้ เช่นกู้ODมาเพื่อใช้เงินซื้อของลอตใหม่ทดแทนเงินที่เราไปจมกับลูกหนี้การที่ขายได้ไปก่อน, หรือ กู็เงินมาซ์้อของสต็อกเพิ่มตอนที่จะเข้าHigh Seasonที่ต้องสต็ฮอกของเพิ่ม(เพราะว่าเราไม่มีอำนาจต่อรองกับsupplierขอเครดิตที่ยาวกว่ารอบการขายหมดสต้อกของเรา)
[ซึ่งการใช้Interest-bearing Liability ตัวนี้เพิ่มขึ้น แล้วทำให้ Financial Leverageสูงขึ้น แล้วทำให้ROEสูงขึ้นนั้น >> จริงๆแล้วมันจะไป Overlap กับหมวดเคส การเติยบโตรูปแบบที่2 การใช้เงินลงทุนเพิ่มเพื่อขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้นการExisting Operationเดิมด้วย]
1.3.2 Non-Interest-Bearing Liability = หนี้สินที่ไม่มีภาระดอกเบี้ย
**ตัวนี้เป็น Key Man ของการเพิ่ม Financial Leverage ของOperationส่วนเดิมได้ โดยที่ไม่ต้องการจากการกู้เงินเลยนั่นเอง**
= ก็คือพวก เจ้าหนี้การค้า Account Payable ที่เราได้จากSupplierเวลาเราซ์้อสต็อกสินค้าInventoryเข้ามาไว้รอขายของนั่นเอง
- ซึ่ง Credit-Termที่เราได้จาก Supplier 30วัน 60วัน 90วัน มันไม่มีดอกเบี้ยด้วยนะ ดีสุด
- ซึ่งการทำบริษัทนึงๆจะได้Credit-termจ่ายเงินจากSupplierมาได้ แสดงว่าเขาต้องมีอำนาจต่อรองที่สูง ที่ดีกว่าsupplierนั้นนั่นเอง
- มันเหมือนกับว่าเราไปขอกู้เงินธนาคารระยะสั้น60วัน ไปจ่ายซื้อสต็อกสินค้าไว้นั่นแหละเพราะเราไม่ต้องควักเงินเราเองไปจ่าย แล้วธนาคารก็บอกว่าไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วยนะขายของให้หมดเร็วๆก่อนถึงดิว60วัน จะได้เอาเงินจากที่ขายนั่นแหละมาจ่ายเหักล้างเงินกู้ระยะสั้น60วันก้อนนี้ให้หมดไป
[เห็นรึเปล่าว่าเราไม่ต้องควักเงินตัวเองออกจากกระเป๋าเลย ในการซื้อของจากSupplierครั้งนี้ ถ้าเราขายของที่ซื้อมาได้หมดหรือใกล้หมดก่อนครบดิว60วัน]
** แต่ถ้าขายของได้หมดช้ากว่า60วัน - เช่น 80วัน เราก็มีเงินสดจากที่ขายของไปได้แล้ว70-75% +กับ เงินที่้เราต้องควักออกมาเติมเองอีก25-30% เพิ่มให้พอจ่ายค่าสินค้าจากsupplierเมื่อวันครบดิลที่60วัน
[ นี่ก็ยังดีเมือนกันนั่นแหละ เพราะเห็นรึเปล่าว่าเราควักเงินเราเองแค่ 25-30%ของค่าInventoryเองนะ ถ้าต้องซ์้อเงินสดเราต้องควักเอง100%ไปจ่ายก่อนเลยนั่นเอง]
[แต่จริงๆคือเราไปขอกับsupplierนั่นแหละว่า ขอเถอะอีก60วันผมค่อยมาจ่ายเงินนะ ขอเอาของไปขายหาเงินก่อน แล้วจะเอาเงินที่ขายได้ภายใน60วันนั่นแหละ มาจ่ายคุณ ผมไม่อยากออกเงินตัวเองก่อนเงินมันจมอะ ผมจะเอาเงินนั่นไปใช้ทำอย่างอื่นแทนอะไม่อยากเอามาจ่ายคุณเลยตามปกติแบบลูกค้าขาจรทั่วไปจ่ายกัน]
- ซึ่งไอตัวพลังหรืออำนาจที่ทำให้เราลดสัดส่วนการควักเงินจากกระเป๋าตัวเองเหลือแค่ 0%ไม่ต้องควักเลย หรือ ควักแค่20-30% ตอนไปจ่ายค่าInventoryในแต่ละงวดการจ่ายAccount Payableนั่นแหละ เรียกว่าพลังของ Financial Leverageทางการเงิน(ที่มาจาก Non-Interest Bearing Liability] >> ซึ่งจะมีค่ามหาศาลในเชิงของ ROE ROIC [ROIC จะเห็นชัดกว่า ROAมันจะไม่เห็นหลังfinancial leverageต่างๆ]
>>> ซึ่งธุรกิจที่มีอำนาจต่อรองสูงๆ อยู่ในตำแหน่ง Value-Chainที่มีอำนาจต่อรองสูงๆในอุตสาหกรรม ก็จะมีการใช้ Non-Interest Liability ที่สูงมากจนแทยไม่ต้องใช้ Interest-bearing Liabilityกับเงินหมนุเวยีนระยะสั้นNet Working Cap.เลยก็ได้
- ซึ่งก็จะทำให้ มีประสิทธิภาพการทำกำไรROE ROICที่ดีกว่าคนที่ต้องใช้เงินกู้ที่มีดอกเบี้ย เพราะว่าเทียบกันคนนึงต้องจ่ายดอกเบี้ยกับเงินหมุนเวียน อีกคนเอาเงินมาหมุนฟรีไม่ต้องมีดอกเบี้ย
[แต่ในเรื่องจริง เขาก็มีเลือกใช้เงินกู้ระยะสั้นมาผสมกับด้วยแหละเป็นการdiversify สภาพคล่องให้ความเสี่ยงต่ำ]
- เช่น ธุรกิจค้าปลีกที่ของหมดอายุไม่นานมากแล้วขายดีหมดเร็วมากๆ 7-11, ธุรกิจร้านอาหารขายปลีกที่ขายของหมดอายุไวแล้วขายได้ดีมากหมดเร็ว M, Zen, AU
[แต่บางธุรกิจ ก็ขายดีมากๆ แต่ด้วย์Natureของตัวสินค้าหรือตัวธุรกิจที่ต้องสต็อกสินค้าไว้ยาวนานมากหน่อยจนใกล้ๆหรือเลยดิวA/P นิดนึงก็ได้ เช่น HMPRO ซึ่งก็ดีเหมือนกันนะ]
>>> การเติบโตรูปแบบที่ 2:
จาก การลงทุนขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เพื่อเอามาใช้สร้างรายได้ที่มากขึ้นกว่าเดิม
** โดยแหล่งที่มาของเงินทุนที่จะเอามาใช้ลงทุนก็จะมีมาจาก 2 แหล่ง:
2.1 จากการเอากำไรที่ทำได้แต่ละปี มาใช้ลงทุนเพิ่ม - ก็คือ Equityจะเพิ่มขึ้น:
= ความหมาย คือ การที่บริษัทเลือกที่จะ Reinvest กำไรที่ทำได้แต่ละปี กลับเข้าEquity(BookValue) (ซึ่งมูลค่าEquityก็จะเพิ่มขึ้นทุกปีนั่นเอง)
- เพื่อไปซื้อOperating Assetเพิ่ม หรือ ซื้อNet Working Capitalเพิ่ม
- แล้วใช้assetส่วนเพิ่มนี้สร้างยอดขายที่มากขึ้นได้สำเร็จด้วย
2.2 จากการกู้เงิน มาใช้ลงทุนเพิ่ม - ก็คือเพิ่ม Financial Leverage (ของROEรวม):
= ความหมาย คือ การที่บริษัทยังสามารถกู้เงินเพิ่มขึ้นได้อีก [หรือก็คือยังเพิ่ม Debt/Equity Ratioขึ้นไปได้อีก เช่น D/E covernantอยูที่ 2 เท่า ตอนนี้มีD/Eอยู่ที่ 0.4เท่า ก็ยังมีความสามารถในการกู้เงินเอาเงินมาลงทุนสิ่งต่างๆเพิ่มขึ้นได้อีก]
- เพื่อไปซื้อOperating Assetเพิ่ม หรือ ซื้อNet Working Capitalเพิ่ม
- แล้วใช้assetส่วนเพิ่มนี้สร้างยอดขายที่มากขึ้นได้สำเร็จด้วย
>> ซึ่งการเติบโตรูปแบบที่2 ที่เป็นการใช้เงินลงทุนส้รางสาขาใหม่เพิ่มหรือสร้างOperationอะไรใหม่เพิ่มนั้น ก็ต้องคำนึงถึง ROE ROA ROIC ว่ามันจะมากกว่า/น้อยหว่า/เท่าเดิม กับ ROE ROA ROICของExisting Operationเดิมด้วยรึเปล่านะ
- ถ้าส่วนขยาย มันทำROE ROAได้น้อยลงกว่าOperationเดิมแบบมัดนัยยะสำคัญทั้งที่ทำธุรกิจแบบเดิมด้วย นั้นก็แปลว่าธุรกิจBusiness modelเดิมนี้เริ่มที่จะมีอุปสรรคในการขยายแล้ว เพราะประสิทธิภาพการทำกำไรมันไม่ดีเท่าเดิม อาจจะหลายๆเรื่อง เช่น ทำเลดีๆเปิดไปหมดแล้ว, ลูกค้าที่ต้องการก็มาเป็นลูกค้าหมดแล้ว ก็เหลือแต่ลูกค้าที่ยากขึ้นหรือทำเลที่ยากขึ้นอะไรประมาณนี้
** ซึ่งเรื่องนี้เดี๋ยวค่อยมาพูดอีกทีนึง
= ตอนนี้สรุปแค่ว่า การเติบโตจองบริษัทในทางตัวเลขการเงิน
มันจะสรุปออกมาได้ 2 แบบนั่นเอง:
1. กำไรเติบโต(รวมถึงรายได้ด้วยก็ได้)จาก ROEของOperationเดิมสูงขึ้น
2. รายได้เติบโต(รวมถึงกำไรด้วย) จากการลงทุนขยายธุรกิจส่วนเพิ่มเติมให้ธูรกิจใหญ่ขึ้น
>>> ย้อนกลับไปที่ 5 บ่อเกิดของการเติบโตยอดขายของบริษัท
- การเติบโตในมุมมองตัวเลขการเงิน2แบบด้านบนนี้ = มันก็จะมีบ่อเกิดการเติบโตรายได้และกำไรในเชิงคุณภาพ(ในมุมมองธุรกิจจริง)มาจาก5บ่อเกิดที่บอกไว้ตอนแรกนั่นเอง:
>> กลุ่มแรก: การเติบโตที่เกิดจากสภาพหรือสภาวะตลาดโดยรวมพามา
แบ่งเป็น 2 อย่าง:
1. การเติบโตยอดขาย ที่เป็นไปตามวัฎจักรเศรษฐกิจ [Growth from Cyclical Market]
2. การเติบยอดขาย ที่เกิดจากโครงสร้างเศรษฐกิจที่นำพาไป [Growth from Structural Changes in Market]
>> กลุ่มสอง: การเติบโตที่เกิดจากฝีมือของตัวผู้บริหารบริษัทเอง
แบ่งเป็น 3 อย่าง:
3. การเติบโตยอดขาย ที่มาจาก การเพิ่มส่วนแบ่งตลาดได้ [Growth from Gaining Market Share]
4. การเติบโตยอดขาย ที่มาจาก การขยายไปภูมิภาคใหม่ [Growth from Geographic Expansion]
5. การเติบโตยอดขาย ที่มาจาก ความสามารถในการสร้างสินค้าบริการที่มีดีไซน์และสร้างสรรค์ + ที่ทำให้เพิ่มราคาขายได้ + ที่ทำให้เพิ่มจำนวนการขายได้
[Growth from Pricing, Mix, Volume of Products]
บทความหน้าจะมาต่อในมุมมองของโลกแห้่งความเป็นจริงว่า 5 ต้นตอหรือบ่อเกิดของการเติบโตรายได้ของบริษัท(ในมุมมองเชิงคุณภาพ มุมมองโลกชีวิตจริง) มันเป็นยังไง
** และการเติบโตนั่นมันก็จะสะท้อนออกมาในการเติบโต(ในมุมมองเชิงตัวเลข)ทั้ง2แบบตามในบทความนี้นั่นเอง
Cr. Main Idea5บ่อเกิดของการเติบโตจาก หนังสือ Quality Investing
Cr. เรื่อง 2 แบบของการเติบโตในมุมมองตัวเลขการเงิน จาก เจ้าของเพจและหนังสือและอาจารย์ต่างๆ
โฆษณา