24 ก.ย. 2023 เวลา 17:03 • การเมือง

บทเรียนจากนอร์ดสตรีม “เยอรมนี” เตรียมสั่งแบน “อุปกรณ์โครงข่าย 5G ของจีน”

รัฐบาลกลาง “เยอรมนี” มีแผนต้องการสั่งบังคับแบนอุปกรณ์โครงข่าย 5G ของหัวเหว่ย โดยหวังให้ผู้ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Network Operator) ในเยอรมนีถอยออกห่างจากเทคโนโลยีของจีน ซึ่งจะนำมาสู่ผลกระทบอันเป็นวงกว้างต่อ “การให้บริการบนโครงข่ายเทคโนโลยี 5G” และ “ความสัมพันธ์กับจีน”
2
19 กันยายน 2023: Handelsblatt สื่อเยอรมันรายงานว่า กระทรวงมหาดไทยของเยอรมนีวางแผนที่จะกำหนดให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมลดการใช้อุปกรณ์ Huawei และ ZTE ในโครงข่าย 5G ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อเยอรมนีได้ประเมินความสัมพันธ์ของตนกับจีนอีกครั้ง กระทรวงเสนอแนวทางแบ่งเป็นเฟส โดยผู้ให้บริการจะต้องถอดอุปกรณ์ในโครงข่ายที่สำคัญซึ่งเป็นแบรนด์จีนภายในปี 2026
1
เครดิตภาพ: Bloomberg
Politico ได้รายงานเปิดเผยถึงแผนจากกระทรวงมหาดไทยเยอรมนีดังกล่าวโดยระบุว่า “เห็นได้ชัดว่าเยอรมนีมีการพึ่งพาเชิงโครงสร้างด้านโทรคมนาคมอย่างมากกับซัพพลายเออร์จีน 2 ราย คือ Huawei และ ZTE”
2
เจ้าหน้าที่ทางการเบอร์ลินกำลังพิจารณากำหนดให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมหยุดใช้อุปกรณ์ของจีน เริ่มต้นจากส่วนแกนกลาง (Backbone) ของโครงข่ายโทรคมนาคมภายในวันที่ 1 มกราคม 2026 และจะยุติการพึ่งพาชุดอุปกรณ์ของจีนในส่วนโครงข่ายการเข้าถึงสัญญาณวิทยุ (Radio Access Network: RAN) ซึ่งเป็นโครงข่ายเสาและสถานีฐานที่ครอบคลุมกว้างขึ้นภายในสามปีต่อจากนั้น
  • รัฐบาลกลางเยอรมนีกำลังชั่งน้ำหนักระหว่าง “การจำกัดอุปกรณ์ของจีนไว้ที่ 25% ในระบบ RAN” หรือ “การสั่งแบนอุปกรณ์จีนทั้งหมดในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่ละเอียดอ่อน เช่น เมืองหลวง”
2
  • กระทรวงมหาดไทยเยอรมนีให้เหตุผลในการแบนอุปกรณ์โทรคมนาคมจากจีน มีสาเหตุหลักมาจากสถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องด้วย “สงครามรัสเซีย-ยูเครน” การปกป้องโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกสำหรับรัฐบาลกลาง ซึ่งรวมถึงโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ท่อส่งก๊าซ และระบบสายส่งไฟฟ้า จากมุมมองของรัฐบาลกลาง ภาคโทรคมนาคมโดยเฉพาะมี “ความสำคัญที่โดดเด่นในแง่ของนโยบายความปลอดภัย”
2
เมื่อเทียบกับสถานการณ์เบื้องหลังนี้ “การพึ่งพาเชิงโครงสร้างที่สำคัญ” ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาไม่เป็นที่ยอมรับอีกต่อไป สำหรับกระทรวงมหาดไทย “ไม่ใช่ประเด็นทางเทคนิค” แต่ “เป็นประเด็นนโยบายความมั่นคง” ที่มีความสำคัญ ดังนั้นไม่สำคัญว่าช่องโหว่ด้านความปลอดภัยจะสามารถพิสูจน์ได้โดยเฉพาะหรือไม่ ถ้าหากความเสี่ยงด้านความปลอดภัยหรือความเป็นไปได้ที่อุปกรณ์จากที่ใดจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อการจารกรรมข้อมูลสำคัญ
2
Nancy Faeser รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยเยอรมนี เครดิตภาพ: ddp/FlashPic
ผู้ให้บริการโทรคมนาคมในเยอรมนีได้วิพากษ์วิจารณ์แผนดังกล่าว คำเตือนถึงการหยุดชะงักในการให้บริการ และผลกระทบจากการดำเนินการทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นได้จากตัวแทนของจีน
1
ในขณะที่บริษัทตัวแทนหัวเหว่ยในเยอรมนีได้ปฏิเสธให้ความเห็นถึงเรื่อง “ประเด็นทางการเมือง” ที่ระบุว่าเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ของประเทศ โดยระบุในแถลงการณ์ว่า “แนวทางดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในเยอรมนี ขัดขวางนวัตกรรม และเพิ่มต้นทุนการก่อสร้างและการดำเนินงานสำหรับผู้ให้บริการโครงข่ายอย่างมีนัยสำคัญ” “เป็นผลให้ผู้บริโภคชาวเยอรมันจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม”
อ้างอิง: Reuters
ผู้อยู่เบื้องหลังแรงผลักดันแผนการแบนหัวเหว่ยในเยอรมนีคือ รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย Nancy Faeser (พรรค SPD) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ แอนนาเลนา แบร์บ็อค และ รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ โรเบิร์ต ฮาเบค (สองคนหลังมาจากพรรค Greens) ต่างก็วิพากษ์วิจารณ์การพึ่งพาเทคโนโลยีจากจีนของเยอรมนีมาอย่างต่อเนื่อง
2
แอนนาเลนา แบร์บ็อค (ซ้าย) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเยอรมนี / โรเบิร์ต ฮาเบค (ขวา) รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจ เยอรมนี เครดิตภาพ: deutschland.de
ในขณะที่กระทรวงการดิจิทัลภายใต้การนำของ Volker Wissing (พรรค FDP) กลับมีจุดยืนที่เป็นมิตรกับหัวเหว่ยมากกว่า เพราะหากการแบนเกิดขึ้นตามแผนจริง ทางเยอรมนีจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีจากคู่แข่งหลักของ Huawei ที่จะเข้ามาเสียบแทนที่ นั่นคือ Ericsson ของสวีเดน และ Nokia ของฟินแลนด์
1
เครดิตภาพ: Handelsblatt
แนวทางใหม่ของรัฐบาลเยอรมนีในการจัดการกับจีนก็มีบทบาทเช่นกัน ในแวดวงภาครัฐ มีการกล่าวถึงเอกสารนโยบายสำคัญสองฉบับที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งอนุมัติ ได้แก่ “ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ” และ “ยุทธศาสตร์จีน”
2
บริษัท Huawei และ ZTE ไม่ได้ถูกกล่าวถึงอย่างชัดเจนในเอกสารนโยบายของรัฐ แต่พอคาดการณ์ได้ เช่นเดียวกับประเทศตะวันตกอื่นๆ เยอรมนียังมุ่งเน้นไปที่การลดความเสี่ยงด้วย “การเสี่ยง” ตามที่เรียกไว้ใน “ยุทธศาสตร์จีน” แต่เป็นการลดเป้าหมายของการพึ่งพาเชิงกลยุทธ์ เช่น ในด้านเทคโนโลยี
2
ในการตัดสินใจของกระทรวงมหาดไทยเยอรมนีคำนึงถึงทั้งข้อมูลที่ค้นพบจากหน่วยสืบราชการลับและคำอธิบายสถานการณ์ที่เปิดเผยต่อสาธารณะจากกระทรวงการต่างประเทศ จุดสนใจอยู่ที่คำถามที่ว่าบริษัทจีนมีความเชื่อมโยงกับรัฐบาลจีนอย่างไร การค้นพบนี้ “ค่อนข้างชัดเจน” ว่ามีการพึ่งพาจากพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ประเด็นนี้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการตรวจสอบของกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากเมื่อเร็วๆ นี้ มีหลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัยที่เกิดจากเทคโนโลยีโครงข่ายของจีนที่ติดตั้งไว้อยุ่ กระทรวงฯ ระบุเมื่อมิถุนายนที่ผ่านมาว่า การใช้อย่างงานผ่านโครงข่ายที่มีอุปกรณ์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง “อาจบั่นทอน” ความสงบเรียบร้อยหรือความมั่นคงสาธารณะของประเทศ โดยหัวเหว่ยปฏิเสธเรื่องนี้มาโดยตลอด
เครดิตภาพ: Sky News
การใช้และพึ่งพาเทคโนโลยี Huawei ของเยอรมนีโดยส่วนใหญ่ในโครงข่ายโทรคมนาคมของประเทศตกอยู่ภายใต้การพิจารณาในช่วงสองปีที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลมีจุดยืนที่เข้มงวดมากขึ้นต่อจีน และพยายามที่จะลดการพึ่งพาต่างประเทศ ท่ามกลางวิกฤตพลังงานที่เกิดจากการพึ่งพาก๊าซรัสเซียของเยอรมนี
กระทรวงมหาดไทยเยอรมนีได้ข้อสรุปว่ามี “ความจำเป็นเร่งด่วน” ในการดำเนินการถอยออกจากเทคโนโลยีจีน เพื่อป้องกันกรณี Nord Stream เกิดขึ้นซ้ำสอง โดยอ้างถึงท่อส่งก๊าซที่มีจุดประสงค์เพื่อนำก๊าซรัสเซียราคาถูกเข้ามายังเยอรมนี แต่มันไม่ได้ถูกใช้งานอีกต่อไปแล้ว
เครดิตภาพ: Brookings Institution
เรียบเรียงโดย Right SaRa
25th Sep 2023
  • แหล่งข่าวอ้างอิง:
<เครดิตภาพปก: (บน) – Nikkei Asia, Source: Reuters (ล่าง) – Sky News>
โฆษณา